คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรงค์ ฉายแสง) ในฐานะประธานอนุกรรมการด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด รายงานผลการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในช่วง 3 เดือน มีผลงานโดยสรุป ดังนี้
1. วิสัยทัศน์
ทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในฐานะผู้ป่วย ไม่ใช่อาชญากร ตามมาตรฐาน การบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาด้วยความเอื้ออาทร ให้โอกาสกลับคืนสู่ครอบครัวชุมชน และดำรงชีวิตได้ อย่างปกติสุขและเต็มศักยภาพ เป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้เอาชนยะยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย
2. กรอบแนวความคิดหลัก
ดำเนินงานแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดด้วยการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา โดยการปรับเปลี่ยนเจตคติ และ การปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด บูรณาการงานในพื้นที่ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐาน เชื่อมโยงระบบสมัครใจ บังคับบำบัดและต้องโทษให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน ภาครัฐมีบทบาทในการส่งเสริม และ สนับสนุนในด้านวิชาการและทรัพยากร ตลอดจนกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพ
3. ยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานที่สำคัญไว้ 5 ประการ คือ
3.1 ปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
3.2 บูรณาการแผนการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาในพื้นที่
3.3 พัฒนาศักยภาพและคุณภาพการบำบัดรักษาให้มีมาตรฐาน
3.4 การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาเสพติดอีก
3.5 พัฒนาระบบข้อมูลด้านการดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้เป็นเอกภาพ
4. ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
4.1 ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานปรับเปลี่ยนเจตคติผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วย โดยมี ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นประธานคณะทำงาน ดำเนินการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนเจตคติ จัดทำคู่มือสื่อเผยแพร่ เอกสารวิชาการ ดังนี้
1) แผนปรับเปลี่ยนเจตคติ ได้กำหนดแผนงาน 4 แผนงาน คือ แผนงานศึกษากฎมาย กฎ ระเบียบ แผนงานการพัฒนาวิชาการ แผนงานรณรงค์ปรับเปลี่ยนเจตคติ และแผนงานการบริหารจัดการ
2) จัดทำแผ่นพับและโปสเตอร์ "นาทีทองของ......ชีวิต" แผ่นพับ 200,000 ฉบับ โปสเตอร์ 20,000 แผ่น แจกจ่ายให้กับผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่มารายงานตนต่อทางราชการ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ผู้มาแสดงตน พึงได้รับและแนวปฏิบัติตนในการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนา
3) จัดทำต้นฉบับเอกสารวิชาการ เรื่องการติดสารเสพติดประเภทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า เพื่อให้ ประชาชนได้เข้าใจเรื่องการติดยาเสพติด และมีเจตคติที่ดีต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในฐานะผู้ป่วย
4) จัดทำแนวทางการปฏิบัติเพื่อการปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ครอบครัว ชุมชน และสังคม สถานศึกษา สถาน ประกอบการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป
5) จัดเตรียมโครงสร้างสำนักงานประสานงานการปรับเปลี่ยนเจตคติ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ประสานและประมวลความรู้ทางวิชาการ เสนอข้อคิดเห็น แนวทางกลยุทธ์ ประสานการปฏิบัติเพื่อการปรับเปลี่ยนเจตคติ ตลอดจนพัฒนาและประสานให้เกิดเทคนิควิชาการที่เป็นประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนเจตคติ
4.2 ยุทธศาสตร์บูรณาการแผนการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาในพื้นที่
1) ออกคำสั่ง ศตส.ที่ 16/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 เรื่องแนวทางการดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่มาแสดงตนต่อทางราชการ เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้ ศตส.กทม. ศตส.น.1-9 ศตส.จ ศตส.อ. / กิ่งอ. ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์และกรอบกิจกรรมหลักในการบูรณาการด้านการแก้ไขปัญหา ผู้เสพ /ผู้ติดยาเสพติด โดยเน้นการทำงานแบบบูรณาการในพื้นที่ และใช้กลไกการทำงานของ ศตส.กทม. ศตส.น. 1-9 ศตส.จ ศตส.อ. / กิ่งอ. โดยมีขั้นตอนตั้งแต่การค้นหา จำแนก คัดกรอง ส่งต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้ได้รับการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาอย่างครบวงจร และได้รับการติดตาม ดูแลช่วยเหลือต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี
3) จัดทำแนวทางในการบูรณาการงบประมาณการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด โดยในช่วงเวลา ที่เหลือของปีงบประมาณ 2546 ได้กำหนดให้ส่วนราชการมีงบประมาณเหลือจ่าย ตัดโอนให้กับหน่วยงานที่มีงบประมาณ ไม่เพียงพอ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผนในรายละเอียด
4.3 ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพและคุณภาพการบำบัดรักษาให้มีมาตรฐาน
1) สำรวจและพัฒนาศักยภาพสถานบำบัด ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรับรองสถานการณ์การแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
2) กำหนดเกณฑ์การจำแนกคัดกรองผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
3) จัดทำมาตรฐานและคู่มือการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดพร้อมทั้งมอบนโยบาย ประชุมชี้แจงแก่ผู้เกี่ยวข้อง
4) พัฒนาเกณฑ์การประเมินผู้ผ่านการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา โดยประเมินใน 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ ด้านพฤติกรรม และด้านครอบครัว
5) อบรมวิทยากรต้นแบบด้านการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนา ให้เป็นวิทยากรหลักของทุกจังหวัดทั่วประเทศ (จังหวัดละ 10 คน) เพื่อให้การดำเนินงานบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาเป็นมาตรฐานเดียวกัน
6) จัดทำข้อกำหนดและเกณฑ์มาตรฐานของการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด รวมถึงการติดตามนิเทศเพื่อวางแผนพัฒนาและรับรองคุณภาพของสถานพยาบาลยาเสพติดทั่วประเทศ
7) กำหนดแนวทางติดตามประเมินผล โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ
4.4 ยุทธศาสตร์การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยไม่ไปเสพยาเสพติดอีก
1) จัดวางระบบการติดตามดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดหลังการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา ตามคำสั่ง ศตส.ที่ 16/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลักในการดูแลช่วยเหลือ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 ปี ทั้งด้านสุขภาพ สังคมและการประกอบอาชีพ โดยคำนึงถึงการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์
2) บูรณาการเตรียมความพร้อมบุคลากรในการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ โดยส่งเสริมให้ อาสาสมัครพลังแผ่นดินมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
4.5 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบข้อมูลด้านการดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้เป็นเอกภาพ ได้จัดทำระบบฐานข้อมูล ระบบเฝ้าระวัง ระบบติดตาม และระบบรายงาน โดยจัดทำแบบรายงาน บสต.1-5 (ปกปิด) เพื่อเก็บข้อมูลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ประกอบข้อมูลเบื้องต้นการใช้สารเสพติดในหมู่บ้าน/ ชุมชน การคัดกรองและส่งต่อ การรายงานผลการบำบัดรักษา การจำหน่ายและส่งต่อ รวมถึงการติดตามผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยสารเสพติด โดยเก็บข้อมูล เป็นรายบุคคล (Individual record) และได้พัฒนาโปรแกรมการรายงานผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา ศักยภาพบุคลากรในการจัดทำรายงานและวิเคราะห์ข้อมูล
5. แผนการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในห้วง 1 พฤษภาคม - 2 ธันวาคม 2546
5.1 บูรณาการการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ให้เป็นไปตามคำสั่ง ศตส. ที่ 16/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 ให้สอดคล้องและประสานกับแผนการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาตัวยา / ผู้ค้ายาเสพติด และการป้องกัน กลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด
5.2 กำหนดเป้าหมายและดำเนินการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่มาแสดงตนต่อทางราชการ โดยถือว่าการมารายงานตัวเพิ่มขึ้นของผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดเป็นผลงานและความดีความชอบของ ผู้รับผิดชอบในพื้นที่
5.3 ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางการรับผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดเข้าทำงานใน หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน
5.4 สร้างระบบการค้นหาและประมาณการจำนวนผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ โดยใช้แบบรายงาน บสต.1 (ปกปิด) เป็นฐานในการจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น
5.5 ดำเนินการเชิงรุกในการสำรวจ ค้นหา สร้างแรงจูงใจให้ผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่ยังไม่มารายงานตัว กับทางราชการ มาเข้าสู่กระบวนการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา โดยใช้คู่มือการปรับเปลี่ยนเจตคติและพระราชบัญญัติฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ
5.6 ดำเนินการติดตามดูแลหลังการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้อาสาสมัครพลังแผ่นดิน เป็นผู้ติดตามดูแลในระดับพื้นที่ และมีการสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการฝึกอาชีพและหาแหล่งงาน รองรับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนา
5.7 นิเทศติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ในระดับพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
1. วิสัยทัศน์
ทุกภาคส่วนของสังคมต้องร่วมมือกันดูแลช่วยเหลือผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในฐานะผู้ป่วย ไม่ใช่อาชญากร ตามมาตรฐาน การบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาด้วยความเอื้ออาทร ให้โอกาสกลับคืนสู่ครอบครัวชุมชน และดำรงชีวิตได้ อย่างปกติสุขและเต็มศักยภาพ เป็นพลังแผ่นดินในการต่อสู้เอาชนยะยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย
2. กรอบแนวความคิดหลัก
ดำเนินงานแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดด้วยการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา โดยการปรับเปลี่ยนเจตคติ และ การปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด บูรณาการงานในพื้นที่ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนตามมาตรฐาน เชื่อมโยงระบบสมัครใจ บังคับบำบัดและต้องโทษให้สนับสนุนซึ่งกันและกัน ภาครัฐมีบทบาทในการส่งเสริม และ สนับสนุนในด้านวิชาการและทรัพยากร ตลอดจนกำกับดูแลให้มีประสิทธิภาพ
3. ยุทธศาสตร์ ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการดำเนินงานที่สำคัญไว้ 5 ประการ คือ
3.1 ปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
3.2 บูรณาการแผนการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาในพื้นที่
3.3 พัฒนาศักยภาพและคุณภาพการบำบัดรักษาให้มีมาตรฐาน
3.4 การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาเสพติดอีก
3.5 พัฒนาระบบข้อมูลด้านการดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้เป็นเอกภาพ
4. ผลการดำเนินงาน
ผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์
4.1 ยุทธศาสตร์ปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานปรับเปลี่ยนเจตคติผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดเป็นผู้ป่วย โดยมี ศ.นพ.อุดมศิลป์ ศรีแสงนาม เป็นประธานคณะทำงาน ดำเนินการจัดทำแผนปรับเปลี่ยนเจตคติ จัดทำคู่มือสื่อเผยแพร่ เอกสารวิชาการ ดังนี้
1) แผนปรับเปลี่ยนเจตคติ ได้กำหนดแผนงาน 4 แผนงาน คือ แผนงานศึกษากฎมาย กฎ ระเบียบ แผนงานการพัฒนาวิชาการ แผนงานรณรงค์ปรับเปลี่ยนเจตคติ และแผนงานการบริหารจัดการ
2) จัดทำแผ่นพับและโปสเตอร์ "นาทีทองของ......ชีวิต" แผ่นพับ 200,000 ฉบับ โปสเตอร์ 20,000 แผ่น แจกจ่ายให้กับผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่มารายงานตนต่อทางราชการ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่ผู้มาแสดงตน พึงได้รับและแนวปฏิบัติตนในการเข้ารับการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนา
3) จัดทำต้นฉบับเอกสารวิชาการ เรื่องการติดสารเสพติดประเภทแอมเฟตามีนหรือยาบ้า เพื่อให้ ประชาชนได้เข้าใจเรื่องการติดยาเสพติด และมีเจตคติที่ดีต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในฐานะผู้ป่วย
4) จัดทำแนวทางการปฏิบัติเพื่อการปรับเปลี่ยนเจตคติและการปฏิบัติของสังคมต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด สำหรับกลุ่มเป้าหมาย 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ครอบครัว ชุมชน และสังคม สถานศึกษา สถาน ประกอบการ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์เพื่อแจกจ่ายให้กับกลุ่มเป้าหมายต่อไป
5) จัดเตรียมโครงสร้างสำนักงานประสานงานการปรับเปลี่ยนเจตคติ เพื่อทำหน้าที่เฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ ประสานและประมวลความรู้ทางวิชาการ เสนอข้อคิดเห็น แนวทางกลยุทธ์ ประสานการปฏิบัติเพื่อการปรับเปลี่ยนเจตคติ ตลอดจนพัฒนาและประสานให้เกิดเทคนิควิชาการที่เป็นประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนเจตคติ
4.2 ยุทธศาสตร์บูรณาการแผนการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาในพื้นที่
1) ออกคำสั่ง ศตส.ที่ 16/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 เรื่องแนวทางการดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่มาแสดงตนต่อทางราชการ เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติให้ ศตส.กทม. ศตส.น.1-9 ศตส.จ ศตส.อ. / กิ่งอ. ดำเนินการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์และกรอบกิจกรรมหลักในการบูรณาการด้านการแก้ไขปัญหา ผู้เสพ /ผู้ติดยาเสพติด โดยเน้นการทำงานแบบบูรณาการในพื้นที่ และใช้กลไกการทำงานของ ศตส.กทม. ศตส.น. 1-9 ศตส.จ ศตส.อ. / กิ่งอ. โดยมีขั้นตอนตั้งแต่การค้นหา จำแนก คัดกรอง ส่งต่อผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้ได้รับการบำบัด ฟื้นฟู และพัฒนาอย่างครบวงจร และได้รับการติดตาม ดูแลช่วยเหลือต่อเนื่องอย่างน้อย 1 ปี
3) จัดทำแนวทางในการบูรณาการงบประมาณการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด โดยในช่วงเวลา ที่เหลือของปีงบประมาณ 2546 ได้กำหนดให้ส่วนราชการมีงบประมาณเหลือจ่าย ตัดโอนให้กับหน่วยงานที่มีงบประมาณ ไม่เพียงพอ ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผนในรายละเอียด
4.3 ยุทธศาสตร์พัฒนาศักยภาพและคุณภาพการบำบัดรักษาให้มีมาตรฐาน
1) สำรวจและพัฒนาศักยภาพสถานบำบัด ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงสาธารณสุข เพื่อรับรองสถานการณ์การแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
2) กำหนดเกณฑ์การจำแนกคัดกรองผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด
3) จัดทำมาตรฐานและคู่มือการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดพร้อมทั้งมอบนโยบาย ประชุมชี้แจงแก่ผู้เกี่ยวข้อง
4) พัฒนาเกณฑ์การประเมินผู้ผ่านการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา โดยประเมินใน 3 ด้าน คือ ด้านร่างกาย จิตใจ ด้านพฤติกรรม และด้านครอบครัว
5) อบรมวิทยากรต้นแบบด้านการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนา ให้เป็นวิทยากรหลักของทุกจังหวัดทั่วประเทศ (จังหวัดละ 10 คน) เพื่อให้การดำเนินงานบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาเป็นมาตรฐานเดียวกัน
6) จัดทำข้อกำหนดและเกณฑ์มาตรฐานของการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด รวมถึงการติดตามนิเทศเพื่อวางแผนพัฒนาและรับรองคุณภาพของสถานพยาบาลยาเสพติดทั่วประเทศ
7) กำหนดแนวทางติดตามประเมินผล โดยมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการ
4.4 ยุทธศาสตร์การติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข โดยไม่ไปเสพยาเสพติดอีก
1) จัดวางระบบการติดตามดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดหลังการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา ตามคำสั่ง ศตส.ที่ 16/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 โดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนเป็นหลักในการดูแลช่วยเหลือ อย่างต่อเนื่อง อย่างน้อย 1 ปี ทั้งด้านสุขภาพ สังคมและการประกอบอาชีพ โดยคำนึงถึงการนำทุนทางสังคมที่มีอยู่มาใช้ประโยชน์
2) บูรณาการเตรียมความพร้อมบุคลากรในการติดตามดูแลอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ โดยส่งเสริมให้ อาสาสมัครพลังแผ่นดินมีส่วนร่วมในการดำเนินการ
4.5 ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบข้อมูลด้านการดูแลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดให้เป็นเอกภาพ ได้จัดทำระบบฐานข้อมูล ระบบเฝ้าระวัง ระบบติดตาม และระบบรายงาน โดยจัดทำแบบรายงาน บสต.1-5 (ปกปิด) เพื่อเก็บข้อมูลผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ประกอบข้อมูลเบื้องต้นการใช้สารเสพติดในหมู่บ้าน/ ชุมชน การคัดกรองและส่งต่อ การรายงานผลการบำบัดรักษา การจำหน่ายและส่งต่อ รวมถึงการติดตามผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยสารเสพติด โดยเก็บข้อมูล เป็นรายบุคคล (Individual record) และได้พัฒนาโปรแกรมการรายงานผลเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนา ศักยภาพบุคลากรในการจัดทำรายงานและวิเคราะห์ข้อมูล
5. แผนการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในห้วง 1 พฤษภาคม - 2 ธันวาคม 2546
5.1 บูรณาการการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดในพื้นที่ให้เป็นไปตามคำสั่ง ศตส. ที่ 16/2546 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2546 ให้สอดคล้องและประสานกับแผนการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาตัวยา / ผู้ค้ายาเสพติด และการป้องกัน กลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด
5.2 กำหนดเป้าหมายและดำเนินการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาให้ครอบคลุมกลุ่มผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่มาแสดงตนต่อทางราชการ โดยถือว่าการมารายงานตัวเพิ่มขึ้นของผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดเป็นผลงานและความดีความชอบของ ผู้รับผิดชอบในพื้นที่
5.3 ยกร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยแนวทางการรับผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดเข้าทำงานใน หน่วยงานของรัฐและหน่วยงานเอกชน
5.4 สร้างระบบการค้นหาและประมาณการจำนวนผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดอย่างเป็นระบบตามหลักวิชาการ โดยใช้แบบรายงาน บสต.1 (ปกปิด) เป็นฐานในการจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้น
5.5 ดำเนินการเชิงรุกในการสำรวจ ค้นหา สร้างแรงจูงใจให้ผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติดที่ยังไม่มารายงานตัว กับทางราชการ มาเข้าสู่กระบวนการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนา โดยใช้คู่มือการปรับเปลี่ยนเจตคติและพระราชบัญญัติฟื้นฟู สมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 เป็นเครื่องมือในการดำเนินการ
5.6 ดำเนินการติดตามดูแลหลังการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยใช้อาสาสมัครพลังแผ่นดิน เป็นผู้ติดตามดูแลในระดับพื้นที่ และมีการสร้างความร่วมมือระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้องในการฝึกอาชีพและหาแหล่งงาน รองรับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนา
5.7 นิเทศติดตามและรายงานผลการดำเนินงานด้านการแก้ไขปัญหาผู้เสพ / ผู้ติดยาเสพติด ในระดับพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-