ร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ. .... และ ร่างกฎกระทรวงกำหนดความเสียหายที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นการร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. ....
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดความเสียหายที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงพาณิชย์เสนอฉบับแรก เป็นการปรับปรุงจำนวนเงินเอาประกันภัยและจำนวนเงินค่าเสียหาย เบื้องต้นเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว แม้ว่าร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ในเรื่องนี้จะกำหนดให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546เป็นต้นไป แต่โดยที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุในการจะได้รับเงินเอาประกันภัยและค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เสนอว่าโดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2540) และกฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยและจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ยังไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์จึงได้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพิจารณา และที่ประชุมได้มีมติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จากจำนวน 80,000 บาทต่อคน เป็นจำนวน 100,000 บาทต่อคน และเพิ่มจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นในกรณีเสียชีวิต จากจำนวน 15,000 บาทต่อคน เป็นจำนวน 35,000 บาทต่อคน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัย ตามชนิด ประเภท และขนาดของรถ พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดความเสียหายที่จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น การร้องขอรับและการจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วให้ดำเนินการต่อไปได้ ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นว่า ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงพาณิชย์เสนอฉบับแรก เป็นการปรับปรุงจำนวนเงินเอาประกันภัยและจำนวนเงินค่าเสียหาย เบื้องต้นเพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน และได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว แม้ว่าร่างกฎกระทรวงทั้ง 2 ฉบับ ในเรื่องนี้จะกำหนดให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546เป็นต้นไป แต่โดยที่จะเป็นประโยชน์ต่อประชาชนที่ประสบอุบัติเหตุในการจะได้รับเงินเอาประกันภัยและค่าเสียหายเบื้องต้นเพิ่มขึ้นจากที่กำหนดไว้ในปัจจุบัน
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์เสนอว่าโดยที่กฎกระทรวง ฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2540) และกฎกระทรวงฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ได้กำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยและจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นไว้ยังไม่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์จึงได้นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถพิจารณา และที่ประชุมได้มีมติให้เพิ่มจำนวนเงินเอาประกันภัยในกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จากจำนวน 80,000 บาทต่อคน เป็นจำนวน 100,000 บาทต่อคน และเพิ่มจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้นในกรณีเสียชีวิต จากจำนวน 15,000 บาทต่อคน เป็นจำนวน 35,000 บาทต่อคน โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2546
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-