คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานการต่ออายุสัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
สำหรับเรื่องนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานว่า สัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 แต่ กฟผ. ยังมีความจำเป็นจะต้องใช้วงเงินกู้จำนวนดังกล่าวต่อไป ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า จากลักษณะการดำเนินกิจการของ กฟผ. มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงมาก โดยในปีงบประมาณ 2546จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้นประมาณ 209,183 ล้านบาท รายจ่ายลงทุนตามแผนการลงทุนประมาณ 14,177ล้านบาท รวมทั้งการชำระคืนต้นเงินกู้ตามภาระผูกพันอีกจำนวนประมาณ 22,829 ล้านบาท ซึ่งบางขณะค่าใช้จ่ายทั้ง 3รายการ ถึงกำหนดจ่ายในเวลาไล่เลี่ยกัน อีกทั้งช่วงเวลารับเงินค่าขายกระแสไฟฟ้าและการจ่ายเงินของต้นทุนการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกันบางรายการที่มีจำนวนเงินสูง ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น กฟผ. ต้องจ่ายค่าแก๊ส จำนวนประมาณ5,000 ล้านบาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน แต่กำหนดการรับเงินค่าขายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวนประมาณ 18,000 ล้านบาท ในช่วงต้นเดือนของเดือนถัดไป ทำให้ กฟผ. มีปัญหาขาดแคลนเงินสดระยะสั้นประมาณ 1 - 2 วัน หรือ 1 สัปดาห์ จึงมีความจำเป็นต้องใช้วงเงินกู้ระยะสั้นในการแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้น เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องในการบริหารงาน และสามารถบริหารเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการขอต่ออายุสัญญาเงินกู้ของ กฟผ. ในครั้งนี้ยังอยู่ภายในวงเงินกู้เดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้แล้ว และไม่เป็นภาระแก่กระทรวงการคลังในด้านการค้ำประกัน กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้ กฟผ. ต่ออายุสัญญากู้เงินระยะสั้นแบบCREDIT LINE วงเงิน 9,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขเดิม นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ถึงวันที่ 30พฤษภาคม 2547 โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มิถุนายน 2546--จบ--
-ปส-
สำหรับเรื่องนี้ กระทรวงการคลังได้รายงานว่า สัญญาเงินกู้ระยะสั้นแบบ CREDIT LINE ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 สิ้นสุดอายุสัญญาวันที่ 30 พฤษภาคม 2546 แต่ กฟผ. ยังมีความจำเป็นจะต้องใช้วงเงินกู้จำนวนดังกล่าวต่อไป ซึ่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า จากลักษณะการดำเนินกิจการของ กฟผ. มีความจำเป็นต้องใช้เงินทุนหมุนเวียนสูงมาก โดยในปีงบประมาณ 2546จะมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้นประมาณ 209,183 ล้านบาท รายจ่ายลงทุนตามแผนการลงทุนประมาณ 14,177ล้านบาท รวมทั้งการชำระคืนต้นเงินกู้ตามภาระผูกพันอีกจำนวนประมาณ 22,829 ล้านบาท ซึ่งบางขณะค่าใช้จ่ายทั้ง 3รายการ ถึงกำหนดจ่ายในเวลาไล่เลี่ยกัน อีกทั้งช่วงเวลารับเงินค่าขายกระแสไฟฟ้าและการจ่ายเงินของต้นทุนการผลิตที่เกี่ยวเนื่องกันบางรายการที่มีจำนวนเงินสูง ไม่ได้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น กฟผ. ต้องจ่ายค่าแก๊ส จำนวนประมาณ5,000 ล้านบาท ทุกวันที่ 30 ของเดือน แต่กำหนดการรับเงินค่าขายกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวนประมาณ 18,000 ล้านบาท ในช่วงต้นเดือนของเดือนถัดไป ทำให้ กฟผ. มีปัญหาขาดแคลนเงินสดระยะสั้นประมาณ 1 - 2 วัน หรือ 1 สัปดาห์ จึงมีความจำเป็นต้องใช้วงเงินกู้ระยะสั้นในการแก้ปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้น เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องในการบริหารงาน และสามารถบริหารเงินสดได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการขอต่ออายุสัญญาเงินกู้ของ กฟผ. ในครั้งนี้ยังอยู่ภายในวงเงินกู้เดิมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้แล้ว และไม่เป็นภาระแก่กระทรวงการคลังในด้านการค้ำประกัน กระทรวงการคลังจึงได้อนุมัติให้ กฟผ. ต่ออายุสัญญากู้เงินระยะสั้นแบบCREDIT LINE วงเงิน 9,000 ล้านบาท อายุ 1 ปี ภายใต้เงื่อนไขเดิม นับตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม 2546 ถึงวันที่ 30พฤษภาคม 2547 โดยกระทรวงการคลังไม่ค้ำประกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มิถุนายน 2546--จบ--
-ปส-