คณะรัฐมนตรีรับทราบโครงการเร่งรัดการตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาล ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล พิจารณามาตรการและแนวทางเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 และวันที่ 22 เมษายน 2546 เรื่อง ปัญหาการใช้น้ำบาดาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 แนวทาง ดังนี้
1. ด้านนโยบาย
1.1 ไม่อนุญาตให้เจาะและใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีน้ำประปาบริการได้อย่างเพียงพอ
1.2 กรณีที่ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุลง จะไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลทุกรายทุกประเภท โดยแจ้งผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความประสงค์จะใช้น้ำบาดาลต่อไปว่ามีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
1.3 กรณีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลยังไม่สิ้นอายุจะดำเนินการตามกฎหมายน้ำบาดาลเพื่อเพิกถอนใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้เสร็จสิ้นภายในปลายปี พ.ศ. 2546 ซึ่งในขณะนี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รวบรวมรายละเอียดผู้ใช้น้ำบาดาลที่อยู่ในข่าย จะต้องเพิกถอนใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2,829 บ่อ ปริมาณน้ำบาดาล898,934 ลบ.ม./วัน
1.4 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลทราบถึงการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2546 เป็นต้นไป
2. ด้านวิชาการ
ได้จัดประชุมหน่วยงานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่รับผิดชอบด้านวิชาการน้ำบาดาล คือ สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดตั้งคณะทำงาน 2 คณะ คือ
2.1 คณะทำงานจัดทำแผนงาน กำกับ ดูแล เขตอนุรักษ์และรักษาพื้นที่บริเวณต้นน้ำบาดาล
2.2 คณะทำงานจัดทำเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
3. ด้านการปฏิบัติการ
เพื่อให้การดำเนินการด้านกำกับ ดูแล การประกอบกิจการน้ำบาดาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการ ดังนี้
1) แต่งตั้งคณะทำงานปรับลดปริมาณการใช้น้ำบาดาล การบริหารการจัดการเกี่ยวกับน้ำบาดาล ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดมาตรการและแนวทางการใช้น้ำบาดาล
2) แต่งตั้งคณะทำงานจัดการน้ำบาดาลเพื่อการอุตสาหกรรม
3) แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาล เพื่อเร่งรัดการตรวจสอบการลักลอบเจาะและใช้น้ำบาดาล
4) มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 8 ชุด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ จำนวน 147 คน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2546 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ผลการตรวจสอบปรากฏว่าตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลได้ 3,136 ราย ในจำนวนนี้พบว่าเป็นบ่อที่ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุ 435 ราย และไม่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล 160 ราย ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการกับผู้ใช้น้ำบาดาลที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องแล้ว 351 ราย ที่เหลือนอกนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมาย และจากการดำเนินการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถจัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า15 ล้านบาทต่อปี
3.1 เป้าหมายในการปฏิบัติการ
1) ตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้ลักลอบเจาะ และใช้น้ำบาดาล
2) ดำเนินการปิดบ่อน้ำบาดาลที่ใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนราชการและองค์กรของรัฐการใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคในโรงงานอุตสาหกรรม และการใช้น้ำในกระบวนการผลิตในส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำประปา รวมทั้งการอุดกลบบ่อน้ำบาดาลที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง และไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของชั้นน้ำบาดาล และสภาพแวดล้อมในบริเวณดังกล่าว ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง
3) ปรับลดปริมาณการใช้น้ำบาดาลเฉพาะที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในกระบวนการผลิต และการใช้น้ำบาดาลเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยให้ใช้น้ำบาดาลเท่าที่จำเป็นต่อการผลิตเท่านั้น
4) ดำเนินการตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในพื้นที่วิกฤตการณ์น้ำบาดาล 7 จังหวัดและพื้นที่เขตน้ำบาดาลจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินการในข้อ 3 ด้านการปฏิบัติการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดให้มีการประชุมสัมมนากลุ่ม โดยระดมสมองในทุกภาคของประเทศ จัดทำโครงการเร่งรัดตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลเพื่อใช้ในการปฏิบัติการเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ นอกเหนือจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่เขตน้ำบาดาลกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลรับทราบข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
2. เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
3. เพื่อพัฒนาและควบคุมการใช้น้ำบาดาลอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
4. เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ และปลุกจิตสำนึกของทุกคนให้มีส่วนร่วมในการใช้น้ำบาดาลอย่างอนุรักษ์และยั่งยืน
5. เพื่อการจัดเก็บฐานข้อมูลบ่อน้ำบาดาลระดับจังหวัดทั่วประเทศ และนำมาใช้ในการวางแผนการใช้ และการพัฒนาน้ำบาดาลต่อไป
อนึ่ง ภายหลังจากการดำเนินการตามโครงการเร่งรัดการตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลเสร็จสิ้นแล้ว คาดหมายว่าจะสามารถนำบ่อน้ำบาดาลเข้ามาสู่ระบบโดยถูกต้องตามกฎหมายได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 บ่อ ซึ่งนอกจากจะทำให้บริหารจัดการน้ำบาดาลเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการโดยไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถนำรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 200,000,000 บาทต่อปีอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กรกฎาคม 2546--จบ--
-พห-
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า ได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล พิจารณามาตรการและแนวทางเพื่อดำเนินการให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 และวันที่ 22 เมษายน 2546 เรื่อง ปัญหาการใช้น้ำบาดาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 3 แนวทาง ดังนี้
1. ด้านนโยบาย
1.1 ไม่อนุญาตให้เจาะและใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ที่มีน้ำประปาบริการได้อย่างเพียงพอ
1.2 กรณีที่ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุลง จะไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลทุกรายทุกประเภท โดยแจ้งผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลที่มีความประสงค์จะใช้น้ำบาดาลต่อไปว่ามีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาต
1.3 กรณีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลยังไม่สิ้นอายุจะดำเนินการตามกฎหมายน้ำบาดาลเพื่อเพิกถอนใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลให้เสร็จสิ้นภายในปลายปี พ.ศ. 2546 ซึ่งในขณะนี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้รวบรวมรายละเอียดผู้ใช้น้ำบาดาลที่อยู่ในข่าย จะต้องเพิกถอนใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลเสร็จเรียบร้อยแล้ว จำนวน 2,829 บ่อ ปริมาณน้ำบาดาล898,934 ลบ.ม./วัน
1.4 กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลทราบถึงการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน 2546 เป็นต้นไป
2. ด้านวิชาการ
ได้จัดประชุมหน่วยงานของกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ที่รับผิดชอบด้านวิชาการน้ำบาดาล คือ สำนักอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรน้ำบาดาล สำนักสำรวจและประเมินศักยภาพน้ำบาดาล ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยได้จัดตั้งคณะทำงาน 2 คณะ คือ
2.1 คณะทำงานจัดทำแผนงาน กำกับ ดูแล เขตอนุรักษ์และรักษาพื้นที่บริเวณต้นน้ำบาดาล
2.2 คณะทำงานจัดทำเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
3. ด้านการปฏิบัติการ
เพื่อให้การดำเนินการด้านกำกับ ดูแล การประกอบกิจการน้ำบาดาลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการ ดังนี้
1) แต่งตั้งคณะทำงานปรับลดปริมาณการใช้น้ำบาดาล การบริหารการจัดการเกี่ยวกับน้ำบาดาล ซึ่งประกอบด้วย หน่วยงานจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อกำหนดมาตรการและแนวทางการใช้น้ำบาดาล
2) แต่งตั้งคณะทำงานจัดการน้ำบาดาลเพื่อการอุตสาหกรรม
3) แต่งตั้งคณะกรรมการเร่งรัดการตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาล เพื่อเร่งรัดการตรวจสอบการลักลอบเจาะและใช้น้ำบาดาล
4) มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 8 ชุด ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ จำนวน 147 คน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2546 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2546 ผลการตรวจสอบปรากฏว่าตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลได้ 3,136 ราย ในจำนวนนี้พบว่าเป็นบ่อที่ใบอนุญาตใช้น้ำบาดาลสิ้นอายุ 435 ราย และไม่มีใบอนุญาตใช้น้ำบาดาล 160 ราย ซึ่งกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการกับผู้ใช้น้ำบาดาลที่ปฏิบัติไม่ถูกต้องแล้ว 351 ราย ที่เหลือนอกนั้นอยู่ระหว่างการดำเนินการตามกฎหมาย และจากการดำเนินการดังกล่าวคาดว่าจะสามารถจัดเก็บค่าใช้น้ำบาดาลได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า15 ล้านบาทต่อปี
3.1 เป้าหมายในการปฏิบัติการ
1) ตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้ลักลอบเจาะ และใช้น้ำบาดาล
2) ดำเนินการปิดบ่อน้ำบาดาลที่ใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนราชการและองค์กรของรัฐการใช้น้ำบาดาลเพื่อการอุปโภคบริโภคในโรงงานอุตสาหกรรม และการใช้น้ำในกระบวนการผลิตในส่วนที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการใช้น้ำประปา รวมทั้งการอุดกลบบ่อน้ำบาดาลที่ถูกปล่อยทิ้งร้าง และไม่สามารถหาผู้รับผิดชอบได้ ซึ่งหากไม่รีบดำเนินการจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพของชั้นน้ำบาดาล และสภาพแวดล้อมในบริเวณดังกล่าว ตลอดจนพื้นที่ใกล้เคียงอย่างต่อเนื่อง
3) ปรับลดปริมาณการใช้น้ำบาดาลเฉพาะที่ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในโรงงานอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบในกระบวนการผลิต และการใช้น้ำบาดาลเป็นวัตถุดิบในการผลิต โดยให้ใช้น้ำบาดาลเท่าที่จำเป็นต่อการผลิตเท่านั้น
4) ดำเนินการตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลในพื้นที่วิกฤตการณ์น้ำบาดาล 7 จังหวัดและพื้นที่เขตน้ำบาดาลจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ
อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การดำเนินการในข้อ 3 ด้านการปฏิบัติการ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้จัดให้มีการประชุมสัมมนากลุ่ม โดยระดมสมองในทุกภาคของประเทศ จัดทำโครงการเร่งรัดตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลเพื่อใช้ในการปฏิบัติการเพิ่มขึ้นทุกจังหวัดทั่วประเทศ นอกเหนือจากที่ได้ดำเนินการไปแล้วในพื้นที่เขตน้ำบาดาลกรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไป และผู้ประกอบกิจการน้ำบาดาลรับทราบข้อมูลข่าวสารของทางราชการ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
2. เพื่อเป็นการป้องกันและปราบปรามการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520
3. เพื่อพัฒนาและควบคุมการใช้น้ำบาดาลอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และเกิดประโยชน์สูงสุด
4. เพื่อสร้างความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการ และปลุกจิตสำนึกของทุกคนให้มีส่วนร่วมในการใช้น้ำบาดาลอย่างอนุรักษ์และยั่งยืน
5. เพื่อการจัดเก็บฐานข้อมูลบ่อน้ำบาดาลระดับจังหวัดทั่วประเทศ และนำมาใช้ในการวางแผนการใช้ และการพัฒนาน้ำบาดาลต่อไป
อนึ่ง ภายหลังจากการดำเนินการตามโครงการเร่งรัดการตรวจสอบการประกอบกิจการน้ำบาดาลเสร็จสิ้นแล้ว คาดหมายว่าจะสามารถนำบ่อน้ำบาดาลเข้ามาสู่ระบบโดยถูกต้องตามกฎหมายได้ไม่ต่ำกว่า 8,000 บ่อ ซึ่งนอกจากจะทำให้บริหารจัดการน้ำบาดาลเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามหลักวิชาการโดยไม่ให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถนำรายได้เข้ารัฐเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 200,000,000 บาทต่อปีอีกด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 กรกฎาคม 2546--จบ--
-พห-