คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ การยกเลิกหรือปรับปรุงคณะกรรมการชุดต่าง ๆเพื่อให้การดำเนินงานของคณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง มีความเหมาะสม สอดคล้องกับภารกิจของหน่วยงานที่ได้มีการปรับปรุงตามโครงสร้างใหม่
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า กระทรวงยุติธรรมมีคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเพียง 1 คณะคือ คณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากมีการปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใหม่กำหนดให้มีการจัดตั้งสำนักงานกิจการยุติธรรมขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงยุติธรรม มีภารกิจเกี่ยวกับนโยบายและการพัฒนากระบวนการยุติธรรม จึงเห็นสมควรปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้คณะกรรมการดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในระหว่างที่ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติขึ้น โดยให้คณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรมมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม ดังนี้
องค์ประกอบคณะกรรมการ (เดิม)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมคุมประพฤติอธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทยรองปลัดกระทรวงยุติธรรมฝ่ายวิชาการ โดยมี *ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และ*ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
องค์ประกอบคณะกรรมการ (ใหม่)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมคุมประพฤติอธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทยรองปลัดกระทรวงยุติธรรมฝ่ายวิชาการ
**เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน **อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน **อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ **อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ **ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โดยมี *ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม และ *ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการยุติธรรมแห่งชาติ สำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หมายเหตุ
*เปลี่ยนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
**เพิ่มกรรมการ
อำนาจหน้าที่ (เดิม)
*1. ให้คำแนะนำในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
2. เสนอแนะปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องเพื่อให้กลไกการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
อำนาจหน้าที่ (ใหม่)
**1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการบริหารงานยุติธรรม
**2. เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการดำเนินการพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
**3. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และรายงานการดำเนินการตามแผนดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี
**4. ให้คำแนะนำและประสานงานในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้มีความร่วมมือระหว่างกันในการบริหารงานยุติธรรมหรือดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
5. เสนอแนะปรับปรุงแก้ไขอุปสรรค และข้อขัดข้องเพื่อให้กลไกการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
**6. วางระเบียบข้อบังคับ เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
หมายเหตุ *ยกเลิกอำนาจหน้าที่ **เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-
ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรมรายงานว่า กระทรวงยุติธรรมมีคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งเพียง 1 คณะคือ คณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม เนื่องจากมีการปรับปรุงโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของกระทรวงใหม่กำหนดให้มีการจัดตั้งสำนักงานกิจการยุติธรรมขึ้นเป็นส่วนราชการระดับกรม สังกัดกระทรวงยุติธรรม มีภารกิจเกี่ยวกับนโยบายและการพัฒนากระบวนการยุติธรรม จึงเห็นสมควรปรับปรุงองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรม เพื่อให้คณะกรรมการดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการประสานงานของหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมในระหว่างที่ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการการยุติธรรมแห่งชาติขึ้น โดยให้คณะกรรมการประสานงานกระบวนการยุติธรรมมีองค์ประกอบและอำนาจหน้าที่เพิ่มเติม ดังนี้
องค์ประกอบคณะกรรมการ (เดิม)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมคุมประพฤติอธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทยรองปลัดกระทรวงยุติธรรมฝ่ายวิชาการ โดยมี *ผู้อำนวยการกองนโยบายและแผน สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม และ*ผู้อำนวยการกองวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
องค์ประกอบคณะกรรมการ (ใหม่)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข อัยการสูงสุด ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรมเลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด อธิบดีกรมการปกครอง อธิบดีกรมคุมประพฤติอธิบดีกรมบังคับคดี อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา นายกสภาทนายความแห่งประเทศไทยรองปลัดกระทรวงยุติธรรมฝ่ายวิชาการ
**เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน **อธิบดีกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน **อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ **อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ และ **ผู้อำนวยการสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ โดยมี *ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการยุติธรรม และ *ผู้อำนวยการกองงานคณะกรรมการยุติธรรมแห่งชาติ สำนักงานกิจการยุติธรรม เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
หมายเหตุ
*เปลี่ยนกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
**เพิ่มกรรมการ
อำนาจหน้าที่ (เดิม)
*1. ให้คำแนะนำในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม
2. เสนอแนะปรับปรุงแก้ไขอุปสรรคและข้อขัดข้องเพื่อให้กลไกการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
อำนาจหน้าที่ (ใหม่)
**1. เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีในการบริหารงานยุติธรรม
**2. เสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีให้มีการดำเนินการพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
**3. ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ และรายงานการดำเนินการตามแผนดังกล่าวต่อคณะรัฐมนตรี
**4. ให้คำแนะนำและประสานงานในการปฏิบัติราชการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมเพื่อให้มีความร่วมมือระหว่างกันในการบริหารงานยุติธรรมหรือดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารงานยุติธรรมแห่งชาติ
5. เสนอแนะปรับปรุงแก้ไขอุปสรรค และข้อขัดข้องเพื่อให้กลไกการบริหารงานในกระบวนการยุติธรรมดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
**6. วางระเบียบข้อบังคับ เพื่อให้การดำเนินการของคณะกรรมการเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
7. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อดำเนินการใด ๆ ได้ตามความจำเป็น
หมายเหตุ *ยกเลิกอำนาจหน้าที่ **เพิ่มเติมอำนาจหน้าที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-