แต่งตั้ง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday October 5, 2011 16:05 —มติคณะรัฐมนตรี

1. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) (สำนักนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งนายอาณัติ วิลาสินีวรรณ ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณเชี่ยวชาญ) สำนักงบประมาณ ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ (นักวิเคราะห์งบประมาณทรงคุณวุฒิ) สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2554 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป และให้ผู้ที่ได้รับแต่งตั้งพ้นจากตำแหน่ง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เนื่องจากครบเกษียณอายุราชการต่อไป

2. แต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุน ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายบุญนริศร์ สุวรรณพูล รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ เป็นกรรมการในคณะกรรมการบริหารกองทุน ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 แทนตำแหน่งที่ว่างลง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

3. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง ตำแหน่งอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายธีระพงษ์ โสดาศรี รองอธิบดี (นักบริหาร ระดับต้น) กรมประชาสัมพันธ์ ให้ดำรงตำแหน่งอธิบดี (นักบริหาร ระดับสูง) กรมประชาสัมพันธ์ สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ผู้ครองตำแหน่งเดิมเกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

4. ขอรับโอนข้าราชการมาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอรับโอน พลตำรวจเอก วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ มาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ) ในฐานะรัฐมนตรีเจ้าสังกัดกำกับการบริหารราชการแทนนายกรัฐมนตรีสำหรับสภาความมั่นคงแห่งชาติ และรองนายกรัฐมนตรี (ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง) ในฐานะกำกับการบริหารราชการและสั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีสำหรับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ให้ความเห็นชอบในการรับโอนและการโอนด้วยแล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

5. แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ตามมาตรา 13 (6) มาตรา 48 (9) โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ตามลำดับ ดังต่อไปนี้

1. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

1) นางสมศรี เผ่าสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประกันสุขภาพ

2) นายจรัล ตฤณวุฒิพงษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุข

3) นายพิพัฒน์ ยิ่งเสรี ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์แผนไทย

4) นายพินิจ หิรัญโชติ ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ทางเลือก

5) นางวรานุช หงสประภาส ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินการคลัง

6) นายเสงี่ยม บุญจันทร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย

7) นาวาอากาศเอก (พิเศษ) อิทธพร คณะเจริญ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมศาสตร์

2. ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข

1) พันเอก (พิเศษ) กิฎาพล วัฒนกูล ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ครอบครัว

2) ศาสตราจารย์รณชัย คงสกนธ์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาจิตเวช

3) นางรุจิรางค์ แอกทอง ผู้เชี่ยวชาญสาขาการแพทย์แผนไทย

4) นายสมใจ โตศุกลวรรณ์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น

5) นายชาตรี บานชื่น ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น

6) นายยุทธ โพธารามิก ผู้เชี่ยวชาญสาขาอื่น

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป โดยยกเว้นกรณีนายพิพัฒน์ ยิ่งเสรี ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขไปดำเนินการตามข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ส่วนในกรณีนายสมใจ โตศุกลวรรณ์ ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการอัยการเป็นต้นไป

6. แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง จำนวน 6 ราย ดังนี้

1. นายธงชัย ซึงถาร สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์) ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

2. นายทวีเกียรติ บุญยไพศาลเจริญ สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์) ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

3. นายธวัชชัย กมลธรรม สาธารณสุขนิเทศก์ (นายแพทย์) ประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

4. นายประดิษฐ์ วินิจจะกูล รองอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับต้น กรมอนามัย ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

5. น.ต.บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ รองอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับต้น กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

6. นายเจษฎา โชคดำรงสุข รองอธิบดี (นักบริหาร) ประเภทบริหาร ระดับต้น กรมการแพทย์ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการกระทรวง) ประเภทบริหาร ระดับสูง สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

7. แต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งนายวรพล โสคติยานุรักษ์ เป็นเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (เลขาธิการสำนักงาน ก.ล.ต.) โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป ซึ่งเป็นไปตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2551 (มาตรา 20)

8. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง กระทรวงมหาดไทย

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอแต่งตั้ง นายสุกิจ เจริญรัตนกุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง (ผู้ตรวจราชการสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงมหาดไทย ให้ดำรงตำแหน่ง อธิบดี (นักบริหารสูง) กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2554 เพื่อทดแทนผู้เกษียณอายุราชการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

9. แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักนายกรัฐมนตรี)

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งข้าราชการการเมือง ในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1. แต่งตั้ง นายสุรชัย ภู่ประเสริฐ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง (รองนายกรัฐมนตรี นายชุมพล ศิลปอาชา)

2. แต่งตั้ง นาวาเอก วิโรจน์ วังแก้วหิรัญ ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี

10.แต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี จำนวน 4 ราย ดังนี้ 1. นายสถิรพร นาคสุข 2. นายวงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์ 3. นายสมบัติ คุรุพันธ์ 4. นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้งและมอบหมายให้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงใดกระทรวงหนึ่งเป็นต้นไป

11.แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง (กระทรวงศึกษาธิการ)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ดังนี้

1. ขอยกเลิกการแต่งตั้งข้าราชการที่เสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2554 จำนวน 2 ราย ได้แก่ รายที่ 3 นายประเสริฐ บุญเรือง และ รายที่ 4 นายพิษณุ ตุลสุข ส่วนอีก 9 ราย ขอยืนยันการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตามที่เสนอขอไว้เดิม

2. แต่งตั้งข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหาร ระดับสูง ใหม่ จำนวน 2 ราย ได้แก่

2.1 นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

2.2 นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (นักบริหาร ระดับสูง) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นต้นไป

12.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงศึกษาธิการ)

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ธเนศวร์ เจริญเมือง ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

13.แต่งตั้งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอแต่งตั้ง นายวารุจ ศิริวัฒน์ เป็นข้าราชการการเมือง ตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป

14.แต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงานเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการอื่นในคณะกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อดังต่อไปนี้ 1. นายพรชัย รุจิประภา ประธานกรรมการ 2. นายคุรุจิต นาครทรรพ กรรมการ 3. นายตระกูล วินิจนัยภาค กรรมการ 4. นายสุกิจ เจริญรัตนกุล กรรมการ 5. นายปรเมธี วิมลศิริ กรรมการ 6. นายประวิช สารกิจปรีชา กรรมการ 7. นายกุลิศ สมบัติศิริ กรรมการ 8. นายแล ดิลกวิทยรัตน์ กรรมการ 9. นายอริยวิชย เอกอุฬารพันธ์ กรรมการ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2554 เป็นต้นไป ยกเว้นลำดับที่ 3 ให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะกรรมการอัยการให้ความเห็นชอบ

15.มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบเร่งรัด กำกับ ติดตามการกู้วิกฤตจากภัยธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วนเพิ่มเติม

คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 175/2554 เรื่อง มอบหมายรัฐมนตรีรับผิดชอบเร่งรัด กำกับ ติดตามการกู้วิกฤตจากภัยธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน เพิ่มเติม

ตามที่ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 157/2554 ลงวันที่ 12 กันยายน 2554 มอบหมายรัฐมนตรีรับผิดชอบเร่งรัด กำกับ ติดตามการกู้วิกฤตจากภัยธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน เพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะกรรมการอำนวยการและบริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (ศอส.) และเสริมการทำงานผู้ว่าราชการจังหวัด ให้สามารถแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยพิบัติจากธรรมชาติได้คลี่คลายโดยเร็วแล้ว นั้น เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ อุทกภัยได้แผ่ขยายและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น โดยมีจังหวัดที่อยู่ในสถานการณ์หนักมากจำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ สุพรรณบุรี ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) (9) และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

1. มอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบเร่งรัด กำกับ ติดตามการกู้ภัยธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน เพิ่มเติม โดยแบ่งเป็นพื้นที่รายจังหวัด

2. ให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีประจำเขตตรวจราชการต่าง ๆ ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 168/2554 ลงวันที่ 22 กันยายน 2554 เป็นฝ่ายเลขานุการของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงทุกกระทรวง เป็นฝ่ายเลขานุการของรัฐมนตรีในแต่ละกระทรวง ที่รับผิดชอบเร่งรัด กำกับ ติดตามการกู้วิกฤตจากภัยธรรมชาติฯ ตามคำสั่งนี้ และตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 157/2554 ลงวันที่ 12 กันยายน 2554

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 29 กันยายน 2554 เป็นต้นไป

การมอบหมายให้รัฐมนตรีรับผิดชอบเร่งรัด กำกับ ติดตามการกู้วิกฤตจากภัยธรรมชาติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน

ตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 175 /2554 ลงวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554 เรื่อง มอบหมายรัฐมนตรีรับผิดชอบเร่งรัด กำกับ ติดตามการกู้วิกฤตจากภัยธรรมชาติเพื่อช่วยเหลือประชาชนโดยเร่งด่วน เพิ่มเติม

             ที่    จังหวัด                   รายชื่อรัฐมนตรี
             1    จังหวัดเชียงใหม่            นายปรีชา  เร่งสมบูรณ์สุข

นายบุญทรง เตริยาภิรมย์

             2    จังหวัดเพชรบูรณ์            นายสุรวิทย์  คนสมบูรณ์
             3    จังหวัดพิษณุโลก             นายพิชัย  นริพทะพันธุ์
             4    จังหวัดพิจิตร               นายศิริวัฒน์  ขจรประศาสน์
             5    จังหวัดนครสวรรค์           นายสันติ พร้อมพัฒน์
             6    จังหวัดสุพรรณบุรี            นายชุมพล ศิลปอาชา
             7    จังหวัดชัยนาท              นายธีระ  วงศ์สมุทร

นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์

             8    จังหวัดอุทัยธานี             น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ
             9    จังหวัดสิงห์บุรี              พล.ต.ท.ชัจจ์  กุลดิลก
             10   จังหวัดอ่างทอง             นางสาวกฤษณา สีหลักษณ์
             11   จังหวัดลพบุรี               นายธีรชัย ภูวนาถนรานุบาล

นายต่อพงษ์ ไชยสาสน์

12 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายวิทยา บุรณศิริ

16.ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ต่อนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตย

คณะรัฐมนตรีรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 179 / 2554 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (ปคอป.) ดังนี้

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. 2553 ได้กำหนดให้มีคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เพื่อตรวจสอบและค้นหาความจริงและข้อเท็จจริงที่รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรงให้ปรากฏเป็นที่ประจักษ์ถึงสาเหตุของปัญหา โดยมีเป้าหมายที่จะให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบอันจะนำไปสู่การป้องกันความรุนแรงไม่ให้เกิดซ้ำอีกในอนาคต และส่งเสริมความปรองดองของประเทศชาติในระยะยาวต่อไป ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2554 คอป. ได้จัดทำข้อเสนอแนะต่อนโยบายสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตยเพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อมอบให้รัฐบาลรับไปพิจารณาให้เป็นรูปธรรม รวม 7 ประการ เพื่อสร้างบรรยากาศการปรองดองของประเทศให้ดำเนินการไปอย่างต่อเนื่อง

รัฐบาลเห็นว่าการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของคนในชาติและฟื้นฟูประชาธิปไตยเป็นนโยบายเร่งด่วนที่จะเริ่มดำเนินการในปีแรกตามนโยบายที่ได้แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 23-25 สิงหาคม 2554 เนื่องจากเป็นที่ตระหนักแล้วว่าการบริหารราชการแผ่นดิน การแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจ การรักษาความมั่นคงแห่งรัฐและการพัฒนาประเทศ ไม่อาจดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพท่ามกลางความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคม และคณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 ได้มีมติรับทราบข้อเสนอแนะของ คอป. รวม 7 ประการดังกล่าว และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ) รับข้อเสนอแนะของ คอป. ไปพิจารณาดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับผลกระทบและความเสียหายได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม เป็นไปตามหลักนิติธรรมและความเสมอภาค เพื่อนำไปสู่ความปรองดองและความสมานฉันท์ของคนในชาติต่อไป

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2554 นายกรัฐมนตรีจึงมีคำสั่งดังต่อไปนี้

1. ให้แต่งตั้งคณะกรรมการประสานและติดตามผลการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการอิสระ ตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติเรียกโดยย่อว่า “ปคอป.” ประกอบด้วย นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม เป็นรองประธานกรรมการ กรรมการประกอบด้วย เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ปลัดกระทรวงการกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงยุติธรรม ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนสำนักงานศาลยุติธรรม ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับและ ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย และนายวีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ โดยมีปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ รองปลัดกระทรวงยุติธรรมที่ปลัดกระทรวงยุติธรรมมอบหมาย เป็นกรรมการและผู้ช่วยกรรมการ

2. ให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้

2.1 พิจารณารายละเอียดข้อเสนอแนะของ คอป. เพื่อมอบหมายการดำเนินการให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไปโดยเร็ว

2.2 เสนอแนะมาตรการเพื่อเสริมสร้างความเข้าใจและสนับสนุนการดำเนินงานตามข้อเสนอแนะของ คอป. โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำหลักความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน (Transitional Justice) และความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative Justice) มาใช้เป็นกลไกเสริมกระบวนการยุติธรรมกระแสหลัก ซึ่งมีข้อจำกัดในการจัดการกับปัญหาความขัดแย้งที่มีสาเหตุและลักษณะที่ซับซ้อน เพื่อแก้ไขปัญหาและประคับประคองสังคมในช่วงเวลาที่มีการเปลี่ยนผ่านจากความขัดแย้งของคนในสังคมไปสู่สันติภาพและความมั่นคง

2.3 เสนอแนะมาตรการ กลไก และวิธีการเพื่อส่งเสริมให้การเยียวยาและฟื้นฟูเหยื่อและผู้เสียหายตลอดจนผู้ที่ได้รับผลกระทบจากความรุนแรงหรือความขัดแย้งทางการเมืองทุกฝ่ายอย่างทั่วถึงและต่อเนื่อง ทั้งระยะสั้นและระยะยาวเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่จะให้เกิดความปรองดองในระยะยาว

2.4 ขอความร่วมมือหรือประสานงานกับ คอป. หน่วยงานของรัฐ เอกชน ตลอดจนบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตามข้อเสนอแนะของ คอป.

2.5 ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานต่างๆ ตามข้อเสนอแนะของ คอป. เป็นระยะพร้อมทั้งเสนอปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไข

2.6 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือบุคคล เพื่อดำเนินการใดหรือตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย

2.7 เรียกให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ส่งข้อมูลหรือเอกสารใดๆ หรือเชิญเจ้าหน้าที่ของรัฐมาให้ข้อมูลหรือแสดงความคิดเห็นต่อคณะกรรมการฯ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงาน

2.8 ดำเนินการอื่นที่จำเป็น เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่บรรลุผลสำเร็จ

3. ในการเสนอแนะการดำเนินการ มาตรการ วิธีการ หรือข้อแนะนำ ตลอดจนมีปัญหาขัดข้องในการดำเนินการเรื่องใด ให้ประธานกรรมการรายงานนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาสั่งการหรือสั่งให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา

4. ให้คณะกรรมการฯ ดังกล่าว ได้รับค่าตอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ในคราวที่มีการประชุมในอัตรา ประธานกรรมการ 10,000 บาท รองประธานกรรมการ 9,000 บาท และกรรมการ 8,000 บาท และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานและการบริหารจัดการอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของคณะกรรมการฯ หรือตามที่คณะกรรมการฯ มอบหมาย ให้เบิกจ่ายตามระเบียบของทางราชการ โดยให้เบิกจ่ายจากงบประมาณของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ ตั้งแต่ วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2554 เป็นต้นไป

--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 4 ตุลาคม 2554--จบ--


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ