คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าของโครงการหรือเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2546 (ตุลาคม 2545 - กุมภาพันธ์ 2546) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอสรุปได้ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การปลุกพลังแผ่นดินและการป้องกัน
ในการดำเนินงานมุ่งเน้นงานมวลชนและการให้ความรู้และพิษภัยของยาเสพติดโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกรูปแบบ สามารถเข้าถึงประชากรเป้าหมายได้ทั้งหมด 1,866,354 คน โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ทรงรับเป็นองค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีการจัดตั้งชมรม "TO BE NUMBER ONE" จำนวน 136 ชมรม ใน 15 จังหวัด มีสมาชิกชมรม 660,000 คน สำหรับการฝึกอบรมวิทยากรเพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนใน 76 จังหวัด จาก 889 อำเภอ จำนวน 6,267 คน การสนับสนุนกิจกรรมทางเลือกหรือสันทนาการเพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และไม่ไปมั่วสุมใช้ยาเสพติด คือการเล่นกีฬา โดยโครงการลานกีฬาต้านยาเสพติด มีการดำเนินการต่อเนื่องใน 36 จังหวัด 770 ล้าน และได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน Potential Demand หรือกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชนในและนอกสถานศึกษา รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จำนวน 21 ล้านคน และกลุ่มพลังทางสังคมอื่น ๆ ประมาณ 19 ล้านคน
2. ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและสารเคมี
ดำเนินการทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดสกัดกั้นสารตั้งต้น ตัวยาที่ใช้ทดแทนในการผลิตและอุปกรณ์ในการผลิต มีการควบคุมปริมาณการนำเข้า 29,837,767 กิโลกรัม ส่งออก 82,206,026 กิโลกรัม การดำเนินงานสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกองทัพไทย มีการจัดกำลังลาดตระเวน 242 ครั้ง ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ 482 ครั้ง ปิดล้อมตรวจค้น 144 ครั้ง จับกุม 56 ครั้ง ผู้ต้องหา 69 ราย จำนวนของกลางสำคัญที่ยึดได้ ยาบ้า 88,930 เม็ด ในด้านการจัดระเบียบและเสริมสร้างความมั่นคงของหมู่บ้านชายแดน กอ.รมน. ดำเนินการในหมู่บ้านเป้าหมาย 390 หมู่บ้าน ใน 31 จังหวัดชายแดน และเพื่อไม่ให้ยาเสพติดกลับคืนสู่สังคมได้เผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลาง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 ปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ถูกเผามีน้ำหนักรวม 6.7 ตัน จาก 808 คดี รวมมูลค่าของกลาง 3,470 ล้านบาท
3. ยุทธศาสตร์การปราบปราม
การปราบปรามทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติด จำเป็นที่จะต้องทำลายขบวนการค้าในทุกลักษณะทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายในทุกระดับ และผู้เสพ ด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้ สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทั่วประเทศ 100,187 คดี ผู้ต้องหา 104,354 คน น้ำหนักของกลางรวม 34,658.26 กิโลกรัม (เป็นของกลางยาบ้า 40,498,900 เม็ด) และมีการจับกุมรายสำคัญ (ของกลางยาบ้าตั้งแต่หนึ่งหมื่นเม็ดขึ้นไป) จำนวน 117 ครั้ง ใน 28 จังหวัด ของกลางยาบ้าที่จับได้ 26,339,974 เม็ด การตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ได้มีคำสั่งยึด/อายัดทรัพย์สิน 442 ราย มูลค่า 357.50 ล้านบาท ทรัพย์สินของกลางตกเป็นของกองทุน 686 ราย มูลค่า 35.50 ล้านบาท สถานะของกองทุน 55.42 ล้านบาท และอนุมัติจ่ายเงินสินบนเป็นค่าตอบแทนความร่วมมือทางราชการแก่ผู้ให้ข่าวและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ 16,223 คดี และจ่ายเงินรางวัลกรณีบาดเจ็บ 14 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมจำนวนเงินสินบน/เงินรางวัลที่จ่ายไปทั้งหมด 56,823,191 บาท นอกจากนี้สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ตัดโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2546 แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด งานปราบปรามยาเสพติด จำนวน 1,635,250 บาท ให้กับกองกำกับการสุนัขตำรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล จัดทำโครงการ "ฝึกสุนัขไทย ค้นหายาเสพติด" ตามแนวกระแสพระราชดำริ โดยคัดเลือกสุนัขจำนวน 50 ตัว เพื่อเข้ารับการฝึก โดยใช้เวลา 20 สัปดาห์
4. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
มีการบำบัดรูปแบบคนไข้ในโรงพยาบาล จำนวน 8,363 ราย สำหรับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขัง กรมราชทัณฑ์ ได้ให้การบำบัดรักษาอย่างจริงจังในหลายรูปแบบ เช่น ชุมชนบำบัด รูปแบบ Care Model รูปแบบผสมผสาน และรูปแบบเข้มข้น ซึ่งผลการดำเนินงานในรูปแบบชุมชนบำบัดในเรือนจำ/ทัณฑสถานทั้งหมด 15,535 คน สำหรับการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยกรมคุมประพฤติได้กำหนดแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2546 เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2546 ใน 36 จังหวัด และมีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ 728 คน โดยมีประเภทยาเสพติดเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) มีจำนวนมากที่สุด คือ 584 คน
5. ยุทธศาสตร์การข่าว
มีองค์กรทำหน้าที่ประสานและอำนวยการทางด้านการข่าวอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญเทียบเท่าการพัฒนาทางด้านการข่าว เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่สามารถชี้เป้าหมายและความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ปัญหา ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อการปฏิบัติการ ดังนี้
5.1 โครงการสืบสวนหาข่าวการค้ายาเสพติดเกี่ยวกับพฤติการณ์ของกลุ่มนักค้ายาเสพติด โครงสร้างและรูปแบบการค้ายาเสพติด เป้าหมายข่ายงานการค้ายาเสพติดระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติและข้ามชาติ อย่างต่อเนื่อง
5.2 ระบบประสานงานข่าวยาเสพติด ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวซึ่งกันและกัน และตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 เป็นต้นมา ได้นำข้อมูลข่าวสารยาเสพติดในภูมิภาคจัดเก็บเข้าในระบบ Main Frame จำนวน 350 ข้อมูล และในระบบ PC จำนวน 1,750 ข้อมูล
5.3 โครงการศูนย์อำนวยการร่วมด้านการข่าวยาเสพติด มีการจัดประชุมปฏิบัติการข่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ครั้ง มีชุดปฏิบัติการข่าว 40 ชุด เพื่อประสานแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดและได้ชี้แจงแผนปี 2546 พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน
5.4 โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลยาเสพติด มีดังนี้
1) งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลหลัก
- นำเข้าและปรับปรุงข้อมูลบุคคลต้องสงสัยและผู้ถูกจับกุมคดียาเสพติด 80,006 คดี
- ตรวจสอบข้อมูลบุคคลที่ถูกจับกุมจากระบบทะเบียนประวัติ 56,569 ข้อมูล
- นำเข้าและปรับปรุงข้อมูล 122,076 ข้อมูล
- ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลเพื่อความถูกต้อง 125,683 ข้อมูล
2) งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลหนังสือร้องเรียน
- รับเรื่องราวร้องเรียนเกี่ยวกับยาเสพติดจากแหล่งต่าง ๆ 534 ฉบับ
- ประมวลผลข้อมูล แหล่งจำหน่าย เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1,237 ข้อมูล
5.5 การประสานงานการข่าวและปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด มีการประสานความร่วมมือด้านการข่าวผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดต่างประเทศที่ประจำในประเทศไทย 21 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เปรู อัฟริกาใต้ อังกฤษ สเปน เยอรมันนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน โปแลนด์ อิสราเอล สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย กับอีก 2 องค์กร คือองค์กรควบคุมยาเสพติดแห่งสหประชาชาติและหน่วยตำรวจสากล ซึ่งสามารถจับกุมเฮโรอีน 140 กิโลกรัม ในประเทศไทย และขยายผลจับกุม
ผู้เกี่ยวข้องในประเทศพม่า ได้ของกลางทั้งยาเสพติดและสารตั้งต้นจำนวนมาก สำหรับเครือข่ายในประเทศได้ยึดทรัพย์สินเครือข่ายนักค้ายาเสพติดพื้นที่คลองเตยตามกฎหมายฟอกเงิน รวมมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 6 ล้านบาท
6. ยุทธศาสตร์การอำนวยการและการประสานงาน
สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลาง ได้จัดทำและรวบรวมแผนงาน/โครงการความต้องการใช้งบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของส่วนราชการ ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการแผนปฏิบัติการทั้ง 10 แผนงาน สำหรับการจัดทำแผนงบประมาณของปี 2547 อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมและวิเคราะห์คำของบประมาณ จากหน่วยงานส่วนกลาง 40 หน่วยงาน และหน่วยงานระดับจังหวัด 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร และเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2546 นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบาย โดยประกาศสงครามกับยาเสพติดให้มีแผนปฏิบัติการและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29-31/2546 ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 เพื่อจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) ซึ่งได้จัดประชุม ศตส. โดยมีมติที่ประชุม คือ
1) ให้จังหวัดวางแผนแบบบูรณาการ และให้เพิ่มแผนด้านการพัฒนานอกเหนือจากที่ ศตส. ได้กำหนดไว้แล้ว 10 แผนงาน
2) กำหนดแนวทางการดำเนินการกับผู้มารายงานตัวทั้งผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้า และผู้ผลิต และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันอย่างใกล้ชิดในกรณี
- การจำแนกเป้าหมายให้ชัดเจน โดยแบ่งเป็นรายย่อยและรายสำคัญ
- การดำเนินการกับผู้ค้าที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร กอ.รมน. สำหรับผู้ค้ารายย่อยและรายใหญ่ให้พิจารณาเป็นราย ๆ
3) การดำเนินการยึดแนวทางการใช้พลังแผ่นดิน ฯ ซึ่งผสมผสานทุกมาตรการให้ความสำคัญกับการป้องกัน การบำบัดรักษาและปราบปราม ช่วงระยะเวลาที่ประกาศสงครามกับยาเสพติด (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2546) จะต้องใช้มาตรการปราบปรามนำหน้า โดยจะดำเนินการกับผู้ค้ารายใหญ่ให้เด็ดขาด
7. ยุทธศาสตร์การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 4 ฉบับ
1) ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
2) ร่างพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
3) ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
4) ร่างพระราชกฤษฎีกาควบคุมสารคาเฟอีนออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495
การพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ 6 ฉบับ
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการต่อรองคำรับสารภาพ หรือ Plea - Bargaining
2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการชะลอการฟ้อง
3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ….
5. พระราชบัญญัติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรม หรือ RICO (Racketeer Influence and Corrupt Organization Act)
6. พระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรอาชญากรรมต่อเนื่อง หรือ CCE (กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรม หรือ RICO และกฎหมายว่าด้วยองค์กรอาชญากรรมต่อเนื่องอาจจะพิจารณารวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกันได้)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่แก้ไขเสร็จสิ้นและมีผลบังคับใช้
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลคดียาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 ซึ่งมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546
8. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งในประเทศ ภูมิภาคและระดับประชาคมโลก ดังนี้
กรอบทวิภาคี
ไทย-พม่า ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่ประเทศพม่า จำนวน 20 ล้านบาท ในโครงการพัฒนาเมืองยองข่า จังหวัดท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า
ไทย-มาเลเซีย ให้คณะเจ้าหน้าที่จากประเทศมาเลเซีย เข้าศึกษาดูงานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ความรู้เทคนิควิชาการ ประสบการณ์ ในการดำเนินการด้านดังกล่าวให้ปรากฏแก่สาธารณชนและสังคมโลก
ไทย-ญี่ปุ่น ความร่วมมือด้านวิชาการกับหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ดำเนินโครงการ The Regional Cooperation Project on Capacity Building of Drug analysis For improvement of drug Law Enforcement in Thailand, CLMV ระหว่างปี 2545 - 2548 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของประเทศไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
การประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดตั้งสำนักงานประสานชายแดน ไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 ณ สำนักงานประสานงานปราบปรามยาเสพติดชายแดนปอยเปต ประเทศกัมพูชา ซึ่งผลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลนำไปสู่การจับกุมเครือข่ายการค้ายาเสพติดรายสำคัญได้
การประชุม "ร่วมมือแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างจังหวัดเชียงราย กับผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีน สปป. ลาว และสหภาพพม่าระดับท้องถิ่น" เมื่อวันที่ 12 - 13 มีนาคม 2546 โดยมีการประชุมร่วม 4 ฝ่าย ไทย - จีน - ลาว - พม่า ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อหารือในเรื่องการสกัดกั้นการลำเลียงสารตั้งต้นยาเสพติดจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค
โครงการควบคุมสารตั้งต้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Precursor Control in East Asia) เพื่อลดการแพร่ระบาดการลักลอบค้าสารตั้งต้น และการผลิตเฮโรอีนและแอมเฟตามีน ในภูมิภาคลดลง ในปีงบประมาณ 2546
โครงการเสริมสร้างการฝึกอบรมด้านการปราบปรามยาเสพติดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Enhancement of Drug Law Enforcement Training in South East Asia) สนับสนุนในการขยายศูนย์พัฒนาความรู้ด้านการปราบปรามยาเสพติดเพิ่มอีก 1 ศูนย์ ในจังหวัดเชียงราย
โครงการสร้างเสริมขีดความสามารถด้านตุลาการและการดำเนินคดียาเสพติด (Strengthening of judicial and Prosecutorial Drug Control Capacity) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย โดยจะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2546
ความร่วมมือในกรอบอาเซียน
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคม 2545 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้รับทราบความร่วมมือในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ายาเสพติด
ความร่วมมือผ่านเวที (Forum) ความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ
การประชุมหัวหน้าหน่วยปราบปรามยาเสพติดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเมื่อวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2545 ร่วมกับโครงการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ได้มีการพิจารณาถึงสถานการณ์ยาเสพติดในภูมิภาค ซึ่งยังมีการลักลอบค้า และการแก้ปัญหาการคุกคามจาก MDMA (Ecstasy) ในภูมิภาค และเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการปราบปรามสารตั้งต้นที่มีประสิทธิภาพ
9. ยุทธศาสตร์การวิจัย พัฒนา และติดตามประเมินผล
การมีข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อชี้สภาวะของปัญหา สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีการศึกษาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
9.1 การศึกษาและประมาณการจำนวนผู้ติดยาเสพติด
สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสถาบันการศึกษา ดำเนินการวิจัยเรื่อง การประมาณการผู้ติดยาเสพติด สามารถประมาณการจำนวนประชากรที่ใช้ยาเสพติด จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้และชนิดของยาได้ และได้ดำเนินโครงการเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างปีงบประมาณ 2546-2547 ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 19 เดือน โดยมีการปรับปรุงแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลทั้ง 3 ชุด
9.2 ระบบข้อมูลยาเสพติดจังหวัด
สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติและมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลยาเสพติดจังหวัด เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติดระยะที่ 2 (พ.ศ. 2546 - 2547) โดยปรับปรุงระบบพร้อมโปรแกรมระบบข้อมูลยาเสพติดให้สมบูรณ์และเป็นไปตามความต้องการของจังหวัด และได้เริ่มให้จังหวัดใช้งานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546
9.3 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้ใช้/ผู้ติดยาเสพติด
สำนักงาน ป.ป.ส. และกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบค้นหา จำแนก ส่งต่อการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพการติดตามผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษา และสรุปผลการดำเนินงานใน 5 จังหวัดนำร่อง
9.4 โครงการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารในเม็ดยาบ้า
ในปี 2546 ได้จัดให้มีการพิจารณาตรวจพิสูจน์ครอบคลุมทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร
9.5 โครงการเครือข่ายวิชาการด้านการติดตามและประเมินผล
สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติดของประเทศ ปีงบประมาณ 2545 ระยะสิ้นสุดแผน (เมษายน 2545 - กันยายน 2545) เรียบร้อยแล้ว
9.6 โครงการประชุมสัมมนาเพื่อศึกษาแนวทางการลดอุปสงค์ยาบ้าของประเทศไทย
เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนานโยบายอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล
9.7 โครงการประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเพิ่มพูนความรู้ ทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนงานวิชาการ สามารถเชื่อมโยงงานวิชาการไปปฏิบัติได้ในชุมชนเพื่อสร้างฐานข้อมูลปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
ด้านบุคลากร การโยกย้ายข้าราชการในพื้นที่ที่มีผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
ด้านงบประมาณ
1. งบประมาณมีไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการตัดโอนงบประมาณในบางกิจกรรม/โครงการของในบางหน่วยงานหลังจากที่มีการบูรณาการแผน
2. กระบวนการจัดสรรและอนุมัติงบประมาณมีความล่าช้า ทำให้ต้องชะลอการดำเนินงานในบางโครงการ เป็นผลให้โครงการต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการบริหารจัดการ
1. ข้อมูลที่ใช้กำหนดในการดำเนินงาน ของแต่ละหน่วยงานไม่ตรงกัน
2. ในบางพื้นที่ยังมีเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและบางส่วนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มีผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่น และความร่วมมือของประชาชนที่จะให้กับรัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
1. ยุทธศาสตร์การปลุกพลังแผ่นดินและการป้องกัน
ในการดำเนินงานมุ่งเน้นงานมวลชนและการให้ความรู้และพิษภัยของยาเสพติดโดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อต้านป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในทุกรูปแบบ สามารถเข้าถึงประชากรเป้าหมายได้ทั้งหมด 1,866,354 คน โครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (TO BE NUMBER ONE) ซึ่งทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ทรงรับเป็นองค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการ ซึ่งโครงการดังกล่าวมีการจัดตั้งชมรม "TO BE NUMBER ONE" จำนวน 136 ชมรม ใน 15 จังหวัด มีสมาชิกชมรม 660,000 คน สำหรับการฝึกอบรมวิทยากรเพื่อเตรียมความพร้อมของบุคลากรในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนใน 76 จังหวัด จาก 889 อำเภอ จำนวน 6,267 คน การสนับสนุนกิจกรรมทางเลือกหรือสันทนาการเพื่อให้เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ และไม่ไปมั่วสุมใช้ยาเสพติด คือการเล่นกีฬา โดยโครงการลานกีฬาต้านยาเสพติด มีการดำเนินการต่อเนื่องใน 36 จังหวัด 770 ล้าน และได้มีการจัดทำแผนปฏิบัติการด้าน Potential Demand หรือกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเด็กและเยาวชนในและนอกสถานศึกษา รวมทั้งกลุ่มผู้ใช้แรงงาน จำนวน 21 ล้านคน และกลุ่มพลังทางสังคมอื่น ๆ ประมาณ 19 ล้านคน
2. ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและสารเคมี
ดำเนินการทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดสกัดกั้นสารตั้งต้น ตัวยาที่ใช้ทดแทนในการผลิตและอุปกรณ์ในการผลิต มีการควบคุมปริมาณการนำเข้า 29,837,767 กิโลกรัม ส่งออก 82,206,026 กิโลกรัม การดำเนินงานสกัดกั้นและปราบปรามยาเสพติดตามแนวชายแดน โดยศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดกองทัพไทย มีการจัดกำลังลาดตระเวน 242 ครั้ง ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจ 482 ครั้ง ปิดล้อมตรวจค้น 144 ครั้ง จับกุม 56 ครั้ง ผู้ต้องหา 69 ราย จำนวนของกลางสำคัญที่ยึดได้ ยาบ้า 88,930 เม็ด ในด้านการจัดระเบียบและเสริมสร้างความมั่นคงของหมู่บ้านชายแดน กอ.รมน. ดำเนินการในหมู่บ้านเป้าหมาย 390 หมู่บ้าน ใน 31 จังหวัดชายแดน และเพื่อไม่ให้ยาเสพติดกลับคืนสู่สังคมได้เผาทำลายยาเสพติดให้โทษของกลาง เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2546 ปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทที่ถูกเผามีน้ำหนักรวม 6.7 ตัน จาก 808 คดี รวมมูลค่าของกลาง 3,470 ล้านบาท
3. ยุทธศาสตร์การปราบปราม
การปราบปรามทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติด จำเป็นที่จะต้องทำลายขบวนการค้าในทุกลักษณะทั้งผู้ผลิต ผู้จำหน่ายในทุกระดับ และผู้เสพ ด้วยการใช้มาตรการทางกฎหมายมาบังคับใช้ สามารถจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดทั่วประเทศ 100,187 คดี ผู้ต้องหา 104,354 คน น้ำหนักของกลางรวม 34,658.26 กิโลกรัม (เป็นของกลางยาบ้า 40,498,900 เม็ด) และมีการจับกุมรายสำคัญ (ของกลางยาบ้าตั้งแต่หนึ่งหมื่นเม็ดขึ้นไป) จำนวน 117 ครั้ง ใน 28 จังหวัด ของกลางยาบ้าที่จับได้ 26,339,974 เม็ด การตรวจสอบทรัพย์สินคดียาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ได้มีคำสั่งยึด/อายัดทรัพย์สิน 442 ราย มูลค่า 357.50 ล้านบาท ทรัพย์สินของกลางตกเป็นของกองทุน 686 ราย มูลค่า 35.50 ล้านบาท สถานะของกองทุน 55.42 ล้านบาท และอนุมัติจ่ายเงินสินบนเป็นค่าตอบแทนความร่วมมือทางราชการแก่ผู้ให้ข่าวและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ 16,223 คดี และจ่ายเงินรางวัลกรณีบาดเจ็บ 14 ราย เสียชีวิต 3 ราย รวมจำนวนเงินสินบน/เงินรางวัลที่จ่ายไปทั้งหมด 56,823,191 บาท นอกจากนี้สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ตัดโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2546 แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด งานปราบปรามยาเสพติด จำนวน 1,635,250 บาท ให้กับกองกำกับการสุนัขตำรวจ กองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจนครบาล จัดทำโครงการ "ฝึกสุนัขไทย ค้นหายาเสพติด" ตามแนวกระแสพระราชดำริ โดยคัดเลือกสุนัขจำนวน 50 ตัว เพื่อเข้ารับการฝึก โดยใช้เวลา 20 สัปดาห์
4. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ
มีการบำบัดรูปแบบคนไข้ในโรงพยาบาล จำนวน 8,363 ราย สำหรับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ต้องขัง กรมราชทัณฑ์ ได้ให้การบำบัดรักษาอย่างจริงจังในหลายรูปแบบ เช่น ชุมชนบำบัด รูปแบบ Care Model รูปแบบผสมผสาน และรูปแบบเข้มข้น ซึ่งผลการดำเนินงานในรูปแบบชุมชนบำบัดในเรือนจำ/ทัณฑสถานทั้งหมด 15,535 คน สำหรับการดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้ติดยาเสพติดตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยกรมคุมประพฤติได้กำหนดแผนการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2546 เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม 2546 ใน 36 จังหวัด และมีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ 728 คน โดยมีประเภทยาเสพติดเมทแอมเฟตามีน (ยาบ้า) มีจำนวนมากที่สุด คือ 584 คน
5. ยุทธศาสตร์การข่าว
มีองค์กรทำหน้าที่ประสานและอำนวยการทางด้านการข่าวอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ มีความสำคัญเทียบเท่าการพัฒนาทางด้านการข่าว เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารที่สามารถชี้เป้าหมายและความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ปัญหา ได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อการปฏิบัติการ ดังนี้
5.1 โครงการสืบสวนหาข่าวการค้ายาเสพติดเกี่ยวกับพฤติการณ์ของกลุ่มนักค้ายาเสพติด โครงสร้างและรูปแบบการค้ายาเสพติด เป้าหมายข่ายงานการค้ายาเสพติดระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับชาติและข้ามชาติ อย่างต่อเนื่อง
5.2 ระบบประสานงานข่าวยาเสพติด ได้แลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวซึ่งกันและกัน และตั้งแต่เดือนตุลาคม 2545 เป็นต้นมา ได้นำข้อมูลข่าวสารยาเสพติดในภูมิภาคจัดเก็บเข้าในระบบ Main Frame จำนวน 350 ข้อมูล และในระบบ PC จำนวน 1,750 ข้อมูล
5.3 โครงการศูนย์อำนวยการร่วมด้านการข่าวยาเสพติด มีการจัดประชุมปฏิบัติการข่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 ครั้ง มีชุดปฏิบัติการข่าว 40 ชุด เพื่อประสานแนวทางการแก้ไขปัญหายาเสพติดและได้ชี้แจงแผนปี 2546 พร้อมทั้งกำหนดพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน
5.4 โครงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลยาเสพติด มีดังนี้
1) งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลหลัก
- นำเข้าและปรับปรุงข้อมูลบุคคลต้องสงสัยและผู้ถูกจับกุมคดียาเสพติด 80,006 คดี
- ตรวจสอบข้อมูลบุคคลที่ถูกจับกุมจากระบบทะเบียนประวัติ 56,569 ข้อมูล
- นำเข้าและปรับปรุงข้อมูล 122,076 ข้อมูล
- ตรวจสอบคุณภาพข้อมูลเพื่อความถูกต้อง 125,683 ข้อมูล
2) งานพัฒนาระบบฐานข้อมูลหนังสือร้องเรียน
- รับเรื่องราวร้องเรียนเกี่ยวกับยาเสพติดจากแหล่งต่าง ๆ 534 ฉบับ
- ประมวลผลข้อมูล แหล่งจำหน่าย เพื่อสนับสนุนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 1,237 ข้อมูล
5.5 การประสานงานการข่าวและปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติด มีการประสานความร่วมมือด้านการข่าวผ่านเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดต่างประเทศที่ประจำในประเทศไทย 21 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สหรัฐอเมริกา แคนาดา เปรู อัฟริกาใต้ อังกฤษ สเปน เยอรมันนี ฝรั่งเศส เนเธอร์แลนด์ เบลเยี่ยม อิตาลี สวีเดน โปแลนด์ อิสราเอล สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินโดนีเซีย และมาเลเซีย กับอีก 2 องค์กร คือองค์กรควบคุมยาเสพติดแห่งสหประชาชาติและหน่วยตำรวจสากล ซึ่งสามารถจับกุมเฮโรอีน 140 กิโลกรัม ในประเทศไทย และขยายผลจับกุม
ผู้เกี่ยวข้องในประเทศพม่า ได้ของกลางทั้งยาเสพติดและสารตั้งต้นจำนวนมาก สำหรับเครือข่ายในประเทศได้ยึดทรัพย์สินเครือข่ายนักค้ายาเสพติดพื้นที่คลองเตยตามกฎหมายฟอกเงิน รวมมูลค่าทรัพย์สินประมาณ 6 ล้านบาท
6. ยุทธศาสตร์การอำนวยการและการประสานงาน
สำนักงาน ป.ป.ส. ในฐานะหน่วยงานกลาง ได้จัดทำและรวบรวมแผนงาน/โครงการความต้องการใช้งบประมาณด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของส่วนราชการ ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการแผนปฏิบัติการทั้ง 10 แผนงาน สำหรับการจัดทำแผนงบประมาณของปี 2547 อยู่ในขั้นตอนการรวบรวมและวิเคราะห์คำของบประมาณ จากหน่วยงานส่วนกลาง 40 หน่วยงาน และหน่วยงานระดับจังหวัด 75 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร และเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2546 นายกรัฐมนตรีได้มอบนโยบาย โดยประกาศสงครามกับยาเสพติดให้มีแผนปฏิบัติการและการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการปฏิบัติงานตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 29-31/2546 ลงวันที่ 28 มกราคม 2546 เพื่อจัดตั้งศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะปัญหายาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) ซึ่งได้จัดประชุม ศตส. โดยมีมติที่ประชุม คือ
1) ให้จังหวัดวางแผนแบบบูรณาการ และให้เพิ่มแผนด้านการพัฒนานอกเหนือจากที่ ศตส. ได้กำหนดไว้แล้ว 10 แผนงาน
2) กำหนดแนวทางการดำเนินการกับผู้มารายงานตัวทั้งผู้เสพ/ผู้ติด/ผู้ค้า และผู้ผลิต และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายร่วมกันอย่างใกล้ชิดในกรณี
- การจำแนกเป้าหมายให้ชัดเจน โดยแบ่งเป็นรายย่อยและรายสำคัญ
- การดำเนินการกับผู้ค้าที่ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตร กอ.รมน. สำหรับผู้ค้ารายย่อยและรายใหญ่ให้พิจารณาเป็นราย ๆ
3) การดำเนินการยึดแนวทางการใช้พลังแผ่นดิน ฯ ซึ่งผสมผสานทุกมาตรการให้ความสำคัญกับการป้องกัน การบำบัดรักษาและปราบปราม ช่วงระยะเวลาที่ประกาศสงครามกับยาเสพติด (1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2546) จะต้องใช้มาตรการปราบปรามนำหน้า โดยจะดำเนินการกับผู้ค้ารายใหญ่ให้เด็ดขาด
7. ยุทธศาสตร์การปรับปรุงกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการ 4 ฉบับ
1) ร่างพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
2) ร่างพระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
3) ร่างพระราชบัญญัติวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
4) ร่างพระราชกฤษฎีกาควบคุมสารคาเฟอีนออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมโภคภัณฑ์ พ.ศ. 2495
การพิจารณาร่างกฎหมายใหม่ 6 ฉบับ
1. พระราชบัญญัติว่าด้วยการต่อรองคำรับสารภาพ หรือ Plea - Bargaining
2. พระราชบัญญัติว่าด้วยการชะลอการฟ้อง
3. พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร
4. พระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองพยานในคดีอาญา พ.ศ. ….
5. พระราชบัญญัติว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรม หรือ RICO (Racketeer Influence and Corrupt Organization Act)
6. พระราชบัญญัติว่าด้วยองค์กรอาชญากรรมต่อเนื่อง หรือ CCE (กฎหมายว่าด้วยการต่อต้านองค์กรอาชญากรรม หรือ RICO และกฎหมายว่าด้วยองค์กรอาชญากรรมต่อเนื่องอาจจะพิจารณารวมเป็นกฎหมายฉบับเดียวกันได้)
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่แก้ไขเสร็จสิ้นและมีผลบังคับใช้
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการจ่ายเงินสินบนและเงินรางวัลคดียาเสพติด (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2546 ซึ่งมีผลบังคับใช้นับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2546
8. ยุทธศาสตร์ความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งในประเทศ ภูมิภาคและระดับประชาคมโลก ดังนี้
กรอบทวิภาคี
ไทย-พม่า ให้ความช่วยเหลือทางด้านวิชาการแก่ประเทศพม่า จำนวน 20 ล้านบาท ในโครงการพัฒนาเมืองยองข่า จังหวัดท่าขี้เหล็ก สหภาพพม่า
ไทย-มาเลเซีย ให้คณะเจ้าหน้าที่จากประเทศมาเลเซีย เข้าศึกษาดูงานการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ความรู้เทคนิควิชาการ ประสบการณ์ ในการดำเนินการด้านดังกล่าวให้ปรากฏแก่สาธารณชนและสังคมโลก
ไทย-ญี่ปุ่น ความร่วมมือด้านวิชาการกับหน่วยงานความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JICA) ดำเนินโครงการ The Regional Cooperation Project on Capacity Building of Drug analysis For improvement of drug Law Enforcement in Thailand, CLMV ระหว่างปี 2545 - 2548 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ตรวจพิสูจน์ยาเสพติดของประเทศไทย กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม
การประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจัดตั้งสำนักงานประสานชายแดน ไทย-พม่า-ลาว-กัมพูชา และจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2545 ณ สำนักงานประสานงานปราบปรามยาเสพติดชายแดนปอยเปต ประเทศกัมพูชา ซึ่งผลจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลนำไปสู่การจับกุมเครือข่ายการค้ายาเสพติดรายสำคัญได้
การประชุม "ร่วมมือแก้ไขปัญหายาเสพติดระหว่างจังหวัดเชียงราย กับผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีน สปป. ลาว และสหภาพพม่าระดับท้องถิ่น" เมื่อวันที่ 12 - 13 มีนาคม 2546 โดยมีการประชุมร่วม 4 ฝ่าย ไทย - จีน - ลาว - พม่า ณ จังหวัดเชียงราย เพื่อหารือในเรื่องการสกัดกั้นการลำเลียงสารตั้งต้นยาเสพติดจากประเทศหนึ่งไปยังอีกประเทศหนึ่ง
ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค
โครงการควบคุมสารตั้งต้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออก (Precursor Control in East Asia) เพื่อลดการแพร่ระบาดการลักลอบค้าสารตั้งต้น และการผลิตเฮโรอีนและแอมเฟตามีน ในภูมิภาคลดลง ในปีงบประมาณ 2546
โครงการเสริมสร้างการฝึกอบรมด้านการปราบปรามยาเสพติดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Enhancement of Drug Law Enforcement Training in South East Asia) สนับสนุนในการขยายศูนย์พัฒนาความรู้ด้านการปราบปรามยาเสพติดเพิ่มอีก 1 ศูนย์ ในจังหวัดเชียงราย
โครงการสร้างเสริมขีดความสามารถด้านตุลาการและการดำเนินคดียาเสพติด (Strengthening of judicial and Prosecutorial Drug Control Capacity) เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย โดยจะสิ้นสุดในเดือนมกราคม 2546
ความร่วมมือในกรอบอาเซียน
การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านยาเสพติด ครั้งที่ 23 เมื่อวันที่ 14-15 ตุลาคม 2545 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้รับทราบความร่วมมือในการป้องกันปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติโดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้ายาเสพติด
ความร่วมมือผ่านเวที (Forum) ความร่วมมือระหว่างประเทศต่าง ๆ
การประชุมหัวหน้าหน่วยปราบปรามยาเสพติดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเมื่อวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2545 ร่วมกับโครงการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศแห่งสหประชาชาติ ได้มีการพิจารณาถึงสถานการณ์ยาเสพติดในภูมิภาค ซึ่งยังมีการลักลอบค้า และการแก้ปัญหาการคุกคามจาก MDMA (Ecstasy) ในภูมิภาค และเป็นการเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของแต่ละประเทศเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ในการปราบปรามสารตั้งต้นที่มีประสิทธิภาพ
9. ยุทธศาสตร์การวิจัย พัฒนา และติดตามประเมินผล
การมีข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างเป็นระบบและเป็นวิทยาศาสตร์เพื่อชี้สภาวะของปัญหา สำนักงาน ป.ป.ส. ได้มีการศึกษาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
9.1 การศึกษาและประมาณการจำนวนผู้ติดยาเสพติด
สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยและสถาบันการศึกษา ดำเนินการวิจัยเรื่อง การประมาณการผู้ติดยาเสพติด สามารถประมาณการจำนวนประชากรที่ใช้ยาเสพติด จำแนกตามระยะเวลาที่ใช้และชนิดของยาได้ และได้ดำเนินโครงการเป็นครั้งที่ 2 ระหว่างปีงบประมาณ 2546-2547 ระยะเวลาการศึกษาประมาณ 19 เดือน โดยมีการปรับปรุงแบบสอบถามในการเก็บข้อมูลทั้ง 3 ชุด
9.2 ระบบข้อมูลยาเสพติดจังหวัด
สำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับกระทรวงมหาดไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติและมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลยาเสพติดจังหวัด เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติดระยะที่ 2 (พ.ศ. 2546 - 2547) โดยปรับปรุงระบบพร้อมโปรแกรมระบบข้อมูลยาเสพติดให้สมบูรณ์และเป็นไปตามความต้องการของจังหวัด และได้เริ่มให้จังหวัดใช้งานตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2546
9.3 โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้ใช้/ผู้ติดยาเสพติด
สำนักงาน ป.ป.ส. และกระทรวงสาธารณสุข ได้จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อชี้แจงการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดการพัฒนาระบบค้นหา จำแนก ส่งต่อการบำบัดรักษาฟื้นฟูสมรรถภาพการติดตามผู้ที่ผ่านการบำบัดรักษา และสรุปผลการดำเนินงานใน 5 จังหวัดนำร่อง
9.4 โครงการตรวจวิเคราะห์หาปริมาณสารในเม็ดยาบ้า
ในปี 2546 ได้จัดให้มีการพิจารณาตรวจพิสูจน์ครอบคลุมทั่วประเทศและกรุงเทพมหานคร
9.5 โครงการเครือข่ายวิชาการด้านการติดตามและประเมินผล
สำนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินการประเมินผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามแผนปฏิบัติการเพื่อเอาชนะยาเสพติดของประเทศ ปีงบประมาณ 2545 ระยะสิ้นสุดแผน (เมษายน 2545 - กันยายน 2545) เรียบร้อยแล้ว
9.6 โครงการประชุมสัมมนาเพื่อศึกษาแนวทางการลดอุปสงค์ยาบ้าของประเทศไทย
เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนานโยบายอย่างเป็นรูปธรรมและสามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิผล
9.7 โครงการประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด
เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเพิ่มพูนความรู้ ทักษะให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด ให้ความสำคัญกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง และให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนงานวิชาการ สามารถเชื่อมโยงงานวิชาการไปปฏิบัติได้ในชุมชนเพื่อสร้างฐานข้อมูลปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน
ด้านบุคลากร การโยกย้ายข้าราชการในพื้นที่ที่มีผลต่อความต่อเนื่องในการดำเนินงาน
ด้านงบประมาณ
1. งบประมาณมีไม่เพียงพอ เนื่องจากมีการตัดโอนงบประมาณในบางกิจกรรม/โครงการของในบางหน่วยงานหลังจากที่มีการบูรณาการแผน
2. กระบวนการจัดสรรและอนุมัติงบประมาณมีความล่าช้า ทำให้ต้องชะลอการดำเนินงานในบางโครงการ เป็นผลให้โครงการต่าง ๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการบริหารจัดการ
1. ข้อมูลที่ใช้กำหนดในการดำเนินงาน ของแต่ละหน่วยงานไม่ตรงกัน
2. ในบางพื้นที่ยังมีเจ้าหน้าที่รัฐ เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติดและบางส่วนละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ มีผลโดยตรงต่อความเชื่อมั่น และความร่วมมือของประชาชนที่จะให้กับรัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-