คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแนวทางและมาตรการในการดำเนินการเกี่ยวกับการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ และให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ให้สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรอง คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมาย) และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการดังนี้
1. ระยะเร่งด่วน
(1) ภารกิจที่สามารถถ่ายโอนได้ทันทีให้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการฯ โดยเร่งด่วน ภารกิจใดที่ต้องปรับให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยในส่วนราชการในสังกัดเร่งดำเนินการถ่ายโอนภารกิจให้เสร็จสิ้นตามกำหนดระยะเวลาโดยด่วน
(2) ให้เร่งรัดและปรับปรุงกระบวนการจัดสรรงบประมาณ
(3) ให้มีการสร้างความพร้อมให้กับท้องถิ่น
(4) ให้พัฒนากระบวนการถ่ายโอน
2. ระยะต่อไป ซึ่งต้องทำควบคู่กันไป
(1) ปรับปรุงกระบวนการจัดสรรงบประมาณ สัดส่วนภาษีและกำหนดประเภทของการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังในเรื่องกระบวนการภาษี
(2) พิจารณายุทธศาสตร์การถ่ายโอน
(3) โครงสร้างขององค์กร สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) ที่ประชุมยืนยันความเห็นว่า ควรจะสังกัดที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปพลาง โดยควรจะพิจารณาปรับเป็นหน่วยงานอิสระระดับกรมหรือองค์กรการมหาชน จะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมกันอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ ให้มีการพิจารณาเรื่องการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจด้วย เนื่องจากขณะนี้การแก้ไขกฎหมาย ดำเนินการไปช้ามาก และมีกฎหมายที่จะต้องแก้ไขประมาณ 100 ฉบับ หากไม่เร่งรัดจะมีปัญหาอุปสรรคอย่างมากในการดำเนินการเรื่องการกระจายอำนาจ
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองคณะที่ 7 สรุปได้ดังนี้
1. การจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุน และรายได้อื่น ๆ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในปี 2549 ต้องมีอัตราไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ฯ ) รับไปพิจารณาด้วยแล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องประสิทธิภาพการใช้เงินและการตรวจสอบการใช้เงินของ อปท. ดังนั้น จึงสมควรนำเอาระบบการบริหารงบประมาณในรูปแบบใหม่ที่กำหนดให้มีสัญญาการให้บริการและการใช้จ่ายงบประมาณมาใช้กับการจัดสรรงบประมาณให้กับ อปท. โดยกำหนดให้มีสัญญาระหว่างราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่น ในการให้บริการและการจัดสรรงบประมาณที่ราชการส่วนกลางสนับสนุน อปท. และควรให้ อปท. เบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้ได้โดยสะดวกและรวดเร็วขึ้นด้วย ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็จะทำให้การกระจายอำนาจเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. การถ่ายโอนบุคลากรที่ยังมีปัญหาอยู่ในปัจจุบันอาจมาจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ อปท. บางแห่งไม่ยอมรับโอนข้าราชการที่มีระดับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนสูง เนื่องจากต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น หรือข้าราชการที่จะโอนไปมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับความต้องการของ อปท. และกรณีข้าราชการหรือลูกจ้างไม่ต้องการโอนไปทำงานที่ อปท. เพราะไม่มั่นใจในสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่ อปท. รัฐควรให้การสนับสนุนงบประมาณด้านเงินเดือน ค่าจ้างฯ ให้แก่ อปท. ตลอดไปจนกว่าบุคคลที่ถ่ายโอนไปนั้นจะเกษียณอายุราชการ และควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้ถ่ายโอนไปยังคงสามารถเป็นสมาชิก กบข. ได้ดังเดิม ส่วนข้าราชการที่ได้ถ่ายโอนไปแล้วควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังเพื่อรองรับสิทธิข้าราชการดังกล่าวไม่ให้ขาดจากการเป็นสมาชิก กบข. ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
ทั้งนี้ การกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการเป็น 2 ระยะ โดยให้สำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการดังนี้
1. ระยะเร่งด่วน
(1) ภารกิจที่สามารถถ่ายโอนได้ทันทีให้เร่งดำเนินการให้เป็นไปตามแผนปฏิบัติการฯ โดยเร่งด่วน ภารกิจใดที่ต้องปรับให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยในส่วนราชการในสังกัดเร่งดำเนินการถ่ายโอนภารกิจให้เสร็จสิ้นตามกำหนดระยะเวลาโดยด่วน
(2) ให้เร่งรัดและปรับปรุงกระบวนการจัดสรรงบประมาณ
(3) ให้มีการสร้างความพร้อมให้กับท้องถิ่น
(4) ให้พัฒนากระบวนการถ่ายโอน
2. ระยะต่อไป ซึ่งต้องทำควบคู่กันไป
(1) ปรับปรุงกระบวนการจัดสรรงบประมาณ สัดส่วนภาษีและกำหนดประเภทของการจัดสรรงบประมาณ ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับกระทรวงการคลังในเรื่องกระบวนการภาษี
(2) พิจารณายุทธศาสตร์การถ่ายโอน
(3) โครงสร้างขององค์กร สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (สกถ.) ที่ประชุมยืนยันความเห็นว่า ควรจะสังกัดที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีไปพลาง โดยควรจะพิจารณาปรับเป็นหน่วยงานอิสระระดับกรมหรือองค์กรการมหาชน จะต้องมีการศึกษาความเหมาะสมกันอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ ให้มีการพิจารณาเรื่องการแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการกระจายอำนาจด้วย เนื่องจากขณะนี้การแก้ไขกฎหมาย ดำเนินการไปช้ามาก และมีกฎหมายที่จะต้องแก้ไขประมาณ 100 ฉบับ หากไม่เร่งรัดจะมีปัญหาอุปสรรคอย่างมากในการดำเนินการเรื่องการกระจายอำนาจ
สำหรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองคณะที่ 7 สรุปได้ดังนี้
1. การจัดสรรงบประมาณให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้มีการจัดสรรภาษีและอากร เงินอุดหนุน และรายได้อื่น ๆ ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในปี 2549 ต้องมีอัตราไม่น้อยกว่า ร้อยละ 35 คณะรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ฯ ) รับไปพิจารณาด้วยแล้ว แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือเรื่องประสิทธิภาพการใช้เงินและการตรวจสอบการใช้เงินของ อปท. ดังนั้น จึงสมควรนำเอาระบบการบริหารงบประมาณในรูปแบบใหม่ที่กำหนดให้มีสัญญาการให้บริการและการใช้จ่ายงบประมาณมาใช้กับการจัดสรรงบประมาณให้กับ อปท. โดยกำหนดให้มีสัญญาระหว่างราชการส่วนกลางกับราชการส่วนท้องถิ่น ในการให้บริการและการจัดสรรงบประมาณที่ราชการส่วนกลางสนับสนุน อปท. และควรให้ อปท. เบิกจ่ายเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรรให้ได้โดยสะดวกและรวดเร็วขึ้นด้วย ซึ่งหากสามารถดำเนินการได้ก็จะทำให้การกระจายอำนาจเกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2. การถ่ายโอนบุคลากรที่ยังมีปัญหาอยู่ในปัจจุบันอาจมาจากสาเหตุสำคัญ 2 ประการ คือ อปท. บางแห่งไม่ยอมรับโอนข้าราชการที่มีระดับตำแหน่งและอัตราเงินเดือนสูง เนื่องจากต้องรับภาระเพิ่มมากขึ้น หรือข้าราชการที่จะโอนไปมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับความต้องการของ อปท. และกรณีข้าราชการหรือลูกจ้างไม่ต้องการโอนไปทำงานที่ อปท. เพราะไม่มั่นใจในสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับ ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาให้แก่ อปท. รัฐควรให้การสนับสนุนงบประมาณด้านเงินเดือน ค่าจ้างฯ ให้แก่ อปท. ตลอดไปจนกว่าบุคคลที่ถ่ายโอนไปนั้นจะเกษียณอายุราชการ และควรกำหนดให้ข้าราชการที่ได้ถ่ายโอนไปยังคงสามารถเป็นสมาชิก กบข. ได้ดังเดิม ส่วนข้าราชการที่ได้ถ่ายโอนไปแล้วควรแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีผลใช้บังคับย้อนหลังเพื่อรองรับสิทธิข้าราชการดังกล่าวไม่ให้ขาดจากการเป็นสมาชิก กบข. ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-