คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการตามโครงการจักรยานยืมเรียน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ
ทั้งนี้ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2546 นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า ตามที่ได้เดินทางไปเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ทราบว่า แม้รัฐบาลจะได้สนับสนุนการศึกษาโดยการให้มีหนังสือยืมเรียนและไม่เก็บค่าเล่าเรียนแล้วก็ตาม แต่ยังมีภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบอีกด้านหนึ่ง คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนในต่างจังหวัดและในชนบทที่ห่างไกล รัฐจึงควรสนับสนุนให้แต่ละโรงเรียนจัดหาจักรยานให้นักเรียนที่มีความจำเป็นต้องใช้ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ยืมใช้เป็นพาหนะเดินทางและให้ส่งคืนเมื่อจบการศึกษาเพื่อนำไปให้นักเรียนรุ่นต่อไปยืมใช้ในลักษณะเดียวกัน โดยให้กระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาสำรวจจำนวนความต้องการและจัดทำแนวทางการดำเนินการในรายละเอียด รวมทั้งประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
จากการสำรวจพบว่า มีนักเรียนที่ได้รับความเดือดร้อนสมควรได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้น จำนวน 768,624 คน เป็นนักเรียนที่ได้รับความช่วยเหลือเป็นค่าพาหนะเดินทางไปแล้ว จำนวน 172,112 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ซึ่งยังเด็กเกินไปที่จะใช้จักรยานเป็นพาหนะเดินทาง จำนวน 220,612 คน ดังนั้น จึงเป็นนักเรียนที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ โดยให้ยืมจักรยานเป็นพาหนะเดินทางจำนวนทั้งสิ้น 375,900 คน ระยะเวลาในการดำเนินงาน แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ปี คือ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 จัดซื้อจักรยานจำนวน 300,000 คัน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 75,900 คัน
ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ
1. สามารถลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนได้วิธีหนึ่ง ทำให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐที่จะปฏิรูปการศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้ผู้ด้อยโอกาสได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2. ทำให้นักเรียนมีความรักและผูกพันกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ย่อมมีผลต่อการพัฒนาสังคมภายในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น
3. เป็นการกระตุ้นภาวะการใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะอุปกรณ์การผลิตจักรยานส่วนใหญ่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มิถุนายน 2546--จบ--
-ปส-
ทั้งนี้ จากการประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2546 นายกรัฐมนตรีได้เสนอว่า ตามที่ได้เดินทางไปเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ทราบว่า แม้รัฐบาลจะได้สนับสนุนการศึกษาโดยการให้มีหนังสือยืมเรียนและไม่เก็บค่าเล่าเรียนแล้วก็ตาม แต่ยังมีภาระค่าใช้จ่ายที่ผู้ปกครองต้องรับผิดชอบอีกด้านหนึ่ง คือ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงเรียนในต่างจังหวัดและในชนบทที่ห่างไกล รัฐจึงควรสนับสนุนให้แต่ละโรงเรียนจัดหาจักรยานให้นักเรียนที่มีความจำเป็นต้องใช้ แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ยืมใช้เป็นพาหนะเดินทางและให้ส่งคืนเมื่อจบการศึกษาเพื่อนำไปให้นักเรียนรุ่นต่อไปยืมใช้ในลักษณะเดียวกัน โดยให้กระทรวงศึกษาธิการไปศึกษาสำรวจจำนวนความต้องการและจัดทำแนวทางการดำเนินการในรายละเอียด รวมทั้งประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดเสนอต่อคณะรัฐมนตรี
จากการสำรวจพบว่า มีนักเรียนที่ได้รับความเดือดร้อนสมควรได้รับความช่วยเหลือทั้งสิ้น จำนวน 768,624 คน เป็นนักเรียนที่ได้รับความช่วยเหลือเป็นค่าพาหนะเดินทางไปแล้ว จำนวน 172,112 คน เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 3 ซึ่งยังเด็กเกินไปที่จะใช้จักรยานเป็นพาหนะเดินทาง จำนวน 220,612 คน ดังนั้น จึงเป็นนักเรียนที่สมควรได้รับความช่วยเหลือ โดยให้ยืมจักรยานเป็นพาหนะเดินทางจำนวนทั้งสิ้น 375,900 คน ระยะเวลาในการดำเนินงาน แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ปี คือ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 จัดซื้อจักรยานจำนวน 300,000 คัน และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 75,900 คัน
ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้น คือ
1. สามารถลดอัตราการออกกลางคันของนักเรียนได้วิธีหนึ่ง ทำให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาเล่าเรียนในสถานศึกษาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาของรัฐที่จะปฏิรูปการศึกษาให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และให้ผู้ด้อยโอกาสได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2. ทำให้นักเรียนมีความรักและผูกพันกับโรงเรียนมากยิ่งขึ้น ย่อมมีผลต่อการพัฒนาสังคมภายในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น
3. เป็นการกระตุ้นภาวะการใช้จ่ายภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น เพราะอุปกรณ์การผลิตจักรยานส่วนใหญ่ผลิตขึ้นภายในประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 มิถุนายน 2546--จบ--
-ปส-