แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สุวิทย์ คุณกิตติ
อุทยานแห่งชาติ
นายกรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรี
ช้าง
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ ผลการประชุมการดำเนินงานตามโครงการช้างลาดตระเวนป่าของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งสรุปได้ว่า
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดประชุมเพื่อเตรียมการในการดำเนินงานโครงการช้างลาดตระเวนป่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2546 ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารศูนย์ปฏิบัติการป่าไม้ โดยมีอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธาน ผลการประชุมฯ สรุปได้ดังนี้
1. จัดทำแผนการปฏิบัติการโครงการช้างลาดตระเวนป่า พร้อมรายละเอียดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2546
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการช้างลาดตระเวนป่า โดยมีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานสนับสนุน
3. จัดทำประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อรับสมัครเจ้าของช้างหรือควาญช้างที่สนใจเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยได้กำหนดสถานที่รับสมัครทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) สุรินทร์ บุรีรัมย์ และชัยภูมิ
3. จัดทำแผนประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ และประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และการดำเนินงานโครงการ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ทำการสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการรองรับช้างเร่ร่อน ขณะนี้มีพื้นที่ที่มีความพร้อมทั้งสิ้น 63 แห่ง แบ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ 32 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 30 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง จำนวนช้างที่สามารถรองรับได้ทั้งสิ้นจำนวน 192 เชือก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้จัดประชุมเพื่อเตรียมการในการดำเนินงานโครงการช้างลาดตระเวนป่า เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2546 ณ ห้องประชุม ชั้น 6 อาคารศูนย์ปฏิบัติการป่าไม้ โดยมีอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธาน ผลการประชุมฯ สรุปได้ดังนี้
1. จัดทำแผนการปฏิบัติการโครงการช้างลาดตระเวนป่า พร้อมรายละเอียดงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เพื่อขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังและสำนักงบประมาณตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2546
2. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการโครงการช้างลาดตระเวนป่า โดยมีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก และกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานสนับสนุน
3. จัดทำประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อรับสมัครเจ้าของช้างหรือควาญช้างที่สนใจเข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โดยได้กำหนดสถานที่รับสมัครทั้งสิ้น 4 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร (สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช) สุรินทร์ บุรีรัมย์ และชัยภูมิ
3. จัดทำแผนประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ และประชาสัมพันธ์ให้บุคคลทั่วไปทราบ และเข้าใจถึงวัตถุประสงค์และการดำเนินงานโครงการ
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้ทำการสำรวจพื้นที่ที่มีศักยภาพและความพร้อมในการรองรับช้างเร่ร่อน ขณะนี้มีพื้นที่ที่มีความพร้อมทั้งสิ้น 63 แห่ง แบ่งเป็นอุทยานแห่งชาติ 32 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 30 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 1 แห่ง จำนวนช้างที่สามารถรองรับได้ทั้งสิ้นจำนวน 192 เชือก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-