คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานการจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวอย่างเป็นระบบเบื้องต้น และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวอย่างเป็นระบบต่อไป โดยให้ประสานความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมทรัพยากรน้ำ) และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
การจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวอย่างเป็นระบบเบื้องต้น สรุปได้ดังนี้
1. จากการศึกษาและวิเคราะห์เบื้องต้นสามารถสรุปพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทั่วประเทศรวม 28.11 ล้านไร่ ใน 66 จังหวัด แยกเป็นรายจังหวัดและอำเภอได้ดังนี้
- ภาคเหนือ จำนวน 17 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 7,770,694 ไร่
- ภาคกลาง จำนวน 23 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 11,990,776 ไร่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 6,534,765 ไร่
- ภาคใต้ จำนวน 7 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 1,811,662 ไร่
2. จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจสอบสภาพพื้นที่สามารถสรุปสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วม และอุปสรรคต่อการระบายน้ำได้ดังนี้
2.1 เกิดปริมาณฝนตกหนักในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ
2.2 สภาพต้นน้ำลำธาร อยู่ในสภาพที่มีพื้นที่ป่าไม้ค่อนข้างจำกัด ทำให้สภาพความชุ่มชื้นและชะลอน้ำหลากลดน้อยลง จึงทำให้น้ำหลากลงมารวดเร็วกว่าในอดีต และบางพื้นที่มีเหตุการณ์ดินถล่มหากมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัย
2.3 ลักษณะที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำทำให้มีปริมาณน้ำไหลหลากอย่างรวดเร็ว
2.4 ระบบเก็บกักน้ำและชะลอน้ำหลากในลุ่มน้ำก่อนที่จะไหลเข้าสู่เขตเมืองและชุมชนมีไม่เพียงพอ
2.5 ความสามารถในการระบายน้ำจากพื้นที่ด้านเหนือน้ำไปสู่ท้ายน้ำ ผ่านตัวเมืองและชุมชนนั้นไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำหลากได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสาเหตุอย่างหนึ่งเกิดจากการพัฒนาของเมืองและชุมชนอย่างต่อเนื่องทำให้มีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางหรือถมที่ดินขวาง และลดขนาดทางระบายน้ำ
2.6 พื้นที่ท้ายน้ำของตัวเมืองบางแห่งมีความลาดชันน้อย และบางแห่งได้รับอิทธิพลจากการหนุนของน้ำทะเลรวมถึงการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการระบายน้ำเป็นไปอย่างจำกัด
3. แนวทางเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและบรรเทาอุทกภัยเบื้องต้น
3.1 การเก็บกักน้ำและชะลอน้ำจากพื้นที่ตอนบน การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร การหาพื้นที่ชะลอน้ำพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำ
3.2 การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ตัวเมือง การขุดลอกแม่น้ำ การขุดคลองผันน้ำเลี่ยงเมือง เพิ่มขีดความสามารถในการระบายน้ำ
3.3 การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณตัวเมือง การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม วางผังเมืองที่เหมาะสม
3.4 การคาดการณ์ และเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม สถานีเก็บข้อมูลและรายงานผล สถานีกลางเพื่อประมวลผลและประสานงาน แบบจำลองการคาดการณ์และบริหารจัดการน้ำหลาก ระบบแจ้งสถานการณ์น้ำท่วม
4. ในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนั้นจะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากอุทกภัยให้มากที่สุด ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมระยะไกลและระบบโทรมาตร เป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งมีแผนการดำเนินงานขั้นต่อไป ดังนี้
4.1 ทำการศึกษา/สำรวจ/ออกแบบ การแก้ไขปัญหาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากอย่างเป็นระบบ
4.2 สำรวจสภาพภูมิประเทศในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในชั้นความละเอียดน้อยกว่า 50 เซนติเมตร
4.3 ติดตั้งระบบข้อมูลการใช้ดาวเทียมระยะไกล และระบบโทรมาตร
4.4 ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามผลการศึกษาและการออกแบบในพื้นที่เร่งด่วนและมีความพร้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-
การจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวอย่างเป็นระบบเบื้องต้น สรุปได้ดังนี้
1. จากการศึกษาและวิเคราะห์เบื้องต้นสามารถสรุปพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากทั่วประเทศรวม 28.11 ล้านไร่ ใน 66 จังหวัด แยกเป็นรายจังหวัดและอำเภอได้ดังนี้
- ภาคเหนือ จำนวน 17 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 7,770,694 ไร่
- ภาคกลาง จำนวน 23 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 11,990,776 ไร่
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 19 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 6,534,765 ไร่
- ภาคใต้ จำนวน 7 จังหวัด มีพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก 1,811,662 ไร่
2. จากการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตรวจสอบสภาพพื้นที่สามารถสรุปสาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดน้ำท่วม และอุปสรรคต่อการระบายน้ำได้ดังนี้
2.1 เกิดปริมาณฝนตกหนักในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำ
2.2 สภาพต้นน้ำลำธาร อยู่ในสภาพที่มีพื้นที่ป่าไม้ค่อนข้างจำกัด ทำให้สภาพความชุ่มชื้นและชะลอน้ำหลากลดน้อยลง จึงทำให้น้ำหลากลงมารวดเร็วกว่าในอดีต และบางพื้นที่มีเหตุการณ์ดินถล่มหากมีฝนตกติดต่อกันเป็นเวลานานก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมและอุทกภัย
2.3 ลักษณะที่ตั้งและสภาพภูมิประเทศของลุ่มน้ำทำให้มีปริมาณน้ำไหลหลากอย่างรวดเร็ว
2.4 ระบบเก็บกักน้ำและชะลอน้ำหลากในลุ่มน้ำก่อนที่จะไหลเข้าสู่เขตเมืองและชุมชนมีไม่เพียงพอ
2.5 ความสามารถในการระบายน้ำจากพื้นที่ด้านเหนือน้ำไปสู่ท้ายน้ำ ผ่านตัวเมืองและชุมชนนั้นไม่เพียงพอที่จะรองรับปริมาณน้ำหลากได้อย่างปลอดภัย ซึ่งสาเหตุอย่างหนึ่งเกิดจากการพัฒนาของเมืองและชุมชนอย่างต่อเนื่องทำให้มีการก่อสร้างสิ่งกีดขวางหรือถมที่ดินขวาง และลดขนาดทางระบายน้ำ
2.6 พื้นที่ท้ายน้ำของตัวเมืองบางแห่งมีความลาดชันน้อย และบางแห่งได้รับอิทธิพลจากการหนุนของน้ำทะเลรวมถึงการตื้นเขินของแม่น้ำลำคลอง ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ความสามารถในการระบายน้ำเป็นไปอย่างจำกัด
3. แนวทางเบื้องต้นในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและบรรเทาอุทกภัยเบื้องต้น
3.1 การเก็บกักน้ำและชะลอน้ำจากพื้นที่ตอนบน การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร การหาพื้นที่ชะลอน้ำพัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ ปรับปรุงหลักเกณฑ์การจัดการน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำ
3.2 การเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ตัวเมือง การขุดลอกแม่น้ำ การขุดคลองผันน้ำเลี่ยงเมือง เพิ่มขีดความสามารถในการระบายน้ำ
3.3 การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วมบริเวณตัวเมือง การก่อสร้างระบบป้องกันน้ำท่วม วางผังเมืองที่เหมาะสม
3.4 การคาดการณ์ และเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม สถานีเก็บข้อมูลและรายงานผล สถานีกลางเพื่อประมวลผลและประสานงาน แบบจำลองการคาดการณ์และบริหารจัดการน้ำหลาก ระบบแจ้งสถานการณ์น้ำท่วม
4. ในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมนั้นจะต้องมีการบริหารจัดการข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดจากอุทกภัยให้มากที่สุด ซึ่งจะต้องอาศัยข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมระยะไกลและระบบโทรมาตร เป็นข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการพื้นที่น้ำท่วม ซึ่งมีแผนการดำเนินงานขั้นต่อไป ดังนี้
4.1 ทำการศึกษา/สำรวจ/ออกแบบ การแก้ไขปัญหาพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากอย่างเป็นระบบ
4.2 สำรวจสภาพภูมิประเทศในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากในชั้นความละเอียดน้อยกว่า 50 เซนติเมตร
4.3 ติดตั้งระบบข้อมูลการใช้ดาวเทียมระยะไกล และระบบโทรมาตร
4.4 ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามผลการศึกษาและการออกแบบในพื้นที่เร่งด่วนและมีความพร้อม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-