คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการปฏิบัติงานต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ สรุปได้ดังนี้
ผลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545-1พฤษภาคม 2546
กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายเป้าหมายการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยในปีงบประมาณ 2546 ได้รับจัดสรรงบประมาณตามเป้าหมายการให้บริการจำนวน 104,800 ราย ขณะนี้ได้ขยายเป้าหมายการให้บริการตามศักยภาพเพิ่มขึ้นเป็น 274,231 ราย และมีจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด 327,788 ราย คิดเป็นร้อยละของการบำบัดเทียบกับเป้าหมายศักยภาพ ได้เท่ากับ 119.52
ยอดสะสม (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545- 1 พฤษภาคม 2546)
ข้อมูลการบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จากการรายงานทั้งสิ้น 75 จังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545- 1 พฤษภาคม 2546 สถานบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 6,733 แห่ง ซึ่งเป็นสถานบำบัดสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 93 แห่ง โรงพยาบาล ชุมชน 721 แห่ง PCU/สถานีอนามัย 5,892 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมการแพทย์ 10 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมสุขภาพจิต 17 แห่ง ได้ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 327,788 ราย คิดเป็นร้อยละ 111.80 ของเป้าหมายการให้บริการตามศักยภาพ สถานบำบัดที่ให้การรักษามากที่สุดในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 137,291 ราย (ร้อยละ 41.88) ระดับ PCU/สถานีอนามัย 126,341 ราย (ร้อยละ 38.54) โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 28,289 ราย (ร้อยละ 8.63) สังกัดกรมสุขภาพจิต 18,975 ราย (ร้อยละ 5.79) สังกัดกรมการแพทย์ 16,892 ราย (ร้อยละ 0.52)
แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดในชุมชน 170,324 ราย (ร้อยละ 51.96) ผู้ป่วยนอก 146,974 ราย (ร้อยละ 44.84) วิธีผู้ป่วยใน 10,490 ราย (ร้อยละ 32.00) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดในชุมชนให้บริการสูงสุด คือระดับ PCU/สถานีอนามัย วิธีผู้ป่วยนอกสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน และวิธีผู้ป่วยในให้บริการสูงสุดคือสถานพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจ เป็นจำนวน 320,579 ราย (ร้อยละ 97.80) โดยบังคับบำบัด 7,209 ราย (ร้อยละ 2.20) สถานบำบัดที่ให้บริการบำบัดโดยสมัครใจและบังคับบำบัดสูงสุด คือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน
รายสัปดาห์ (วันที่ 25 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2546)
ในระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2546 มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาทั้งสิ้น จำนวน 21,196 ราย สถานบำบัดที่ให้การบำบัดมากที่สุด คือ ในระดับ PCU/สถานีอนามัย 11,514 ราย (ร้อยละ 54.32) ระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7,685 ราย (ร้อยละ 36.26) ระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 1,130 ราย (ร้อยละ 5.33) สังกัดกรมสุขภาพจิต 596 ราย (ร้อยละ 2.81) สังกัดกรมการแพทย์ 271 ราย (ร้อยละ 1.28)
แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดรักษาโดยบำบัดในชุมชน 13,549 ราย (ร้อยละ 63.92) วิธีผู้ป่วยนอก 7,376 ราย (ร้อยละ 34.80) วิธีผู้ป่วยใน 271 ราย (ร้อยละ 1.28) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดโดยวิธีบำบัดในชุมชนบริการสูงสุด คือ ระดับ PCU/สถานีอนามัย วิธีผู้ป่วยนอกบริการสูงสุดมากที่สุด คือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน และวิธีผู้ป่วยในบริการสูงสุดโดยสถานบริการสังกัดกรมสุขภาพจิต
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจ เป็นจำนวน 20,965 ราย (ร้อยละ 98.91) โดยการบังคับบำบัดจำนวน 231 ราย (ร้อยละ 1.09) การบำบัดโดยการสมัครใจบริการสูงสุด คือ ระดับ PCU/สถานีอนามัย และการบังคับมารับบริการสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน
สำหรับผลการบำบัดรักษา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง 1 พฤษภาคม 2546 อยู่ระหว่างการบำบัด 170,260 ราย (ร้อยละ 51.94) บำบัดครบกำหนด 148,589 ราย (ร้อยละ 45.33) และบำบัดรักษา Drop out 8,939 ราย (ร้อยละ 2.73) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดที่อยู่ในระหว่างการบำบัดสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 67,648 ราย ครบกำหนดสูงสุดในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 66,188 คน และ Drop out สูงสุด ในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 3,455 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
ผลการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545-1พฤษภาคม 2546
กระทรวงสาธารณสุขได้ขยายเป้าหมายการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติดเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยในปีงบประมาณ 2546 ได้รับจัดสรรงบประมาณตามเป้าหมายการให้บริการจำนวน 104,800 ราย ขณะนี้ได้ขยายเป้าหมายการให้บริการตามศักยภาพเพิ่มขึ้นเป็น 274,231 ราย และมีจำนวนผู้เข้ารับการบำบัดทั้งหมด 327,788 ราย คิดเป็นร้อยละของการบำบัดเทียบกับเป้าหมายศักยภาพ ได้เท่ากับ 119.52
ยอดสะสม (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545- 1 พฤษภาคม 2546)
ข้อมูลการบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จากการรายงานทั้งสิ้น 75 จังหวัด ในระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545- 1 พฤษภาคม 2546 สถานบำบัดรักษายาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 6,733 แห่ง ซึ่งเป็นสถานบำบัดสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขประกอบด้วยโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป จำนวน 93 แห่ง โรงพยาบาล ชุมชน 721 แห่ง PCU/สถานีอนามัย 5,892 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมการแพทย์ 10 แห่ง สถานบำบัดสังกัดกรมสุขภาพจิต 17 แห่ง ได้ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วยทั้งสิ้น จำนวน 327,788 ราย คิดเป็นร้อยละ 111.80 ของเป้าหมายการให้บริการตามศักยภาพ สถานบำบัดที่ให้การรักษามากที่สุดในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 137,291 ราย (ร้อยละ 41.88) ระดับ PCU/สถานีอนามัย 126,341 ราย (ร้อยละ 38.54) โรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 28,289 ราย (ร้อยละ 8.63) สังกัดกรมสุขภาพจิต 18,975 ราย (ร้อยละ 5.79) สังกัดกรมการแพทย์ 16,892 ราย (ร้อยละ 0.52)
แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดในชุมชน 170,324 ราย (ร้อยละ 51.96) ผู้ป่วยนอก 146,974 ราย (ร้อยละ 44.84) วิธีผู้ป่วยใน 10,490 ราย (ร้อยละ 32.00) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดในชุมชนให้บริการสูงสุด คือระดับ PCU/สถานีอนามัย วิธีผู้ป่วยนอกสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน และวิธีผู้ป่วยในให้บริการสูงสุดคือสถานพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิต
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจ เป็นจำนวน 320,579 ราย (ร้อยละ 97.80) โดยบังคับบำบัด 7,209 ราย (ร้อยละ 2.20) สถานบำบัดที่ให้บริการบำบัดโดยสมัครใจและบังคับบำบัดสูงสุด คือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน
รายสัปดาห์ (วันที่ 25 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2546)
ในระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2546 มีผู้ป่วยเข้ารับการบำบัดรักษาทั้งสิ้น จำนวน 21,196 ราย สถานบำบัดที่ให้การบำบัดมากที่สุด คือ ในระดับ PCU/สถานีอนามัย 11,514 ราย (ร้อยละ 54.32) ระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 7,685 ราย (ร้อยละ 36.26) ระดับโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป 1,130 ราย (ร้อยละ 5.33) สังกัดกรมสุขภาพจิต 596 ราย (ร้อยละ 2.81) สังกัดกรมการแพทย์ 271 ราย (ร้อยละ 1.28)
แยกวิธีการบำบัดรักษาดังนี้ การบำบัดรักษาโดยบำบัดในชุมชน 13,549 ราย (ร้อยละ 63.92) วิธีผู้ป่วยนอก 7,376 ราย (ร้อยละ 34.80) วิธีผู้ป่วยใน 271 ราย (ร้อยละ 1.28) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดโดยวิธีบำบัดในชุมชนบริการสูงสุด คือ ระดับ PCU/สถานีอนามัย วิธีผู้ป่วยนอกบริการสูงสุดมากที่สุด คือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน และวิธีผู้ป่วยในบริการสูงสุดโดยสถานบริการสังกัดกรมสุขภาพจิต
ลักษณะการบำบัดของผู้มารับการบริการ เป็นการมารับการบำบัดโดยสมัครใจ เป็นจำนวน 20,965 ราย (ร้อยละ 98.91) โดยการบังคับบำบัดจำนวน 231 ราย (ร้อยละ 1.09) การบำบัดโดยการสมัครใจบริการสูงสุด คือ ระดับ PCU/สถานีอนามัย และการบังคับมารับบริการสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน
สำหรับผลการบำบัดรักษา ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึง 1 พฤษภาคม 2546 อยู่ระหว่างการบำบัด 170,260 ราย (ร้อยละ 51.94) บำบัดครบกำหนด 148,589 ราย (ร้อยละ 45.33) และบำบัดรักษา Drop out 8,939 ราย (ร้อยละ 2.73) สถานบำบัดที่ให้การบำบัดที่อยู่ในระหว่างการบำบัดสูงสุดคือ ระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 67,648 ราย ครบกำหนดสูงสุดในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 66,188 คน และ Drop out สูงสุด ในระดับโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 3,455 คน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-