คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมติ ก.พ. เกี่ยวกับมาตรการ เรื่อง การให้โอกาสคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐ ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ รวมทั้งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540 ที่อนุมัติกำหนดเป็นนโยบายให้ส่วนราชการทุกประเภท และรัฐวิสาหกิจถือปฏิบัติให้คนพิการที่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ยังคงมีสิทธิที่จะสมัครสอบแข่งขันหรือคัดเลือกเพื่อบรรจุเป็นข้าราชการพลเรือนหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจได้ดังเช่นบุคคลทั่ว ๆ ไป โดยควรจะได้ดำเนินการด้วยความเสมอภาคตามระบบคุณธรรม ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้กับข้าราชการทุกประเภท รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย หากมีการไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว ก็สามารถร้องเรียนต่อ ก.พ. หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้แล้วแต่กรณี
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า
1. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการได้ขอให้พิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 30 (5) ซึ่งกำหนดคุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนว่า "ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบหรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ." เป็นข้อความที่อาจตีความได้ว่ากีดกันโอกาสคนพิการในการเข้าทำงานในหน่วยงานของภาครัฐ และเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
2. สำนักงาน ก.พ. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ ก.พ. ซึ่ง ก.พ. ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 1/2546 วันที่ 13 มกราคม 2546 แล้วเห็นว่า สาระสำคัญในมาตรา 30 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มิใช่อยู่ที่กายพิการหรือทุพพลภาพ แต่อยู่ที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ดังนั้น บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ได้กีดกันคนพิการหรือทุพพลภาพเข้ารับราชการแต่อย่างใด ประกอบกับสำนักงาน ก.พ. ได้เคยแจ้งเวียนหนังสือ ที่ นร 0708.1/ว 26 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2539 เรื่องการรับคนพิการเข้ารับราชการ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งเวียนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540 เรื่อง การให้โอกาสคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 2. ไว้แล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการยืนยันความเห็นหรือเจตนารมณ์ดังกล่าว จึงเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ. นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ และถือปฏิบัติต่อไป และขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้มาตรการนี้มีผลบังคับใช้กับข้าราชการทุกประเภท รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ หากมีการไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวก็สามารถร้องเรียนต่อ ก.พ. หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้แล้วแต่กรณี
โดยมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันในภาคเอกชนมีกฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้สถานประกอบการเอกชนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องรับคนพิการที่ได้รับการจดทะเบียนเข้าทำงานในสัดส่วนลูกจ้าง 200 คนต่อคนพิการ 1 คน หากไม่ปฏิบัติตามต้องส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-
ทั้งนี้ สำนักงาน ก.พ. เสนอว่า
1. องค์กรที่เกี่ยวข้องกับคนพิการได้ขอให้พิจารณาแก้ไขพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 30 (5) ซึ่งกำหนดคุณสมบัติทั่วไปของผู้ที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนว่า "ไม่เป็นผู้มีกายทุพพลภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ไร้ความสามารถ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบหรือเป็นโรคตามที่กำหนดในกฎ ก.พ." เป็นข้อความที่อาจตีความได้ว่ากีดกันโอกาสคนพิการในการเข้าทำงานในหน่วยงานของภาครัฐ และเป็นการเลือกปฏิบัติ ซึ่งขัดต่อบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540
2. สำนักงาน ก.พ. ได้นำเรื่องดังกล่าวเสนอต่อ ก.พ. ซึ่ง ก.พ. ได้พิจารณาในการประชุมครั้งที่ 1/2546 วันที่ 13 มกราคม 2546 แล้วเห็นว่า สาระสำคัญในมาตรา 30 (5) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มิใช่อยู่ที่กายพิการหรือทุพพลภาพ แต่อยู่ที่ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ดังนั้น บทบัญญัติดังกล่าวจึงไม่ได้กีดกันคนพิการหรือทุพพลภาพเข้ารับราชการแต่อย่างใด ประกอบกับสำนักงาน ก.พ. ได้เคยแจ้งเวียนหนังสือ ที่ นร 0708.1/ว 26 ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2539 เรื่องการรับคนพิการเข้ารับราชการ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้แจ้งเวียนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2540 เรื่อง การให้โอกาสคนพิการเข้าทำงานในหน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจ ตามข้อ 2. ไว้แล้ว ดังนั้น เพื่อเป็นการยืนยันความเห็นหรือเจตนารมณ์ดังกล่าว จึงเห็นควรให้สำนักงาน ก.พ. นำเรื่องนี้เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบ และถือปฏิบัติต่อไป และขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณามีมติให้มาตรการนี้มีผลบังคับใช้กับข้าราชการทุกประเภท รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานของรัฐ และองค์กรอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ หากมีการไม่ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวก็สามารถร้องเรียนต่อ ก.พ. หรือองค์กรที่เกี่ยวข้องได้แล้วแต่กรณี
โดยมีข้อสังเกตว่า ปัจจุบันในภาคเอกชนมีกฎกระทรวง (พ.ศ. 2537) ออกตามความในพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ได้กำหนดให้สถานประกอบการเอกชนที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 200 คนขึ้นไป ต้องรับคนพิการที่ได้รับการจดทะเบียนเข้าทำงานในสัดส่วนลูกจ้าง 200 คนต่อคนพิการ 1 คน หากไม่ปฏิบัติตามต้องส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 พฤษภาคม 2546--จบ--
-ปส-