คณะรัฐมนตรีรับทราบความก้าวหน้าการจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม และเห็นชอบหลักการในการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภัยแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเรื่องดินถล่ม ของกรมทรัพยากรธรณี ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงมหาดไทยไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานความก้าวหน้าการจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม สรุปได้ดังนี้
1. จัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มทั่วประเทศ
1.1 แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม และแผนที่แสดงหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่ม ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการมาตราส่วน 1 : 5,000,000 แล้วเสร็จ
1.2 จัดทำคู่มือการป้องกันธรณีพิบัติภัยจากดินถล่ม และบัญชีรายชื่อหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มภาคเหนือ
1.3 คู่มือการป้องกันธรณีพิบัติภัยจากดินถล่ม และบัญชีรายชื่อหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลแล้วเสร็จ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์และจะจัดส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
1.4 จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เป็นหนังสือการ์ตูน เรื่อง "ร่วมด้วยช่วยป้องกันดินถล่ม" เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่าย และสะดวกต่อการสื่อสาร
2. จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังภัยแจ้งเตือนภัย
จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังภัยแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเรื่องดินถล่ม และเลือกจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่มสูงเป็นจังหวัดนำร่อง ได้ทำการประชุมชี้แจงและจัดตั้งเครือข่ายประชาชนในหมู่บ้านจำนวน 8 ครั้ง ใน 10 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้ชี้แจงถึงความเสี่ยงต่อภัยดินถล่ม สัญญาณสิ่งบอกเหตุการเกิดดินถล่ม และระบบการแจ้งข่าวเตือนภัยล่วงหน้า ได้ตั้งจุดสังเกตการณ์ในพื้นที่บนภูเขาเหนือหมู่บ้าน มีผู้สังเกตการณ์ประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนัก ถ้าเกิดเหตุดินถล่มจะรีบรายงานต่อหัวหน้ากลุ่มเครือข่ายทันทีเพื่อรีบแจ้งต่อประชาชนในหมู่บ้านทราบให้มีการอพยพหนีภัยโดยเร็ว และจะต้องร่วมกันเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยกันเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อจะช่วยลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
3. แผนการป้องกันพิบัติภัยจากดินถล่ม
กรมทรัพยากรธรณีได้แนะนำและร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเรื่องดินถล่ม ในการจัดทำแผนการป้องกันพิบัติภัยจากดินถล่มรวม 8 แผน ดังนี้ 1) แผนการป้องกันมิให้มีการตัดไม้ทำลายป่า 2) แผนการปลูกป่าไม้ทดแทน 3) แผนการสำรวจพื้นที่ต้นน้ำลำห้วย 4) แผนอพยพประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนกีดขวางทางน้ำลำห้วยขึ้นไปอยู่บนเนินหรือที่สูงชั่วคราว เมื่อมีพยากรณ์อากาศว่ามีฝนจะตกหนักติดต่อกัน 5) แผนการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภัยจากดินถล่มหรือโคลนถล่ม 6) แผนการอพยพเมื่อเกิดน้ำป่าไหลหลาก หรือดินถล่ม 7) แผนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยจากดินถล่ม 8) แผนการฟื้นฟูสภาพภายหลังจากประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานความก้าวหน้าการจัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่ม สรุปได้ดังนี้
1. จัดทำข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัยต่อดินถล่มทั่วประเทศ
1.1 แผนที่แสดงพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดดินถล่ม และแผนที่แสดงหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่ม ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการมาตราส่วน 1 : 5,000,000 แล้วเสร็จ
1.2 จัดทำคู่มือการป้องกันธรณีพิบัติภัยจากดินถล่ม และบัญชีรายชื่อหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มภาคเหนือ
1.3 คู่มือการป้องกันธรณีพิบัติภัยจากดินถล่ม และบัญชีรายชื่อหมู่บ้านเสี่ยงภัยดินถล่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ได้ดำเนินการรวบรวมข้อมูลแล้วเสร็จ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการจัดพิมพ์และจะจัดส่งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
1.4 จัดพิมพ์เอกสารเผยแพร่และประชาสัมพันธ์เป็นหนังสือการ์ตูน เรื่อง "ร่วมด้วยช่วยป้องกันดินถล่ม" เพื่อให้ประชาชนเข้าใจง่าย และสะดวกต่อการสื่อสาร
2. จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังภัยแจ้งเตือนภัย
จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังภัยแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเรื่องดินถล่ม และเลือกจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีความเสี่ยงต่อดินถล่มสูงเป็นจังหวัดนำร่อง ได้ทำการประชุมชี้แจงและจัดตั้งเครือข่ายประชาชนในหมู่บ้านจำนวน 8 ครั้ง ใน 10 ตำบล 44 หมู่บ้าน ได้ชี้แจงถึงความเสี่ยงต่อภัยดินถล่ม สัญญาณสิ่งบอกเหตุการเกิดดินถล่ม และระบบการแจ้งข่าวเตือนภัยล่วงหน้า ได้ตั้งจุดสังเกตการณ์ในพื้นที่บนภูเขาเหนือหมู่บ้าน มีผู้สังเกตการณ์ประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตกหนัก ถ้าเกิดเหตุดินถล่มจะรีบรายงานต่อหัวหน้ากลุ่มเครือข่ายทันทีเพื่อรีบแจ้งต่อประชาชนในหมู่บ้านทราบให้มีการอพยพหนีภัยโดยเร็ว และจะต้องร่วมกันเป็นเครือข่ายเฝ้าระวังและช่วยกันเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อจะช่วยลดการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน
3. แผนการป้องกันพิบัติภัยจากดินถล่ม
กรมทรัพยากรธรณีได้แนะนำและร่วมกับเครือข่ายเฝ้าระวังแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าเรื่องดินถล่ม ในการจัดทำแผนการป้องกันพิบัติภัยจากดินถล่มรวม 8 แผน ดังนี้ 1) แผนการป้องกันมิให้มีการตัดไม้ทำลายป่า 2) แผนการปลูกป่าไม้ทดแทน 3) แผนการสำรวจพื้นที่ต้นน้ำลำห้วย 4) แผนอพยพประชาชนที่ตั้งบ้านเรือนกีดขวางทางน้ำลำห้วยขึ้นไปอยู่บนเนินหรือที่สูงชั่วคราว เมื่อมีพยากรณ์อากาศว่ามีฝนจะตกหนักติดต่อกัน 5) แผนการสร้างเครือข่ายเฝ้าระวังภัยจากดินถล่มหรือโคลนถล่ม 6) แผนการอพยพเมื่อเกิดน้ำป่าไหลหลาก หรือดินถล่ม 7) แผนการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและภัยจากดินถล่ม 8) แผนการฟื้นฟูสภาพภายหลังจากประสบภัย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-