ยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรภูฏาน ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภูฏานในหลายโอกาส ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพิจารณาจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ เนื่องจากเห็นว่าไทยกับภูฏานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่นต่อกันมาโดยตลอด ทั้งในระดับพระราชวงศ์ รัฐบาล และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ พระราชวงศ์ของภูฏานรวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลภูฏานยังเดินทางมารับการตรวจสุขภาพ และรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การเดินทางเข้า - ออกประเทศไทย โดยคนชาติภูฏานดังกล่าว ยังประสบปัญหาความไม่สะดวกอยู่มาก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยประจำอยู่ในภูฏาน มีเพียงสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา บังคลาเทศ ที่มีเขตอาณาครอบคลุมภูฏาน ดังนั้น การจัดทำความตกลงดังกล่าวย่อมจะเป็นการอำนวยความสะดวกได้ในระดับหนึ่งต่อการเดินทางเข้า - ออกของคนชาติ อันเป็นการเกื้อกูลต่อความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และความร่วมมือที่ใกล้ชิดเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี สรุปสาระของความตกลงได้ ดังนี้
1. คนชาติของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการที่ยังมีผลใช้ได้ของภาคีฝ่ายนั้นจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้า เดินทางผ่าน และพำนักอยู่ในดินแดนของประเทศภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกินเก้าสิบวันโดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่ทำงานในประเทศดังกล่าว ไม่ว่าการทำงานนั้นจะเป็นการดำเนินกิจการของตนหรือเป็นอย่างอื่น
2. คนชาติของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการที่ยังมีผลใช้ได้ของภาคีฝ่ายนั้นซึ่งเป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางทูตหรือคณะผู้แทนทางกงสุล หรือผู้แทนในองค์การระหว่างประเทศในประเทศของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการที่มีอายุใช้ได้ จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าและพำนักอยู่ในประเทศภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกินเก้าสิบวัน โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา ระยะเวลาเช่นว่านั้นจะได้รับการขยายไปจนเสร็จสิ้นวาระการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลผู้นั้นเมื่อมีคำขอของสถานเอกอัครราชทูตของภาคีฝ่ายนั้น
3. เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สงวนสิทธิที่จะปฏิเสธการเข้าเมืองหรือยกเลิกการพำนักของบุคคลใดก็ตามที่มีสิทธิได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราภายใต้ความตกลงฉบับนี้ ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยสาธารณะ สาธารณสุข หรือความมั่นคงแห่งรัฐ
4. ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยสาธารณะ สาธารณสุข หรือความมั่นคงแห่งรัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจระงับการบังคับใช้ความตกลงบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราว โดยจะต้องแจ้งให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าโดยทันที โดยผ่านวิถีทางการทูต
5. ความตกลงฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้สี่สิบวันนับจากวันที่ลงนาม และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลาห้าปีและจะได้รับการขยายต่อไปโดยอัตโนมัติช่วงละห้าปี เว้นแต่จะมีการบอกเลิก โดยภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าหกเดือนเพื่อบอกเลิกดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติการจัดทำความตกลงระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรภูฏาน ว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและหนังสือเดินทางราชการ และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามความตกลงฯ ดังกล่าว
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศรายงานว่า ในการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศภูฏานในหลายโอกาส ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะพิจารณาจัดทำความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ เนื่องจากเห็นว่าไทยกับภูฏานมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและราบรื่นต่อกันมาโดยตลอด ทั้งในระดับพระราชวงศ์ รัฐบาล และประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ พระราชวงศ์ของภูฏานรวมทั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลภูฏานยังเดินทางมารับการตรวจสุขภาพ และรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี การเดินทางเข้า - ออกประเทศไทย โดยคนชาติภูฏานดังกล่าว ยังประสบปัญหาความไม่สะดวกอยู่มาก เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีสถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลใหญ่ของไทยประจำอยู่ในภูฏาน มีเพียงสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา บังคลาเทศ ที่มีเขตอาณาครอบคลุมภูฏาน ดังนั้น การจัดทำความตกลงดังกล่าวย่อมจะเป็นการอำนวยความสะดวกได้ในระดับหนึ่งต่อการเดินทางเข้า - ออกของคนชาติ อันเป็นการเกื้อกูลต่อความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น และความร่วมมือที่ใกล้ชิดเพื่อผลประโยชน์ร่วมกันทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี สรุปสาระของความตกลงได้ ดังนี้
1. คนชาติของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการที่ยังมีผลใช้ได้ของภาคีฝ่ายนั้นจะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้า เดินทางผ่าน และพำนักอยู่ในดินแดนของประเทศภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกินเก้าสิบวันโดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา โดยมีเงื่อนไขว่าบุคคลเหล่านั้นจะไม่ทำงานในประเทศดังกล่าว ไม่ว่าการทำงานนั้นจะเป็นการดำเนินกิจการของตนหรือเป็นอย่างอื่น
2. คนชาติของคู่ภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการที่ยังมีผลใช้ได้ของภาคีฝ่ายนั้นซึ่งเป็นบุคคลในคณะผู้แทนทางทูตหรือคณะผู้แทนทางกงสุล หรือผู้แทนในองค์การระหว่างประเทศในประเทศของภาคีอีกฝ่ายหนึ่ง ตลอดจนสมาชิกในครอบครัวที่ถือหนังสือเดินทางทูตหรือราชการที่มีอายุใช้ได้ จะได้รับอนุญาตให้เดินทางเข้าและพำนักอยู่ในประเทศภาคีอีกฝ่ายหนึ่งเป็นระยะเวลาไม่เกินเก้าสิบวัน โดยไม่ต้องขอรับการตรวจลงตรา ระยะเวลาเช่นว่านั้นจะได้รับการขยายไปจนเสร็จสิ้นวาระการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลผู้นั้นเมื่อมีคำขอของสถานเอกอัครราชทูตของภาคีฝ่ายนั้น
3. เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจของภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สงวนสิทธิที่จะปฏิเสธการเข้าเมืองหรือยกเลิกการพำนักของบุคคลใดก็ตามที่มีสิทธิได้รับการยกเว้นการตรวจลงตราภายใต้ความตกลงฉบับนี้ ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยสาธารณะ สาธารณสุข หรือความมั่นคงแห่งรัฐ
4. ด้วยเหตุผลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยสาธารณะ สาธารณสุข หรือความมั่นคงแห่งรัฐภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจระงับการบังคับใช้ความตกลงบางส่วนหรือทั้งหมดเป็นการชั่วคราว โดยจะต้องแจ้งให้ภาคีอีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าโดยทันที โดยผ่านวิถีทางการทูต
5. ความตกลงฉบับนี้ จะมีผลบังคับใช้สี่สิบวันนับจากวันที่ลงนาม และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลาห้าปีและจะได้รับการขยายต่อไปโดยอัตโนมัติช่วงละห้าปี เว้นแต่จะมีการบอกเลิก โดยภาคีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีหนังสือแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าหกเดือนเพื่อบอกเลิกดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 เมษายน 2546--จบ--
-ปส-