คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง นโยบายว่าด้วยการอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ในทะเล จำนวน 3 ฉบับ คือ มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 เมษายน2521 วันที่ 22 สิงหาคม 2521 และวันที่ 10 มิถุนายน 2523 โดยขอให้ยกเลิกหลักเกณฑ์และนโยบายว่าด้วยการอนุญาตประทานบัตรทำเหมืองแร่ในทะเล เพื่อให้การกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของคนต่างด้าวในการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในทะเลเป็นไปตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
ทั้งนี้ การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จะส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนในด้านการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น นับว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง และยังช่วยเหลือให้กิจการเหมืองแร่ดีบุกในทะเลดีขึ้นด้วย นอกจากนี้การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวยังเป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในด้านการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงสถานการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อปี พ.ศ. 2521 และปี พ.ศ. 2523 ที่มีมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว อีกทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสนับสนุนการลงทุนทั้งจากนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในภาวะซบเซาอันเป็นผลมาจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา และมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลได้นำมาใช้คือ การปรับเปลี่ยนสัดส่วนผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศซึ่งมาลงทุนในประเทศไทยให้สามารถถือหุ้นได้มากขึ้น โดยได้ออกเป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ตามมาตรา 15 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจตามบัญชีสอง ซึ่งรวมถึงการทำเหมืองและการระเบิดหรือย่อยหินจะต้องมีคนไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่ต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้ถือหุ้นอยู่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของทุนของคนต่างด้าวที่เป็นนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะมีเหตุสมควร รัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอาจผ่อนผันสัดส่วนในเรื่องดังกล่าวให้น้อยลงได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า และต้องมีกรรมการที่เป็นคนไทยไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบันกิจการเหมืองแร่ดีบุกในทะเลอยู่ในภาวะซบเซาอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ดีบุกในปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา ประเทศไทยซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของโลกได้กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าดีบุกการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ดีบุกจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง และเพื่อส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในทะเลซึ่งอยู่ในภาวะซบเซาอย่างรุนแรง และเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระหว่างคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จะส่งเสริมให้บริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนในด้านการประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น นับว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง และยังช่วยเหลือให้กิจการเหมืองแร่ดีบุกในทะเลดีขึ้นด้วย นอกจากนี้การยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวยังเป็นการดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในด้านการส่งเสริมการลงทุน รวมถึงสถานการณ์และสภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปจากเมื่อปี พ.ศ. 2521 และปี พ.ศ. 2523 ที่มีมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว อีกทั้งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้พิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว
กระทรวงอุตสาหกรรมรายงานว่า เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลได้มีนโยบายที่จะสนับสนุนการลงทุนทั้งจากนักลงทุนชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งอยู่ในภาวะซบเซาอันเป็นผลมาจากภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง 4 - 5 ปีที่ผ่านมา และมาตรการหนึ่งที่รัฐบาลได้นำมาใช้คือ การปรับเปลี่ยนสัดส่วนผู้ถือหุ้นชาวต่างประเทศซึ่งมาลงทุนในประเทศไทยให้สามารถถือหุ้นได้มากขึ้น โดยได้ออกเป็นพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ตามมาตรา 15 ที่บัญญัติให้คนต่างด้าวที่ประกอบธุรกิจตามบัญชีสอง ซึ่งรวมถึงการทำเหมืองและการระเบิดหรือย่อยหินจะต้องมีคนไทยหรือนิติบุคคลที่มิใช่ต่างด้าวตามพระราชบัญญัตินี้ถือหุ้นอยู่ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของทุนของคนต่างด้าวที่เป็นนิติบุคคลนั้น เว้นแต่จะมีเหตุสมควร รัฐมนตรีโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีอาจผ่อนผันสัดส่วนในเรื่องดังกล่าวให้น้อยลงได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้า และต้องมีกรรมการที่เป็นคนไทยไม่น้อยกว่าสองในห้าของจำนวนกรรมการทั้งหมด ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวคาดว่าจะมีเงินลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น
ในปัจจุบันกิจการเหมืองแร่ดีบุกในทะเลอยู่ในภาวะซบเซาอันเป็นผลสืบเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ดีบุกในปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา ประเทศไทยซึ่งเคยเป็นประเทศผู้ผลิตดีบุกรายใหญ่ของโลกได้กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าดีบุกการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการเหมืองแร่ดีบุกจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้อุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกสามารถยืนหยัดอยู่ได้ ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจได้อีกทางหนึ่ง และเพื่อส่งเสริมการลงทุนประกอบกิจการทำเหมืองแร่ในทะเลซึ่งอยู่ในภาวะซบเซาอย่างรุนแรง และเพื่อสร้างความเป็นธรรมในระหว่างคนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 16 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-