คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ ของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) เสนอ และให้ดำเนินการ ดังนี้
1. ในการจัดตั้งศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการวิจัยของประเทศ ควรมีระบบการบริหารจัดการที่ดีมีการดำเนินการในลักษณะบูรณาการอย่างต่อเนื่อง โดยให้งานวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งอาจมีหลายแห่ง รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และให้มีการแข่งขันกันเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางการวิจัยต่อไป
2. ระบบการจัดสรรงบประมาณแนวใหม่จะป้องกันการซ้ำซ้อนของงานวิจัยได้ทางหนึ่ง โดยใช้งบประมาณบูรณาการในการวิจัยของประเทศ และการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนมาสนับสนุน ซึ่งจะเป็นวิธีการนำไปสู่การวิจัยในเชิงพาณิชย์ได้ในที่สุด
3. การบริหารจัดการศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติดังกล่าว ควรมีความเป็นอิสระและดำเนินการด้วยความรวดเร็ว โดยควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโดยคัดเลือกมาจากหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาบริหารงานร่วมกัน เพื่อกำหนดนโยบายและกรอบแนวทางการวิจัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น
อนึ่ง ศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ (National Center for Agricultural Biotechnology) เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยระดับนานาชาติด้านจีโนมและความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ สำหรับเป็นแหล่งผลิตกำลังคน และเสริมสร้างขีดความสามารถในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร โดยในระยะแรกเสนอจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ จำนวน 2 ศูนย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตข้าว และวัคซีนสัตว์ ได้แก่
1. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแนวอณูวิธีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Center of Excellence for Rice Molecular Breeding and Product Development)
2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาวัคซีน ชุดตรวจสอบโรคและชีวภัณฑ์สำหรับสัตว์ (Center ofExcellence for Developing Animal Vaccine Diagnostic Kit Test And Biological Products, CEVDB)
3. ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2546--จบ--
-กภ-
1. ในการจัดตั้งศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบการวิจัยของประเทศ ควรมีระบบการบริหารจัดการที่ดีมีการดำเนินการในลักษณะบูรณาการอย่างต่อเนื่อง โดยให้งานวิจัยและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพของหน่วยงานและสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ซึ่งอาจมีหลายแห่ง รวมทั้งภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องต้องมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเกื้อกูลซึ่งกันและกัน และให้มีการแข่งขันกันเพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศทางการวิจัยต่อไป
2. ระบบการจัดสรรงบประมาณแนวใหม่จะป้องกันการซ้ำซ้อนของงานวิจัยได้ทางหนึ่ง โดยใช้งบประมาณบูรณาการในการวิจัยของประเทศ และการขอความร่วมมือจากภาคเอกชนมาสนับสนุน ซึ่งจะเป็นวิธีการนำไปสู่การวิจัยในเชิงพาณิชย์ได้ในที่สุด
3. การบริหารจัดการศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติดังกล่าว ควรมีความเป็นอิสระและดำเนินการด้วยความรวดเร็ว โดยควรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโดยคัดเลือกมาจากหน่วยงานเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาบริหารงานร่วมกัน เพื่อกำหนดนโยบายและกรอบแนวทางการวิจัยให้ไปในทิศทางเดียวกัน และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้มากขึ้น
อนึ่ง ศูนย์วิทยาการเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตรแห่งชาติ (National Center for Agricultural Biotechnology) เพื่อเป็นศูนย์กลางการวิจัยระดับนานาชาติด้านจีโนมและความหลากหลายทางชีวภาพของพืช สัตว์ และจุลินทรีย์ สำหรับเป็นแหล่งผลิตกำลังคน และเสริมสร้างขีดความสามารถในการวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพและพัฒนาผลิตผลทางการเกษตร โดยในระยะแรกเสนอจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ จำนวน 2 ศูนย์ เพื่อแก้ไขปัญหาการผลิตข้าว และวัคซีนสัตว์ ได้แก่
1. ศูนย์ความเป็นเลิศทางการปรับปรุงพันธุ์ข้าวแนวอณูวิธีและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Center of Excellence for Rice Molecular Breeding and Product Development)
2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการพัฒนาวัคซีน ชุดตรวจสอบโรคและชีวภัณฑ์สำหรับสัตว์ (Center ofExcellence for Developing Animal Vaccine Diagnostic Kit Test And Biological Products, CEVDB)
3. ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2546 - พ.ศ. 2548
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤศจิกายน 2546--จบ--
-กภ-