คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานการดำเนินการป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนนักศึกษาก่อการทะเลาะวิวาท วันที่ 30 สิงหาคม 2546 (มหกรรมคอนเสิร์ตทรัพย์สินทางปัญญา) ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ดังนี้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาทในการจัดงานคอนเสิร์ตการกุศลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทำให้มีนักเรียนเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2546 โดยมีผลสรุป ดังนี้
1. นักศึกษาที่ตำรวจจับตัวไปได้ให้พิจารณาโทษ ผู้ทำผิดที่เป็นหัวโจกให้เป็นไปตามกฎหมาย สำหรับนักศึกษาที่เข้าร่วมกระบวนการด้วยให้ส่งไปฝึกอบรมที่สถานพินิจ เพื่อฝึกระเบียบวินัย และให้เชิญผู้ปกครองมาตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมดูแลนักเรียน
2. มอบสารวัตรนักเรียน ประสานตำรวจขอรายชื่อนักเรียนและสถานศึกษาที่ก่อเหตุในคอนเสิร์ต และจัดทำบัญชีรายชื่อในโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งรายชื่อนักเรียนเพื่อเฝ้าติดตามคุมประพฤติอย่างใกล้ชิดมีระบบโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ทันที และให้รายชื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงให้ตำรวจเยี่ยมถึงบ้าน
3. ให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการซึ่งดูแลเขตกรุงเทพมหานคร และผู้ตรวจเขตการศึกษา 1 - 3 ในกรุงเทพ มหานคร เจ้าหน้าที่ สช. สพฐ. สอศ. สกอ. และสารวัตรนักเรียนลงพื้นที่ในโรงเรียนเกิดเหตุเพื่อจัดทำฐานข้อมูล ศึกษามูลเหตุและข้อเสนอแนะจัดประชุมสถานศึกษา ให้จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
4. ให้ สช. สพฐ. สอศ. สกอ. และให้กำชับระยะเวลาให้ผู้บริหารเร่งปรับปรุงตรวจสอบทุกเดือนเพื่อติดตามการพัฒนาคุณภาพไปสู่การประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพโดย สมศ. และให้มีการจัดประชุมโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงทุก 3 เดือน เพื่อป้องกันเหตุ
5. กระทรวงศึกษาธิการกำลังเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความร่วมมือสื่อช่วยนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างกระแสสังคมให้ครอบครัวและสังคมเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานให้ความรักความอบอุ่น
6. สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน จัดประชุมปฏิบัติการในวันที่ 2 กันยายน 2546เพื่อจัดระบบการป้องกันการใช้ความรุนแรงของเด็ก โดยร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูแลด้านจิตใจ
7. กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มจัดโครงการสานสายใยครูและศิษย์ เพื่อให้นักเรียนได้รับความเอาใจใส่ดูแลอย่างเป็นระบบ โดยได้รับงบกลางจากรัฐบาล 13.6 ล้านบาท และจะจัดระบบจูงใจตอบแทนโรงเรียนที่มีระบบดูแลนักเรียนอย่างดี โดยให้รางวัลเขตการศึกษาละ 6 โรงเรียน หากโรงเรียนใดมีการก่อเหตุ จะถูกตัดสิทธิ์ในการพิจารณาให้รางวัล
8. มาตรการระยะยาว กระทรวงศึกษาธิการกำลังยกร่างกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนให้ทันสมัยทันเหตุการณ์
9. ให้บรรจุเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษาในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านต่าง ๆ เช่นยาเสพติด เอดส์ การทะเลาะวิวาทเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพ โดย สมศ.
10. ให้พิจารณามาตรการใหม่ ๆ เช่น การปรับเวลาเลิกเรียนของสถานศึกษาให้เหลื่อมไม่ตรงกัน จัดกิจกรรมหารายได้พิเศษเพื่อใช้ในการป้องกันปัญหา
11. ให้เพิ่มโครงการที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของนักศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อใช้รถสายตรวจเคลื่อนที่ให้บริการประชาชน และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
12. ให้ประชาชนผู้พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับนักเรียน อาจก่อเหตุ หรือกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อเด็ก ให้แจ้งเหตุที่หมายเลข 191
13. ขอให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรหลาน โดยเฉพาะในวันหยุดราชการ และนอกเวลาเรียน
14. ให้จัดอาสาสมัคร สารวัตรนักเรียน จากผู้ปกครอง คนขับแท็กซี่ ครู เพื่อช่วยเสริมกำลังให้สารวัตรนักเรียนซึ่งมีจำนวนจำกัด
มาตรการพิเศษ
ให้มีหนังสือแจ้งตำรวจและส่วนราชการหากจัดคอนเสิร์ตการกุศล ควรมีการเตรียมประสานงานล่วงหน้าโดยมีอาจารย์ฝ่ายปกครอง ตำรวจ สารวัตรนักเรียน ไปร่วมดูแลในบริเวณที่จัดงาน และให้มีระบบดูแลความปลอดภัยอย่างพอเพียง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียนทะเลาะวิวาทในการจัดงานคอนเสิร์ตการกุศลของกรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งทำให้มีนักเรียนเสียชีวิต 1 ราย และบาดเจ็บอีกจำนวนหนึ่ง เมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2546 โดยมีผลสรุป ดังนี้
1. นักศึกษาที่ตำรวจจับตัวไปได้ให้พิจารณาโทษ ผู้ทำผิดที่เป็นหัวโจกให้เป็นไปตามกฎหมาย สำหรับนักศึกษาที่เข้าร่วมกระบวนการด้วยให้ส่งไปฝึกอบรมที่สถานพินิจ เพื่อฝึกระเบียบวินัย และให้เชิญผู้ปกครองมาตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมดูแลนักเรียน
2. มอบสารวัตรนักเรียน ประสานตำรวจขอรายชื่อนักเรียนและสถานศึกษาที่ก่อเหตุในคอนเสิร์ต และจัดทำบัญชีรายชื่อในโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา รวมทั้งรายชื่อนักเรียนเพื่อเฝ้าติดตามคุมประพฤติอย่างใกล้ชิดมีระบบโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ทันที และให้รายชื่อเด็กกลุ่มเสี่ยงให้ตำรวจเยี่ยมถึงบ้าน
3. ให้หัวหน้าผู้ตรวจราชการซึ่งดูแลเขตกรุงเทพมหานคร และผู้ตรวจเขตการศึกษา 1 - 3 ในกรุงเทพ มหานคร เจ้าหน้าที่ สช. สพฐ. สอศ. สกอ. และสารวัตรนักเรียนลงพื้นที่ในโรงเรียนเกิดเหตุเพื่อจัดทำฐานข้อมูล ศึกษามูลเหตุและข้อเสนอแนะจัดประชุมสถานศึกษา ให้จัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างยั่งยืน
4. ให้ สช. สพฐ. สอศ. สกอ. และให้กำชับระยะเวลาให้ผู้บริหารเร่งปรับปรุงตรวจสอบทุกเดือนเพื่อติดตามการพัฒนาคุณภาพไปสู่การประกันคุณภาพภายในและการประกันคุณภาพโดย สมศ. และให้มีการจัดประชุมโรงเรียนกลุ่มเสี่ยงทุก 3 เดือน เพื่อป้องกันเหตุ
5. กระทรวงศึกษาธิการกำลังเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความร่วมมือสื่อช่วยนำเสนอข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สร้างกระแสสังคมให้ครอบครัวและสังคมเอาใจใส่ดูแลบุตรหลานให้ความรักความอบอุ่น
6. สำนักการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจการนักเรียน จัดประชุมปฏิบัติการในวันที่ 2 กันยายน 2546เพื่อจัดระบบการป้องกันการใช้ความรุนแรงของเด็ก โดยร่วมมือกับกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เพื่อดูแลด้านจิตใจ
7. กระทรวงศึกษาธิการได้เริ่มจัดโครงการสานสายใยครูและศิษย์ เพื่อให้นักเรียนได้รับความเอาใจใส่ดูแลอย่างเป็นระบบ โดยได้รับงบกลางจากรัฐบาล 13.6 ล้านบาท และจะจัดระบบจูงใจตอบแทนโรงเรียนที่มีระบบดูแลนักเรียนอย่างดี โดยให้รางวัลเขตการศึกษาละ 6 โรงเรียน หากโรงเรียนใดมีการก่อเหตุ จะถูกตัดสิทธิ์ในการพิจารณาให้รางวัล
8. มาตรการระยะยาว กระทรวงศึกษาธิการกำลังยกร่างกฎกระทรวงและระเบียบที่เกี่ยวกับการส่งเสริมความประพฤตินักเรียนให้ทันสมัยทันเหตุการณ์
9. ให้บรรจุเกณฑ์มาตรฐานของสถานศึกษาในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนด้านต่าง ๆ เช่นยาเสพติด เอดส์ การทะเลาะวิวาทเป็นส่วนหนึ่งของระบบประกันคุณภาพ โดย สมศ.
10. ให้พิจารณามาตรการใหม่ ๆ เช่น การปรับเวลาเลิกเรียนของสถานศึกษาให้เหลื่อมไม่ตรงกัน จัดกิจกรรมหารายได้พิเศษเพื่อใช้ในการป้องกันปัญหา
11. ให้เพิ่มโครงการที่ช่วยเสริมภาพลักษณ์ของนักศึกษาอาชีวศึกษา เพื่อใช้รถสายตรวจเคลื่อนที่ให้บริการประชาชน และบำเพ็ญสาธารณประโยชน์
12. ให้ประชาชนผู้พบเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับนักเรียน อาจก่อเหตุ หรือกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อเด็ก ให้แจ้งเหตุที่หมายเลข 191
13. ขอให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการดูแลบุตรหลาน โดยเฉพาะในวันหยุดราชการ และนอกเวลาเรียน
14. ให้จัดอาสาสมัคร สารวัตรนักเรียน จากผู้ปกครอง คนขับแท็กซี่ ครู เพื่อช่วยเสริมกำลังให้สารวัตรนักเรียนซึ่งมีจำนวนจำกัด
มาตรการพิเศษ
ให้มีหนังสือแจ้งตำรวจและส่วนราชการหากจัดคอนเสิร์ตการกุศล ควรมีการเตรียมประสานงานล่วงหน้าโดยมีอาจารย์ฝ่ายปกครอง ตำรวจ สารวัตรนักเรียน ไปร่วมดูแลในบริเวณที่จัดงาน และให้มีระบบดูแลความปลอดภัยอย่างพอเพียง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 2 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-