แท็ก
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
กระทรวงการต่างประเทศ
กระทรวงมหาดไทย
สภาผู้แทนราษฎร
กระทรวงการคลัง
กระทรวงแรงงาน
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การจัดหางานและคุ้มครองคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ของสภาผู้แทนราษฎร ตามที่สำนักงานสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และมอบให้กระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รับไปพิจารณาดำเนินการ แล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาศึกษาเรื่องการแก้ไขปัญหาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ดังนี้
1. การจัดหางานและคุ้มครองคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
2. วิธีการพิจารณาศึกษา
3. ผลการพิจารณาศึกษา ข้อเสนอแนะเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาที่คนหางานยังถูกหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ
4. บรรษัทกลางจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ (บจต.)
5. โครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
6. โครงการอาสาสมัครจัดหางานของกรมการจัดหางาน
7. โครงการอาสาสมัครจัดหางาน ปี 2545 : ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการแรงงาน
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการแรงงาน
1. การแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการบริหารแบบองค์รวมจะสามารถสร้างประสิทธิภาพของระบบการจัดส่งแรงงานไปต่างประเทศที่มีลักษณะแตกแยกอยู่เดิม โดยผสมผสานให้เกิดการดูแลที่ครบวงจร และแนวคิดของการปฏิบัติงานในรูปแบบขององค์กรอิสระในภาครัฐ จะสร้างความเชื่อถือให้แก่แรงงานผู้ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศและมีความคล่องตัวในการบริหารแบบเอกชน ที่จะต้องต่อสู้แย่งชิงตลาดแรงงานในเวทีโลกได้ คณะกรรมาธิการการแรงงานจึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศ ป้องกันการหลอกลวง นอกจากนั้นยังจะต้องตระหนักถึงความต่อเนื่องเชื่อมโยงในการคุ้มครองด้านสวัสดิการสังคม การประกันสังคม การพัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดทำข้อมูลแรงงานและการตลาดด้านแรงงานเพื่อแข่งขันและประกันคุณภาพของแรงงานไทยต่อต่างประเทศด้วย
2. บรรษัทกลางที่จะจัดตั้งขึ้น จะต้องมีการตรายกร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้น ซึ่งหากสามารถนำระบบแรงงานต่างชาติที่มาประจำทำงานอยู่ในประเทศไทยมาดูแลด้วย ก็จะเป็นหมวดหมู่ของวงจรแรงงานที่เป็นข้อต่อรองทำสัญญาระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น แต่จำเป็นจะต้องยกเลิกหรือปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ที่เกี่ยวข้องบ้าง แล้วนำมาควบรวมการจัดกรอบการดำเนินการด้วยการตราพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่ ยกเลิกของเดิม และควรมีชื่อที่ให้ความหมายกว้างให้ครอบคลุมการบริหารจัดการแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ และแรงงานต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทย อาจมีชื่อว่า "บรรษัทแรงงานสากลแห่งประเทศไทย" (Thai International Work Forces Corporation : T.W.F.C.)
3. จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น มีประชาชนจำนวนหนึ่งได้ถูกหลอกลวงและสูญเสียถึงขั้นล้มเหลวด้านเศรษฐกิจ โดยที่ยังไม่มีแนวทางใดจะเยียวยาหรือบรรเทาความทุกข์ของคนกลุ่มนี้ได้ ในบทเฉพาะกาลและการจัดการที่ภาครัฐควรดำเนินการในขณะนี้ หากมีความเป็นไปได้เมื่อระบบรัฐต่อรัฐ ได้โควต้าแรงงานต่างประเทศมา ให้ช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ถูกหลอกลวงนี้ให้ได้ไปทำงานก่อนเพื่อชำระหนี้สินและชุบชีวิตครอบครัวให้บรรเทาความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำอันฉ้อฉลกลโกงของผู้ทุจริต และเกิดจากการที่รัฐมิได้วางกรอบกฎหมายและวางแนวทางในการจัดการให้มีประสิทธิภาพ สำหรับบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจจัดหางาน ก็ยังคงสามารถประกอบธุรกรรมต่อได้ภายใต้การควบคุมดูแลของบรรษัทแรงงานสากลฯ ที่จัดตั้งนี้ได้ และจะช่วยสร้างระบบการขยายตลาดแรงงานให้กว้างขวางออกไปนอกจากระบบรัฐต่อรัฐแล้วจะต้องมีระบบของรัฐต่อบริษัทเอกชนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
คณะกรรมาธิการได้พิจารณาศึกษาเรื่องการแก้ไขปัญหาการจัดหางานและคุ้มครองคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 ดังนี้
1. การจัดหางานและคุ้มครองคนหางานที่ไปทำงานต่างประเทศ ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528
2. วิธีการพิจารณาศึกษา
3. ผลการพิจารณาศึกษา ข้อเสนอแนะเพื่อให้สอดคล้องกับปัญหาที่คนหางานยังถูกหลอกลวงไปทำงานต่างประเทศ
4. บรรษัทกลางจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ (บจต.)
5. โครงการสินเชื่อเพื่อไปทำงานต่างประเทศ
6. โครงการอาสาสมัครจัดหางานของกรมการจัดหางาน
7. โครงการอาสาสมัครจัดหางาน ปี 2545 : ข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการแรงงาน
ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะของคณะกรรมาธิการการแรงงาน
1. การแก้ไขปัญหาด้วยกระบวนการบริหารแบบองค์รวมจะสามารถสร้างประสิทธิภาพของระบบการจัดส่งแรงงานไปต่างประเทศที่มีลักษณะแตกแยกอยู่เดิม โดยผสมผสานให้เกิดการดูแลที่ครบวงจร และแนวคิดของการปฏิบัติงานในรูปแบบขององค์กรอิสระในภาครัฐ จะสร้างความเชื่อถือให้แก่แรงงานผู้ประสงค์จะเดินทางไปทำงานในต่างประเทศและมีความคล่องตัวในการบริหารแบบเอกชน ที่จะต้องต่อสู้แย่งชิงตลาดแรงงานในเวทีโลกได้ คณะกรรมาธิการการแรงงานจึงมีแนวคิดที่จะแก้ไขปัญหาการหลอกลวงแรงงานไปทำงานในต่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะเพิ่มพูนรายได้ให้แก่ประเทศ ป้องกันการหลอกลวง นอกจากนั้นยังจะต้องตระหนักถึงความต่อเนื่องเชื่อมโยงในการคุ้มครองด้านสวัสดิการสังคม การประกันสังคม การพัฒนาฝีมือแรงงาน การจัดทำข้อมูลแรงงานและการตลาดด้านแรงงานเพื่อแข่งขันและประกันคุณภาพของแรงงานไทยต่อต่างประเทศด้วย
2. บรรษัทกลางที่จะจัดตั้งขึ้น จะต้องมีการตรายกร่างพระราชบัญญัติฯ ขึ้น ซึ่งหากสามารถนำระบบแรงงานต่างชาติที่มาประจำทำงานอยู่ในประเทศไทยมาดูแลด้วย ก็จะเป็นหมวดหมู่ของวงจรแรงงานที่เป็นข้อต่อรองทำสัญญาระหว่างประเทศได้ดียิ่งขึ้น แต่จำเป็นจะต้องยกเลิกหรือปรับปรุงพระราชบัญญัติฯ ที่เกี่ยวข้องบ้าง แล้วนำมาควบรวมการจัดกรอบการดำเนินการด้วยการตราพระราชบัญญัติขึ้นมาใหม่ ยกเลิกของเดิม และควรมีชื่อที่ให้ความหมายกว้างให้ครอบคลุมการบริหารจัดการแรงงานไทยที่ไปทำงานในต่างประเทศ และแรงงานต่างประเทศที่อยู่ในประเทศไทย อาจมีชื่อว่า "บรรษัทแรงงานสากลแห่งประเทศไทย" (Thai International Work Forces Corporation : T.W.F.C.)
3. จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น มีประชาชนจำนวนหนึ่งได้ถูกหลอกลวงและสูญเสียถึงขั้นล้มเหลวด้านเศรษฐกิจ โดยที่ยังไม่มีแนวทางใดจะเยียวยาหรือบรรเทาความทุกข์ของคนกลุ่มนี้ได้ ในบทเฉพาะกาลและการจัดการที่ภาครัฐควรดำเนินการในขณะนี้ หากมีความเป็นไปได้เมื่อระบบรัฐต่อรัฐ ได้โควต้าแรงงานต่างประเทศมา ให้ช่วยเหลือกลุ่มแรงงานที่ถูกหลอกลวงนี้ให้ได้ไปทำงานก่อนเพื่อชำระหนี้สินและชุบชีวิตครอบครัวให้บรรเทาความทุกข์ที่เกิดจากการกระทำอันฉ้อฉลกลโกงของผู้ทุจริต และเกิดจากการที่รัฐมิได้วางกรอบกฎหมายและวางแนวทางในการจัดการให้มีประสิทธิภาพ สำหรับบริษัทเอกชนที่ประกอบธุรกิจจัดหางาน ก็ยังคงสามารถประกอบธุรกรรมต่อได้ภายใต้การควบคุมดูแลของบรรษัทแรงงานสากลฯ ที่จัดตั้งนี้ได้ และจะช่วยสร้างระบบการขยายตลาดแรงงานให้กว้างขวางออกไปนอกจากระบบรัฐต่อรัฐแล้วจะต้องมีระบบของรัฐต่อบริษัทเอกชนด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-