คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม ปี 2546 จำนวน 13,401.11 ตัน และให้ปรับลดอัตราภาษีในโควตานำเข้านมผงขาดมันเนยจากที่เสนอให้เต็มร้อยละ 20 ลดลงเหลือร้อยละ 5 เท่าปี 2545 ทั้งนี้ ให้รับความเห็นของกระทรวงการคลังเกี่ยวกับนโยบายการกำหนดอัตราอากรขาเข้าไปพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ในการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม ปี 2546 คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติได้มีมติเมื่อคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2546 ให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยในปริมาณเท่าที่ผูกพันไว้กับ WTO คือ 53,888.89 ตัน อัตราภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 20 และอัตราภาษีนำเข้านอกโควตาร้อยละ 218.4 ทั้งนี้ โควตานำเข้านมผงขาดมันเนยจะไม่จัดให้ผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม เนื่องจากน้ำนมดิบที่ผลิตในประเทศมีปริมาณเพียงพอ และผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่นำเข้าเพื่อการค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้จริงเป็นผู้ขอรับโควตาเอง และการนำเข้าให้นำเข้าเป็น 4 งวด ๆ ละ 3 เดือน โดยในส่วนของผู้นำเข้าที่ได้รับโควตา หากไม่สามารถนำเข้าได้เอง ให้สามารถแต่งตั้งตัวแทนเป็นผู้ดำเนินการแทนได้ แต่ห้ามมิให้มีการขายหรือโอนสิทธิ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาจัดสรรโควตาให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มนิติบุคคลผู้ผลิตนมข้น 23,404.89 ตัน กลุ่มนิติบุคคลผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น 20,829 ตัน กลุ่มนิติบุคคลผู้ผลิตเพื่อการส่งออก 4,192 ตัน กลุ่มนิติบุคคลผู้ผลิตนมเปรี้ยว 5,463 ตัน รวม 53,888.89 ตัน และผู้ประกอบการทั้ง 4 กลุ่มนี้ได้รับจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนยได้มีหนังสือร้องผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขอให้มีการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม เนื่องจากปริมาณที่ประกาศเปิดตลาดไม่เพียงพอ เพราะนมผงขาดมันเนยมีความจำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร โดยเสนอขอให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติมอีก13,401.11 ตัน และขอให้ลดอัตราภาษีนำเข้าในโควตาให้เหลือร้อยละ 5 เท่ากับปี 2545 เพื่อลดภาระให้ผู้ประกอบการที่ใช้นมผงขาดมันเนยเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ ประชุมเมื่อวันที่9 มิถุนายน 2546 ได้พิจารณาข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีมติเห็นชอบให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม จำนวน 13,401.11 ตัน และปรับลดอัตราภาษีในโควตาเหลือร้อยละ 5 โดยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ เพราะผู้ประกอบการที่แจ้งความต้องการโควตาเพิ่มเติมทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องใช้นมผงขาดมันเนยเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นม และปริมาณโควตาที่ขอขยายนี้เมื่อรวมกับปริมาณโควตาที่เปิดตลาดไปแล้ว ยังต่ำกว่าที่เปิดตลาดเมื่อปี 2545 1) โควตาที่เปิดตลาดปี 2545 รวม 73,000.00 ตัน 2) โควตาที่เปิดตลาดปี2546 รวม 53,888.89 ตัน 3) ขอเปิดตลาดเพิ่มเติมปี 2546 รวม 13,401.11 ตัน รวมโควตาปี 2546 เป็น67,290.00 ตัน
สำหรับเงื่อนไขการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม คือ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับโควตาในส่วนที่จัดไปให้แล้ว นำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 กันยายน 2546 และกรณีการเปิดตลาดนำเข้าเพิ่มเติมที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก 13,401.11 ตัน หากได้รับอนุมัติต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการนำนมผงขาดมันเนยในโควตาปี 2546 ไปใช้ในปี 2547 และเพื่อไม่ให้เกิดการนำเข้านมผงขาดมันเนยหรือนมผงอื่นกระทบต่อการรับซื้อน้ำนมดิบในประเทศ ให้ผู้ประกอบการแปรรูปนมรายใหญ่ซึ่งมีความสามารถรับซื้อน้ำนมดิบได้ทั้งปี รับซื้อน้ำนมดิบที่ผลิตจากเกษตรกรทั้งหมดเพื่อเป็นหลักประกันเรื่องแหล่งจำหน่ายและการชำระเงินค่าน้ำนมดิบ ส่วนผู้ประกอบการแปรรูปนมรายเล็กและรายกลาง หากต้องการน้ำนมดิบให้ติดต่อขอซื้อจากผู้ประกอบการแปรรูปรายใหญ่ซึ่งในการดำเนินการนี้กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ได้หารือกับกลุ่มและหรือสหกรณ์โคนมทั้งหมดแล้ว ได้ตกลงจะจำหน่ายน้ำนมดิบให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า ในการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม ปี 2546 คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติได้มีมติเมื่อคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2546 ให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยในปริมาณเท่าที่ผูกพันไว้กับ WTO คือ 53,888.89 ตัน อัตราภาษีนำเข้าในโควตาร้อยละ 20 และอัตราภาษีนำเข้านอกโควตาร้อยละ 218.4 ทั้งนี้ โควตานำเข้านมผงขาดมันเนยจะไม่จัดให้ผู้ประกอบการที่ผลิตผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่ม เนื่องจากน้ำนมดิบที่ผลิตในประเทศมีปริมาณเพียงพอ และผู้ประกอบการที่เป็นนิติบุคคลที่นำเข้าเพื่อการค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ใช้จริงเป็นผู้ขอรับโควตาเอง และการนำเข้าให้นำเข้าเป็น 4 งวด ๆ ละ 3 เดือน โดยในส่วนของผู้นำเข้าที่ได้รับโควตา หากไม่สามารถนำเข้าได้เอง ให้สามารถแต่งตั้งตัวแทนเป็นผู้ดำเนินการแทนได้ แต่ห้ามมิให้มีการขายหรือโอนสิทธิ์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พิจารณาจัดสรรโควตาให้ผู้ประกอบการต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มนิติบุคคลผู้ผลิตนมข้น 23,404.89 ตัน กลุ่มนิติบุคคลผู้ประกอบการแปรรูปอาหารนมอื่น 20,829 ตัน กลุ่มนิติบุคคลผู้ผลิตเพื่อการส่งออก 4,192 ตัน กลุ่มนิติบุคคลผู้ผลิตนมเปรี้ยว 5,463 ตัน รวม 53,888.89 ตัน และผู้ประกอบการทั้ง 4 กลุ่มนี้ได้รับจัดสรรโควตานำเข้านมผงขาดมันเนยได้มีหนังสือร้องผ่านสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ขอให้มีการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม เนื่องจากปริมาณที่ประกาศเปิดตลาดไม่เพียงพอ เพราะนมผงขาดมันเนยมีความจำเป็นต้องใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตของอุตสาหกรรมอาหาร โดยเสนอขอให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติมอีก13,401.11 ตัน และขอให้ลดอัตราภาษีนำเข้าในโควตาให้เหลือร้อยละ 5 เท่ากับปี 2545 เพื่อลดภาระให้ผู้ประกอบการที่ใช้นมผงขาดมันเนยเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นม
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาการปศุสัตว์แห่งชาติ ประชุมเมื่อวันที่9 มิถุนายน 2546 ได้พิจารณาข้อเสนอของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และมีมติเห็นชอบให้เปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม จำนวน 13,401.11 ตัน และปรับลดอัตราภาษีในโควตาเหลือร้อยละ 5 โดยเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ เพราะผู้ประกอบการที่แจ้งความต้องการโควตาเพิ่มเติมทั้งหมดเป็นผู้ประกอบการที่จำเป็นต้องใช้นมผงขาดมันเนยเป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์นม และปริมาณโควตาที่ขอขยายนี้เมื่อรวมกับปริมาณโควตาที่เปิดตลาดไปแล้ว ยังต่ำกว่าที่เปิดตลาดเมื่อปี 2545 1) โควตาที่เปิดตลาดปี 2545 รวม 73,000.00 ตัน 2) โควตาที่เปิดตลาดปี2546 รวม 53,888.89 ตัน 3) ขอเปิดตลาดเพิ่มเติมปี 2546 รวม 13,401.11 ตัน รวมโควตาปี 2546 เป็น67,290.00 ตัน
สำหรับเงื่อนไขการเปิดตลาดนำเข้านมผงขาดมันเนยเพิ่มเติม คือ ให้ผู้ประกอบการที่ได้รับโควตาในส่วนที่จัดไปให้แล้ว นำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 30 กันยายน 2546 และกรณีการเปิดตลาดนำเข้าเพิ่มเติมที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก 13,401.11 ตัน หากได้รับอนุมัติต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ตุลาคม 2546 ทั้งนี้เพื่อไม่ให้มีการนำนมผงขาดมันเนยในโควตาปี 2546 ไปใช้ในปี 2547 และเพื่อไม่ให้เกิดการนำเข้านมผงขาดมันเนยหรือนมผงอื่นกระทบต่อการรับซื้อน้ำนมดิบในประเทศ ให้ผู้ประกอบการแปรรูปนมรายใหญ่ซึ่งมีความสามารถรับซื้อน้ำนมดิบได้ทั้งปี รับซื้อน้ำนมดิบที่ผลิตจากเกษตรกรทั้งหมดเพื่อเป็นหลักประกันเรื่องแหล่งจำหน่ายและการชำระเงินค่าน้ำนมดิบ ส่วนผู้ประกอบการแปรรูปนมรายเล็กและรายกลาง หากต้องการน้ำนมดิบให้ติดต่อขอซื้อจากผู้ประกอบการแปรรูปรายใหญ่ซึ่งในการดำเนินการนี้กลุ่มผู้ประกอบการรายใหญ่ได้หารือกับกลุ่มและหรือสหกรณ์โคนมทั้งหมดแล้ว ได้ตกลงจะจำหน่ายน้ำนมดิบให้ผู้ประกอบการรายใหญ่ทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 กันยายน 2546--จบ--
-กภ-