คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องกองทุนเพื่อจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Tsunami Regional Trust Fund) ตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบและอนุมัติทั้ง 3 ข้อดังนี้
1. เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกกับรัฐบาลไทย เรื่อง กองทุนโดยสมัครใจสำหรับการจัดการเตือนภัยสึนามิล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Multi Donor Voluntary Trust Fund for Tsunami Early Warning Arrangements in the Indian Ocean and Southeast Asia : Tsunami Regional Trust Fund)
2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในร่างความตกลงจัดตั้ง Tsunami Regional Trust Fund
3. อนุมัติในหลักการ วงเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากงบกลางเพื่อเป็นเงินตั้งต้นกองทุน และให้เบิกจ่ายเท่าที่จะต้องจ่ายจริง โดยให้ขอตกลงรายละเอียดด้านการเงินกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ ร่างความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการใช้เงินจากกองทุนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาระบบเตือนภัยสึนามิในระดับภูมิภาค และลดช่องว่างของความแตกต่างในสมรรถนะด้านการจัดการภัยพิบัติของแต่ละชาติในภูมิภาค ผ่านระบบเชื่อมโยงของศูนย์ระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาค และนอกภูมิภาค และจะใช้สนับสนุนกิจกรรมในการพัฒนาระบบเตือนภัยสำหรับภูมิภาค รวมทั้งกิจกรรมขององค์การอย่าง เช่น ADPC ที่จะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคในการพัฒนาระบบเตือนภัย นอกจากนั้น กองทุนนี้ยังใช้สนับสนุนการดำเนินการของศูนย์ระดับภูมิภาคและระดับชาติอื่น ๆ ที่มีภารกิจด้านระบบเตือนภัยด้วย
2. UNESCAP เป็นผู้บริหารกองทุนฯ และมีการจัดตั้ง Advisory Council เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดนโยบายการใช้เงินกองทุนฯ สมาชิกของ Advisory Council ประกอบด้วยผู้แทนจากเอสแคป ผู้บริจาคเงินตั้งต้นกองทุน (Foundation donor) ซึ่งหมายถึงประเทศไทย และผู้บริจาคหลักอื่น ๆ (key donors) ซึ่งจะต้องบริจาคคิดเป็น ร้อยละ 20 ของยอดเงินคงเหลือของกองทุนฯ
3. ในฐานะที่ไทยเป็นผู้บริจาคเงินตั้งต้นกองทุน ทำให้มีสถานะเป็นสมาชิก Advisory Council ตลอดไป
4. การยกเลิกกองทุนดำเนินการได้โดยเอสแคป โดยจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งแก่ผู้บริจาคเงินตั้งต้นกองทุน และผู้บริจาคเงินอื่น ๆ ล่วงหน้า 90 วัน หรือโดยการเสนอแนะจาก Advisory Council ภายใต้หลักการฉันทามติของสมาชิก
5. ประเทศที่เข้าร่วมในกองทุนฯ สามารถบอกเลิกการมีส่วนร่วมในกองทุนฯ โดยจะได้รับเงินคืนส่วนที่เหลือตามสัดส่วนของการบริจาคในระยะ 5 ปีที่ผ่านมากับยอดเงินคงเหลือ
6. มีการระบุชื่อ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) ด้วยว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่จะได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ทั้งนี้ ADPC เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไทยสนับสนุนให้มีบทบาทนำในการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
1. เห็นชอบร่างความตกลงระหว่างคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมสำหรับเอเชียและแปซิฟิกกับรัฐบาลไทย เรื่อง กองทุนโดยสมัครใจสำหรับการจัดการเตือนภัยสึนามิล่วงหน้าในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Multi Donor Voluntary Trust Fund for Tsunami Early Warning Arrangements in the Indian Ocean and Southeast Asia : Tsunami Regional Trust Fund)
2. เห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในร่างความตกลงจัดตั้ง Tsunami Regional Trust Fund
3. อนุมัติในหลักการ วงเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากงบกลางเพื่อเป็นเงินตั้งต้นกองทุน และให้เบิกจ่ายเท่าที่จะต้องจ่ายจริง โดยให้ขอตกลงรายละเอียดด้านการเงินกับสำนักงบประมาณต่อไป
ทั้งนี้ ร่างความตกลงดังกล่าวมีสาระสำคัญดังนี้
1. วัตถุประสงค์ของการใช้เงินจากกองทุนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาระบบเตือนภัยสึนามิในระดับภูมิภาค และลดช่องว่างของความแตกต่างในสมรรถนะด้านการจัดการภัยพิบัติของแต่ละชาติในภูมิภาค ผ่านระบบเชื่อมโยงของศูนย์ระดับอนุภูมิภาค ระดับภูมิภาค และนอกภูมิภาค และจะใช้สนับสนุนกิจกรรมในการพัฒนาระบบเตือนภัยสำหรับภูมิภาค รวมทั้งกิจกรรมขององค์การอย่าง เช่น ADPC ที่จะเป็นศูนย์กลางระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาคในการพัฒนาระบบเตือนภัย นอกจากนั้น กองทุนนี้ยังใช้สนับสนุนการดำเนินการของศูนย์ระดับภูมิภาคและระดับชาติอื่น ๆ ที่มีภารกิจด้านระบบเตือนภัยด้วย
2. UNESCAP เป็นผู้บริหารกองทุนฯ และมีการจัดตั้ง Advisory Council เพื่อทำหน้าที่ในการควบคุมและกำหนดนโยบายการใช้เงินกองทุนฯ สมาชิกของ Advisory Council ประกอบด้วยผู้แทนจากเอสแคป ผู้บริจาคเงินตั้งต้นกองทุน (Foundation donor) ซึ่งหมายถึงประเทศไทย และผู้บริจาคหลักอื่น ๆ (key donors) ซึ่งจะต้องบริจาคคิดเป็น ร้อยละ 20 ของยอดเงินคงเหลือของกองทุนฯ
3. ในฐานะที่ไทยเป็นผู้บริจาคเงินตั้งต้นกองทุน ทำให้มีสถานะเป็นสมาชิก Advisory Council ตลอดไป
4. การยกเลิกกองทุนดำเนินการได้โดยเอสแคป โดยจะต้องทำเป็นหนังสือแจ้งแก่ผู้บริจาคเงินตั้งต้นกองทุน และผู้บริจาคเงินอื่น ๆ ล่วงหน้า 90 วัน หรือโดยการเสนอแนะจาก Advisory Council ภายใต้หลักการฉันทามติของสมาชิก
5. ประเทศที่เข้าร่วมในกองทุนฯ สามารถบอกเลิกการมีส่วนร่วมในกองทุนฯ โดยจะได้รับเงินคืนส่วนที่เหลือตามสัดส่วนของการบริจาคในระยะ 5 ปีที่ผ่านมากับยอดเงินคงเหลือ
6. มีการระบุชื่อ Asian Disaster Preparedness Center (ADPC) ด้วยว่าเป็นองค์กรหนึ่งที่จะได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนฯ ทั้งนี้ ADPC เป็นองค์กรระหว่างประเทศที่ไทยสนับสนุนให้มีบทบาทนำในการจัดตั้งระบบเตือนภัยสึนามิในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--