คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษาของคณะกรรมาธิการการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร รวม 2 เรื่อง คือ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ราษฎรคัดค้านโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครอุบลราชธานี และรายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร อำเภอสันกำแพงจังหวัดเชียงใหม่ จากการปล่อยน้ำเสียของโรงงาน บริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ตามที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และมอบให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงอุตสาหกรรม รับไปพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ราษฎรคัดค้านโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครอุบลราชธานี คณะกรรมาธิการมีข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ปัญหาเกิดจากการที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม รับรู้และตัดสินใจ และทางราชการขาดการทำความเข้าใจกับประชาชนตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มทำโครงการจึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา
2. ปัญหาการขัดแย้งกันระหว่างเทศบาลฯ กับองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากเทศบาลฯ ไม่ได้ทำตามข้อตกลงที่ทำไว้กับองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณแต่กลับดำเนินการขนขยะไปทิ้ง โดยรถที่ขนขยะก็ไม่มีฝาปิด ปล่อยให้ขยะตกหล่นตามถนนหนทางสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน จนทำให้เกิดการร้องเรียนและรวมตัวกันต่อต้านให้ยกเลิกการขนขยะไปทิ้งจนกว่าจะทำความตกลงกันได้
3. ทำเลที่ตั้งของที่ทิ้งขยะไม่เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่แห่งนั้นอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติและเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง
4. ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหามี 2 แนวทาง
4.1 เทศบาลอาจดำเนินการต่อ ณ ที่เดิมได้ แต่จะต้องทำการศึกษาและคำนวณค่าใช้จ่ายในการสร้างทำนบป้องกันน้ำท่วมบ่อขยะ และยกระดับถนนให้สูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยในการดำเนินการจะต้องจัดให้มีคณะกรรมการร่วมในการกำดับดูแลการดำเนินการจัดการขยะอย่างมีมาตรฐานทั้งในเรื่องของการจัดเก็บขนขยะ การคัดแยกขยะโดยมีการแยกขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลและขยะมีพิษออกไปกำจัดต่างหาก ทำการฝังกลบขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล มีระบบบำบัดน้ำเสียรองรับน้ำเสียที่จะออกจากบ่อขยะแต่ถ้าศึกษาดูแล้วไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนเพิ่มก็ควรจะหาที่ทิ้งขยะที่ใหม่
4.2 ขอใช้พื้นที่ทิ้งขยะของเทศบาลเมืองวารินชำราบ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการขยะที่ดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาการขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากการเดินทางเข้าพื้นที่นี้ไม่ผ่านพื้นที่หมู่บ้าน โดยก่อนดำเนินการใด ๆ เทศบาลเมืองวารินชำราบจะต้องทำการประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ก่อน รวมทั้งต้องมีการดำเนินการให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
รายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จากการปล่อยน้ำเสียของโรงงาน บริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด คณะกรรมาธิการมีแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะดังนี้
1. มาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ระบบบ่อพัก ซึ่งรองรับน้ำต้มปอและบ่อบำบัดน้ำเสียยังไม่ได้มาตรฐานต้องทำการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา บริษัทฯ ควรดำเนินการ
1.1 ปรับปรุง แก้ไขหรือซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสีย
1.2 ปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสียทั้ง 4 บ่อ
1.3 ควรเพิ่มจำนวนเครื่องเติมอากาศให้เพียงพอ
1.4 ต้องจัดทำรายงานผลการบันทึกลักษณะน้ำทิ้งและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย
1.5 ควรขุดลอกลำเหมืองสาธารณะช่วงที่มีสภาพตื้นเขินและแคบ หรือต่อท่อระบายน้ำทิ้งไปสู่ลำเหมืองสาธารณะช่วงที่กว้างขึ้น
1.6 กำจัดกากเศษเยื่อที่ปนเปื้อนสารเคมีจากสีย้อมหรือกากสารเคมีอื่นโดยวิธีและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
1.7 ควรทำการพิสูจน์ให้ได้ข้อเท็จจริงว่าน้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียของบริษัทฯ มีการซึมไหลแผ่ขยายลงสู่ชั้นน้ำตื้น และชั้นน้ำบาดาลของชาวบ้าน
1.8 ควรปรับปรุงบ่อพักน้ำมันเตาและน้ำมันเครื่องจากเครื่องจักรบริเวณด้านหลังโรงงาน
1.9 จัดให้มีระบบบำบัดมลพิษจากการใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงของระบบหม้อไอน้ำ
2. มาตรฐานระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยราชการต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์
2.1 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำในบ่อบำบัดน้ำทิ้งบ่อสุดท้ายและน้ำในลำเหมืองสาธารณะ
2.2 กรมควบคุมมลพิษ ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำทิ้งที่โรงงานระบายลงสู่ลำเหมืองสาธารณะ
2.3 สำนักงานสุขาภิบาลอำเภอสันกำแพง ได้เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากบ่อสุดท้ายและนอกบริเวณโรงงาน
2.4 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อน้ำตื้น 3 แห่ง และบ่อบาดาล 2 แห่ง
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าหน่วยราชการแต่ละแห่งมีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำแตกต่างกันออกไป รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคและค่ามาตรฐานของโลหะหนักแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าโรงงานฯ ได้ทำการปล่อยน้ำทิ้งซึ่งมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานหลายครั้ง ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณากำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง และควรตั้งคณะกรรมการซึ่งเป็นกลางและไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งราษฎรที่ได้รับผลกระทบ เพื่อทำการเก็บและตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งของโรงงานจากบ่อบำบัดน้ำเสียทุกบ่อพร้อมกันและต่อเนื่องเป็นระยะ
3. ราษฎรบริเวณใกล้โรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ไม่สามารถใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นและบ่อบาดาลในการอุปโภคและบริโภคได้ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าหน่วยงานภาครัฐก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ เนื่องจากยังแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา มีดังนี้
3.1 หากมีการดำเนินการอย่างจริงจัง น่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงของความเดือดร้อนของชาวบ้านได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
3.2 หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรจัดหาน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคเมื่อราษฎรที่ได้รับผลกระทบเกิดภาวะขาดแคลน
3.3 ควรห้ามไม่ให้โรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ปล่อยน้ำจากบ่อบำบัดลงสู่ลำเหมืองสาธารณะ
4. น้ำในลำเหมืองสาธารณะมีสีและมีกลิ่นเหม็น โรงงานมีการปล่อยน้ำเสียที่ไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานลงสู่ลำเหมืองสาธารณะโดยตรง ทำให้น้ำในลำเหมืองสาธารณะมีสีและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา ควรดำเนินการควบคุมให้โรงงานปล่อยน้ำทิ้งซึ่งผ่านการบำบัดจนมีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐาน
5. การแทรกแซงแนวทางการแก้ไขปัญหาจากนักการเมืองและข้าราชการประจำ หน่วยราชการส่วนกลางและนักการเมืองควรปล่อยให้หน่วยราชการส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างอิสระเนื่องจากทราบข้อเท็จจริงได้ดีกว่า
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1. ควรมีการตรวจสอบการได้ใบรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐานไอเอสโอ
2. หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคและคุณภาพน้ำทิ้งให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน
3. หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐควรตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือเครื่องใช้ในการตรวจคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอก่อนใช้งาน
4. ควรให้โรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด เพิ่มกระบวนการบำบัดทางเคมีเพิ่มเติมเพื่อบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะมีการบำบัดต่อไปด้วยระบบบำบัดทางชีวภาพซึ่งทางโรงงานใช้อยู่
5. หากพิสูจน์ได้ว่าบ่อน้ำตื้นและบ่อบาดาลของชาวบ้านได้รับการปนเปื้อนจากการซึมของน้ำเสียจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ควรให้ทางโรงงานรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดกับชาวบ้านและต่อสภาพแวดล้อมดังกล่าวด้วย
6. กรมโรงงานอุตสาหกรรมควรดำเนินการอย่างเฉียบขาดกับโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ราษฎรคัดค้านโครงการกำจัดขยะมูลฝอยเทศบาลนครอุบลราชธานี คณะกรรมาธิการมีข้อสรุปและข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. ปัญหาเกิดจากการที่ประชาชนไม่มีส่วนร่วม รับรู้และตัดสินใจ และทางราชการขาดการทำความเข้าใจกับประชาชนตั้งแต่ก่อนที่จะเริ่มทำโครงการจึงก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา
2. ปัญหาการขัดแย้งกันระหว่างเทศบาลฯ กับองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากเทศบาลฯ ไม่ได้ทำตามข้อตกลงที่ทำไว้กับองค์การบริหารส่วนตำบล เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณแต่กลับดำเนินการขนขยะไปทิ้ง โดยรถที่ขนขยะก็ไม่มีฝาปิด ปล่อยให้ขยะตกหล่นตามถนนหนทางสร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้าน จนทำให้เกิดการร้องเรียนและรวมตัวกันต่อต้านให้ยกเลิกการขนขยะไปทิ้งจนกว่าจะทำความตกลงกันได้
3. ทำเลที่ตั้งของที่ทิ้งขยะไม่เหมาะสม เนื่องจากพื้นที่แห่งนั้นอยู่ใกล้กับแหล่งน้ำธรรมชาติและเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง
4. ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหามี 2 แนวทาง
4.1 เทศบาลอาจดำเนินการต่อ ณ ที่เดิมได้ แต่จะต้องทำการศึกษาและคำนวณค่าใช้จ่ายในการสร้างทำนบป้องกันน้ำท่วมบ่อขยะ และยกระดับถนนให้สูงเพื่อป้องกันน้ำท่วม โดยในการดำเนินการจะต้องจัดให้มีคณะกรรมการร่วมในการกำดับดูแลการดำเนินการจัดการขยะอย่างมีมาตรฐานทั้งในเรื่องของการจัดเก็บขนขยะ การคัดแยกขยะโดยมีการแยกขยะติดเชื้อจากโรงพยาบาลและขยะมีพิษออกไปกำจัดต่างหาก ทำการฝังกลบขยะให้ถูกหลักสุขาภิบาล มีระบบบำบัดน้ำเสียรองรับน้ำเสียที่จะออกจากบ่อขยะแต่ถ้าศึกษาดูแล้วไม่คุ้มค่าที่จะลงทุนเพิ่มก็ควรจะหาที่ทิ้งขยะที่ใหม่
4.2 ขอใช้พื้นที่ทิ้งขยะของเทศบาลเมืองวารินชำราบ ซึ่งปัจจุบันมีการจัดการขยะที่ดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาการขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากการเดินทางเข้าพื้นที่นี้ไม่ผ่านพื้นที่หมู่บ้าน โดยก่อนดำเนินการใด ๆ เทศบาลเมืองวารินชำราบจะต้องทำการประชาสัมพันธ์ และทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ก่อน รวมทั้งต้องมีการดำเนินการให้ได้มาตรฐานอย่างต่อเนื่อง
รายงานผลการพิจารณาศึกษาปัญหาความเดือดร้อนของราษฎร อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ จากการปล่อยน้ำเสียของโรงงาน บริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด คณะกรรมาธิการมีแนวทางแก้ไขปัญหาและข้อเสนอแนะดังนี้
1. มาตรฐานระบบบำบัดน้ำเสียของโรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ระบบบ่อพัก ซึ่งรองรับน้ำต้มปอและบ่อบำบัดน้ำเสียยังไม่ได้มาตรฐานต้องทำการปรับปรุงเป็นระยะ ๆ ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา บริษัทฯ ควรดำเนินการ
1.1 ปรับปรุง แก้ไขหรือซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสีย
1.2 ปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสียทั้ง 4 บ่อ
1.3 ควรเพิ่มจำนวนเครื่องเติมอากาศให้เพียงพอ
1.4 ต้องจัดทำรายงานผลการบันทึกลักษณะน้ำทิ้งและข้อมูลซึ่งแสดงผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย
1.5 ควรขุดลอกลำเหมืองสาธารณะช่วงที่มีสภาพตื้นเขินและแคบ หรือต่อท่อระบายน้ำทิ้งไปสู่ลำเหมืองสาธารณะช่วงที่กว้างขึ้น
1.6 กำจัดกากเศษเยื่อที่ปนเปื้อนสารเคมีจากสีย้อมหรือกากสารเคมีอื่นโดยวิธีและหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม
1.7 ควรทำการพิสูจน์ให้ได้ข้อเท็จจริงว่าน้ำจากบ่อบำบัดน้ำเสียของบริษัทฯ มีการซึมไหลแผ่ขยายลงสู่ชั้นน้ำตื้น และชั้นน้ำบาดาลของชาวบ้าน
1.8 ควรปรับปรุงบ่อพักน้ำมันเตาและน้ำมันเครื่องจากเครื่องจักรบริเวณด้านหลังโรงงาน
1.9 จัดให้มีระบบบำบัดมลพิษจากการใช้น้ำมันเตาเป็นเชื้อเพลิงของระบบหม้อไอน้ำ
2. มาตรฐานระบบตรวจสอบคุณภาพน้ำของหน่วยราชการต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์
2.1 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำในบ่อบำบัดน้ำทิ้งบ่อสุดท้ายและน้ำในลำเหมืองสาธารณะ
2.2 กรมควบคุมมลพิษ ได้ทำการตรวจวิเคราะห์น้ำทิ้งที่โรงงานระบายลงสู่ลำเหมืองสาธารณะ
2.3 สำนักงานสุขาภิบาลอำเภอสันกำแพง ได้เก็บตัวอย่างน้ำทิ้งจากบ่อสุดท้ายและนอกบริเวณโรงงาน
2.4 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ ได้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อน้ำตื้น 3 แห่ง และบ่อบาดาล 2 แห่ง
จากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าหน่วยราชการแต่ละแห่งมีมาตรฐานและความน่าเชื่อถือในการตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำแตกต่างกันออกไป รวมทั้งการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานน้ำบริโภคและค่ามาตรฐานของโลหะหนักแตกต่างกัน นอกจากนี้ยังพบว่าโรงงานฯ ได้ทำการปล่อยน้ำทิ้งซึ่งมีค่าเกินเกณฑ์มาตรฐานหลายครั้ง ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหาคือ ให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมพิจารณากำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้ง และควรตั้งคณะกรรมการซึ่งเป็นกลางและไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมทั้งราษฎรที่ได้รับผลกระทบ เพื่อทำการเก็บและตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำทิ้งของโรงงานจากบ่อบำบัดน้ำเสียทุกบ่อพร้อมกันและต่อเนื่องเป็นระยะ
3. ราษฎรบริเวณใกล้โรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ไม่สามารถใช้น้ำจากบ่อน้ำตื้นและบ่อบาดาลในการอุปโภคและบริโภคได้ ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าหน่วยงานภาครัฐก็ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาให้ลุล่วงไปได้ เนื่องจากยังแก้ไขปัญหาไม่ตรงจุด สำหรับแนวทางแก้ไขปัญหา มีดังนี้
3.1 หากมีการดำเนินการอย่างจริงจัง น่าจะหาสาเหตุที่แท้จริงของความเดือดร้อนของชาวบ้านได้ และสามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด
3.2 หน่วยราชการที่เกี่ยวข้องควรจัดหาน้ำสำหรับอุปโภคและบริโภคเมื่อราษฎรที่ได้รับผลกระทบเกิดภาวะขาดแคลน
3.3 ควรห้ามไม่ให้โรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ปล่อยน้ำจากบ่อบำบัดลงสู่ลำเหมืองสาธารณะ
4. น้ำในลำเหมืองสาธารณะมีสีและมีกลิ่นเหม็น โรงงานมีการปล่อยน้ำเสียที่ไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานลงสู่ลำเหมืองสาธารณะโดยตรง ทำให้น้ำในลำเหมืองสาธารณะมีสีและมีกลิ่นเหม็น ซึ่งแนวทางการแก้ไขปัญหา ควรดำเนินการควบคุมให้โรงงานปล่อยน้ำทิ้งซึ่งผ่านการบำบัดจนมีคุณภาพเข้าเกณฑ์มาตรฐาน
5. การแทรกแซงแนวทางการแก้ไขปัญหาจากนักการเมืองและข้าราชการประจำ หน่วยราชการส่วนกลางและนักการเมืองควรปล่อยให้หน่วยราชการส่วนท้องถิ่นสามารถดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างอิสระเนื่องจากทราบข้อเท็จจริงได้ดีกว่า
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
1. ควรมีการตรวจสอบการได้ใบรับรองระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยตามมาตรฐานไอเอสโอ
2. หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐควรกำหนดเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำบริโภคและคุณภาพน้ำทิ้งให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกัน
3. หน่วยงานต่าง ๆ ของภาครัฐควรตรวจสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือเครื่องใช้ในการตรวจคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอก่อนใช้งาน
4. ควรให้โรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด เพิ่มกระบวนการบำบัดทางเคมีเพิ่มเติมเพื่อบำบัดน้ำเสียก่อนที่จะมีการบำบัดต่อไปด้วยระบบบำบัดทางชีวภาพซึ่งทางโรงงานใช้อยู่
5. หากพิสูจน์ได้ว่าบ่อน้ำตื้นและบ่อบาดาลของชาวบ้านได้รับการปนเปื้อนจากการซึมของน้ำเสียจากบ่อบำบัดน้ำเสียของโรงงานบริษัท สยามพรหมประทาน จำกัด ควรให้ทางโรงงานรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดกับชาวบ้านและต่อสภาพแวดล้อมดังกล่าวด้วย
6. กรมโรงงานอุตสาหกรรมควรดำเนินการอย่างเฉียบขาดกับโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 และประกาศกรมโรงงานอุตสาหกรรม ลงวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2540
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-