คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ การจัดงาน "มหัศจรรย์ภูมิปัญญาเมรัยไทย" ขึ้นในระหว่างวันที่ 20 - 29 มิถุนายน 2546 ณ บริเวณถนนบอนด์สตรีท โครงการเมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ เพื่อยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และผลิตภัณฑ์สุราไทย ทั้งนี้ การจัดงานดังกล่าว มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์การจัดงาน
เพื่อยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีศูนย์จำหน่ายเมรัยไทยที่ถาวรในระยะเวลา 1 ปี เป็นการสร้างโอกาสในการเปิดตลาดเมรัยไทยให้แพร่หลาย รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนเมรัยไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
2. กิจกรรมภายในงาน
2.1 กิจกรรมเกี่ยวกับสาระความรู้ ได้แก่
1) นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับเมรัยพื้นบ้าน เพื่อแสดงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทยที่มีคุณค่าและได้พัฒนาสู่สากล
2) จัดแสดงไวน์ต่างประเทศของบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้ประกอบการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
3) การเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคพบผู้ผลิตโดยตรง
4) การให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคนิคและวิชาการที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการและประชาชน
2.2 การจำหน่ายเมรัยพื้นบ้าน 4 ภาคทั่วประเทศที่ได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)และได้รับการจัดชั้นคุณภาพเพื่อผู้บริโภค รวมถึงการออกร้านจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับเมรัยพื้นบ้าน และซุ้มจำหน่ายอาหารประจำภาค
2.3 การประกาศผลการประกวดสุดยอดไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย ประจำปี 2546
2.4 การประกวดสุดยอดสุราผสมสูตรไทย
2.5 กิจกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงของดนตรีศิลปินพื้นบ้าน ดนตรีท้องถิ่น การแสดงที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของชาวบ้านไทยทุกบ้าน การแสดงของศิลปิน ดารา และการละเล่นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุราพื้นบ้านไทย
2.6 กิจกรรมเสริมภายในงาน เช่น ขบวนแห่วิวัฒนาการสุราไทย กิจกรรมบนถนนศิลปินไทยซุ้มเกมส์ต่าง ๆ
2.7 กิจกรรมพิธีเปิดงานในวันที่ 20 มิถุนายน 2546
2.8 กิจกรรมพิธีปิดและมอบรางวัลสุดยอดไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย สุดยอดสุราผสมสูตรไทยในวันที่ 29 มิถุนายน 2546
3. ผู้เข้าร่วมงาน
3.1 เอกอัตรราชทูตและผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ คือ เอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศไทยเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย ผู้แทนเอกอัครราชทูตอังกฤษ ฝรั่งเศส โรมาเนีย และแอฟริกาใต้
3.2 ผู้บริหารจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และอธิบดีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
3.3 ผู้บริหารจากธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3.4 ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านไทย
3.5 ประชาชนผู้สนใจทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 เมรัยพื้นบ้านไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้บริโภคชาวไทย และเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
4.2 ผู้บริโภคได้บริโภคเมรัยพื้นบ้านไทยที่ได้มาตรฐาน และเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านไทย
4.3 ผู้ประกอบการพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาคุณภาพเมรัยให้ได้มาตรฐาน
4.4 ผู้ประกอบการพื้นบ้านไทยที่เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม มีศูนย์จำหน่ายที่ถาวร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มิถุนายน 2546--จบ--
-ปส-
1. วัตถุประสงค์การจัดงาน
เพื่อยกระดับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ให้สามารถผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และมีศูนย์จำหน่ายเมรัยไทยที่ถาวรในระยะเวลา 1 ปี เป็นการสร้างโอกาสในการเปิดตลาดเมรัยไทยให้แพร่หลาย รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนเมรัยไทย เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
2. กิจกรรมภายในงาน
2.1 กิจกรรมเกี่ยวกับสาระความรู้ ได้แก่
1) นิทรรศการความรู้เกี่ยวกับเมรัยพื้นบ้าน เพื่อแสดงเอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทยที่มีคุณค่าและได้พัฒนาสู่สากล
2) จัดแสดงไวน์ต่างประเทศของบุคคลที่มีชื่อเสียง เพื่อเป็นตัวอย่างให้กับผู้ประกอบการ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพและมาตรฐาน
3) การเปิดโอกาสให้ผู้บริโภคพบผู้ผลิตโดยตรง
4) การให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคนิคและวิชาการที่ถูกต้องแก่ผู้ประกอบการและประชาชน
2.2 การจำหน่ายเมรัยพื้นบ้าน 4 ภาคทั่วประเทศที่ได้การรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.)และได้รับการจัดชั้นคุณภาพเพื่อผู้บริโภค รวมถึงการออกร้านจำหน่ายสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับเมรัยพื้นบ้าน และซุ้มจำหน่ายอาหารประจำภาค
2.3 การประกาศผลการประกวดสุดยอดไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย ประจำปี 2546
2.4 การประกวดสุดยอดสุราผสมสูตรไทย
2.5 กิจกรรมบันเทิง อาทิ การแสดงของดนตรีศิลปินพื้นบ้าน ดนตรีท้องถิ่น การแสดงที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาของชาวบ้านไทยทุกบ้าน การแสดงของศิลปิน ดารา และการละเล่นที่ให้ความรู้เกี่ยวกับสุราพื้นบ้านไทย
2.6 กิจกรรมเสริมภายในงาน เช่น ขบวนแห่วิวัฒนาการสุราไทย กิจกรรมบนถนนศิลปินไทยซุ้มเกมส์ต่าง ๆ
2.7 กิจกรรมพิธีเปิดงานในวันที่ 20 มิถุนายน 2546
2.8 กิจกรรมพิธีปิดและมอบรางวัลสุดยอดไวน์ผลไม้และสุราพื้นบ้านไทย สุดยอดสุราผสมสูตรไทยในวันที่ 29 มิถุนายน 2546
3. ผู้เข้าร่วมงาน
3.1 เอกอัตรราชทูตและผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ คือ เอกอัครราชทูตบราซิลประจำประเทศไทยเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย ผู้แทนเอกอัครราชทูตอังกฤษ ฝรั่งเศส โรมาเนีย และแอฟริกาใต้
3.2 ผู้บริหารจากทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม และอธิบดีกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง
3.3 ผู้บริหารจากธนาคารวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
3.4 ผู้ผลิตสุราพื้นบ้านไทย
3.5 ประชาชนผู้สนใจทั่วไปทั้งชาวไทยและต่างประเทศ
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
4.1 เมรัยพื้นบ้านไทยเป็นที่รู้จักและยอมรับจากผู้บริโภคชาวไทย และเป็นที่รู้จักของชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
4.2 ผู้บริโภคได้บริโภคเมรัยพื้นบ้านไทยที่ได้มาตรฐาน และเป็นการยกระดับผลิตภัณฑ์พื้นบ้านไทย
4.3 ผู้ประกอบการพื้นบ้านมีความรู้ความเข้าใจและมีความกระตือรือร้นในการพัฒนาคุณภาพเมรัยให้ได้มาตรฐาน
4.4 ผู้ประกอบการพื้นบ้านไทยที่เป็นผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม มีศูนย์จำหน่ายที่ถาวร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มิถุนายน 2546--จบ--
-ปส-