คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการและรายละเอียดของแนวทางและวิธีการในการสร้างแรงจูงใจเพื่อเสริมสร้างการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการเสนอ ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้อนุมัติให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว โดยในปีงบประมาณ 2547 ให้จัดทำผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการเฉพาะที่กำหนดไว้ในกลุ่มที่ 1 สำหรับกลุ่มที่ 2 และ 3 ควรเลื่อนไปดำเนินการในช่วงต่อไป
สำหรับเรื่องนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดหลักการ แนวทางและวิธีการสร้างแรงจูงใจเพื่อเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หลักการ การกำหนดแนวทางและสิ่งจูงใจในภาคราชการต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบราชการและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งความต้องการของระดับองค์กรและบุคคล โดยสิ่งจูงใจต้องมีความหลากหลายทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
แนวทาง
1. สร้างแรงจูงใจในระดับองค์กร โดยการกำหนดสิ่งจูงใจให้แก่ส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ และจัดสิ่งจูงใจในระดับบุคคล โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จะสร้างแรงจูงใจในระดับองค์กร โดยเฉพาะในระดับกรมและจังหวัดก่อน แล้วจึงจะขยายไปสู่ส่วนราชการระดับกลุ่มภารกิจกระทรวง และระดับบุคคลต่อไป
2. ส่วนราชการระดับกรมและจังหวัดทั้งหมดต้องเข้าร่วมในระบบการประเมินผลเพื่อรับสิ่งจูงใจ
3. จัดสิ่งจูงใจให้มีความหลากหลายและเปิดโอกาสให้ส่วนราชการเลือกสิ่งจูงใจให้สอดคล้องกับความต้องการได้
4. ผูกการให้สิ่งจูงใจกับการจัดทำข้อตกลงผลงาน ซึ่งจะมีการทบทวนประเด็นที่จะนำมาใช้ในการเจรจาข้อตกลงดังกล่าวทุก 1 ปี
5. กำหนดสิ่งจูงใจไม่ให้มีผลผูกพันในระยะยาว เพราะสิ่งจูงใจที่จะให้ขึ้นกับผลงานในแต่ละปี
6. มีการนำมาตรการเชิงลบมาใช้กับผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ
7. ประกาศให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับข้อตกลงผลการปฏิบัติราชการ ผลการประเมิน และสิ่งจูงใจที่ส่วนราชการได้รับ
8. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเจรจาข้อตกลง และการประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงของส่วนราชการสำหรับผลงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 แต่ในปีต่อ ๆ ไปให้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงและกรมต่าง ๆ ทั้งนี้ จะอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.ร. จะกำหนดต่อไป
วิธีการ จัดส่วนราชการได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระดับของการพัฒนาการปฏิบัติราชการ และการได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ส่วนราชการระดับกรมทั้งหมดที่ต้องทำการพัฒนาการปฏิบัติราชการภาคบังคับ โดยต้องแสดงผลการปฏิบัติราชการใน 5 ประเด็น ได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย การลดอัตรากำลังหรือการจัดสรรอัตรากำลังให้ทำงานคุ้มค่า การลดระยะเวลาการให้บริการ คุณภาพการให้บริการ และผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ (1 กรม/1 ปฏิรูป)
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ส่วนราชการระดับกรมที่ต้องการพัฒนาการปฏิบัติราชการในระดับท้าทาย โดยต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1. แสดงผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการใน 5 ประเด็น เหมือนกลุ่มที่ 1
2. แสดงผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการในประเด็นเพิ่มเติมจากกลุ่มที่ 1 โดยพัฒนาให้ได้อย่างน้อย 2 ใน3 ของประเด็นทั้งหมด 15 ประเด็น เช่น การมอบอำนาจการตัดสินใจ การอนุมัติ อนุญาตไปยังระดับปฏิบัติการ และการแก้ไขหรือยกเลิก กฎ ระเบียบ ที่ไม่จำเป็นล้าสมัยหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับงานบางส่วน หรือการจัดทำแผนกลยุทธ์ กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับองค์กร เป็นต้น
3. ส่วนราชการระดับกรมต้องเสนอตัวชี้วัดพร้อมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเจรจาข้อตกลงผลงานและเป้าหมาย
4. หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ส่วนราชการระดับกรมเสนอ ต้องมีการลงนามข้อตกลงผลงาน และประกาศให้ประชาชนทราบ
กลุ่มที่ 3 ได้แก่ จังหวัดทั้งหมดและส่วนราชการระดับกรมที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง" ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ซึ่งส่วนราชการในกลุ่มนี้จะต้องแสดงผลการปฏิบัติราชการ 5 ประเด็น เหมือนกลุ่มที่ 1 รวมทั้งต้องแสดงผลการปฏิบัติราชการในประเด็นเพิ่มเติมตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
กลไกและวิธีการในการจัดทำข้อตกลงผลการปฏิบัติราชการเพื่อรับสิ่งจูงใจ
1. ให้มีคณะกรรมการ 2 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับการจัดทำข้อตกลงและประเมินผล และคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล
2. ทุกส่วนราชการในระดับกรมและจังหวัดต้องจัดทำแผนการพัฒนาการปฏิบัติราชการขององค์กรของตนเอง เพื่อนำมาเจรจาและตกลงกับผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล
3. เมื่อส่วนราชการระดับกรมและจังหวัดสามารถเจรจาได้ข้อตกลง และมีการลงนามในข้อตกลงผลการปฏิบัติราชการแล้ว ให้ประกาศให้ประชาชนทราบ
กรอบการประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการ
มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มิติที่ 2 มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจมิติที่ 3 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร
สิ่งจูงใจที่จัดให้แก่ส่วนราชการ
กลุ่มที่ 1 ส่วนแบ่งจากการลดค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งจากการลดอัตรากำลังเงินรางวัลประจำปี
กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่จำนวนอาจมากกว่า และความยืดหยุ่นกฎระเบียบในด้านต่าง ๆ ที่ไม่มีผลกระทบในระยะยาว การยกย่องเชิดชูเกียรติ อื่น ๆ
กลุ่มที่ 3 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่จำนวนอาจมากกว่า และเป็นไปตามข้อตกลงที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
สิ่งจูงใจที่จัดให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ
ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการระดับกรมและจังหวัด จะได้รับสิ่งจูงใจใน 2 ทาง คือ สิ่งจูงใจจากส่วนราชการต้นสังกัด และสิ่งจูงใจที่จัดให้เฉพาะผู้บริหารระดับสูง นอกจากนั้นจะมีการนำมาตรการเชิงลบมาใช้กับผู้บริหารระดับสูงที่ไม่สามารถบริหารให้เกิดผลงานตามที่ได้ตกลงกันไว้
1. มาตรการเชิงบวก เช่น การให้เข้าร่วมอบรม ดูงาน หรือเข้าร่วมประชุมระดับชาติ การเลื่อนชั้นตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายได้เร็วขึ้น เป็นต้น
2. มาตรการเชิงลบ เช่น เปลี่ยนให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น หรือให้ลาออก เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-
สำหรับเรื่องนี้ สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอว่า คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการได้กำหนดหลักการ แนวทางและวิธีการสร้างแรงจูงใจเพื่อเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หลักการ การกำหนดแนวทางและสิ่งจูงใจในภาคราชการต้องส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบราชการและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งความต้องการของระดับองค์กรและบุคคล โดยสิ่งจูงใจต้องมีความหลากหลายทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน
แนวทาง
1. สร้างแรงจูงใจในระดับองค์กร โดยการกำหนดสิ่งจูงใจให้แก่ส่วนราชการและผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ และจัดสิ่งจูงใจในระดับบุคคล โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จะสร้างแรงจูงใจในระดับองค์กร โดยเฉพาะในระดับกรมและจังหวัดก่อน แล้วจึงจะขยายไปสู่ส่วนราชการระดับกลุ่มภารกิจกระทรวง และระดับบุคคลต่อไป
2. ส่วนราชการระดับกรมและจังหวัดทั้งหมดต้องเข้าร่วมในระบบการประเมินผลเพื่อรับสิ่งจูงใจ
3. จัดสิ่งจูงใจให้มีความหลากหลายและเปิดโอกาสให้ส่วนราชการเลือกสิ่งจูงใจให้สอดคล้องกับความต้องการได้
4. ผูกการให้สิ่งจูงใจกับการจัดทำข้อตกลงผลงาน ซึ่งจะมีการทบทวนประเด็นที่จะนำมาใช้ในการเจรจาข้อตกลงดังกล่าวทุก 1 ปี
5. กำหนดสิ่งจูงใจไม่ให้มีผลผูกพันในระยะยาว เพราะสิ่งจูงใจที่จะให้ขึ้นกับผลงานในแต่ละปี
6. มีการนำมาตรการเชิงลบมาใช้กับผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ
7. ประกาศให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับข้อตกลงผลการปฏิบัติราชการ ผลการประเมิน และสิ่งจูงใจที่ส่วนราชการได้รับ
8. ให้สำนักงาน ก.พ.ร. เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเจรจาข้อตกลง และการประเมินผลการดำเนินงานตามข้อตกลงของส่วนราชการสำหรับผลงานปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 แต่ในปีต่อ ๆ ไปให้เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงและกรมต่าง ๆ ทั้งนี้ จะอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ก.พ.ร. จะกำหนดต่อไป
วิธีการ จัดส่วนราชการได้เป็น 3 กลุ่ม ตามระดับของการพัฒนาการปฏิบัติราชการ และการได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 ได้แก่ ส่วนราชการระดับกรมทั้งหมดที่ต้องทำการพัฒนาการปฏิบัติราชการภาคบังคับ โดยต้องแสดงผลการปฏิบัติราชการใน 5 ประเด็น ได้แก่ การลดค่าใช้จ่าย การลดอัตรากำลังหรือการจัดสรรอัตรากำลังให้ทำงานคุ้มค่า การลดระยะเวลาการให้บริการ คุณภาพการให้บริการ และผลสำเร็จในการพัฒนาการปฏิบัติราชการ (1 กรม/1 ปฏิรูป)
กลุ่มที่ 2 ได้แก่ ส่วนราชการระดับกรมที่ต้องการพัฒนาการปฏิบัติราชการในระดับท้าทาย โดยต้องดำเนินการภายใต้เงื่อนไข ดังนี้
1. แสดงผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการใน 5 ประเด็น เหมือนกลุ่มที่ 1
2. แสดงผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการในประเด็นเพิ่มเติมจากกลุ่มที่ 1 โดยพัฒนาให้ได้อย่างน้อย 2 ใน3 ของประเด็นทั้งหมด 15 ประเด็น เช่น การมอบอำนาจการตัดสินใจ การอนุมัติ อนุญาตไปยังระดับปฏิบัติการ และการแก้ไขหรือยกเลิก กฎ ระเบียบ ที่ไม่จำเป็นล้าสมัยหรือเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานหรือการให้บริการ การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้กับงานบางส่วน หรือการจัดทำแผนกลยุทธ์ กำหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดระดับองค์กร เป็นต้น
3. ส่วนราชการระดับกรมต้องเสนอตัวชี้วัดพร้อมทั้งเป้าหมายที่คาดว่าจะทำได้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อเจรจาข้อตกลงผลงานและเป้าหมาย
4. หลังจากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบตัวชี้วัดและเป้าหมายที่ส่วนราชการระดับกรมเสนอ ต้องมีการลงนามข้อตกลงผลงาน และประกาศให้ประชาชนทราบ
กลุ่มที่ 3 ได้แก่ จังหวัดทั้งหมดและส่วนราชการระดับกรมที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหรือหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ "การพัฒนาผู้นำการบริหารการเปลี่ยนแปลง" ตามหลักเกณฑ์ที่ ก.พ.ร. กำหนด ซึ่งส่วนราชการในกลุ่มนี้จะต้องแสดงผลการปฏิบัติราชการ 5 ประเด็น เหมือนกลุ่มที่ 1 รวมทั้งต้องแสดงผลการปฏิบัติราชการในประเด็นเพิ่มเติมตามที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ
กลไกและวิธีการในการจัดทำข้อตกลงผลการปฏิบัติราชการเพื่อรับสิ่งจูงใจ
1. ให้มีคณะกรรมการ 2 ระดับ ได้แก่ คณะกรรมการกำกับการจัดทำข้อตกลงและประเมินผล และคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล
2. ทุกส่วนราชการในระดับกรมและจังหวัดต้องจัดทำแผนการพัฒนาการปฏิบัติราชการขององค์กรของตนเอง เพื่อนำมาเจรจาและตกลงกับผู้บังคับบัญชาและคณะกรรมการเจรจาข้อตกลงและประเมินผล
3. เมื่อส่วนราชการระดับกรมและจังหวัดสามารถเจรจาได้ข้อตกลง และมีการลงนามในข้อตกลงผลการปฏิบัติราชการแล้ว ให้ประกาศให้ประชาชนทราบ
กรอบการประเมินผลการพัฒนาการปฏิบัติราชการ
มิติที่ 1 มิติด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มิติที่ 2 มิติด้านประสิทธิผลตามพันธกิจมิติที่ 3 มิติด้านคุณภาพการให้บริการ มิติที่ 4 มิติด้านการพัฒนาองค์กร
สิ่งจูงใจที่จัดให้แก่ส่วนราชการ
กลุ่มที่ 1 ส่วนแบ่งจากการลดค่าใช้จ่าย ส่วนแบ่งจากการลดอัตรากำลังเงินรางวัลประจำปี
กลุ่มที่ 2 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่จำนวนอาจมากกว่า และความยืดหยุ่นกฎระเบียบในด้านต่าง ๆ ที่ไม่มีผลกระทบในระยะยาว การยกย่องเชิดชูเกียรติ อื่น ๆ
กลุ่มที่ 3 เหมือนกลุ่มที่ 1 แต่จำนวนอาจมากกว่า และเป็นไปตามข้อตกลงที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ
สิ่งจูงใจที่จัดให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการ
ผู้บริหารระดับสูงของส่วนราชการระดับกรมและจังหวัด จะได้รับสิ่งจูงใจใน 2 ทาง คือ สิ่งจูงใจจากส่วนราชการต้นสังกัด และสิ่งจูงใจที่จัดให้เฉพาะผู้บริหารระดับสูง นอกจากนั้นจะมีการนำมาตรการเชิงลบมาใช้กับผู้บริหารระดับสูงที่ไม่สามารถบริหารให้เกิดผลงานตามที่ได้ตกลงกันไว้
1. มาตรการเชิงบวก เช่น การให้เข้าร่วมอบรม ดูงาน หรือเข้าร่วมประชุมระดับชาติ การเลื่อนชั้นตราของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายได้เร็วขึ้น เป็นต้น
2. มาตรการเชิงลบ เช่น เปลี่ยนให้ไปดำรงตำแหน่งอื่น หรือให้ลาออก เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-