คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการรายงานการแก้ไขปัญหาสังคมในส่วนของเด็กและเยาวชน โดยมีผลสรุปดังนี้
1. ศึกษาข้อมูลด้านเทคนิค กฎหมาย เศรษฐกิจและสังคม โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2548 เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาเยาวชนที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน (Behavior Issues) พร้อมทั้งวิธีการแก้ไข (Agenda Based Approaches) ได้หลักการในการแก้ไขปัญหาสังคมในส่วนของเด็กและเยาวชน ได้แก่
(1) ปัญหาเด็กซับซ้อนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย การแก้ไขแบบดั้งเดิมที่ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการไม่ประสบความสำเร็จ
(2) วิธีการใหม่ต้องเคลื่อนไหวสังคม และให้สังคมเป็นผู้เรียกร้องผลักดันให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องออกมารับผิดชอบ
(3) การทำงานต้องมีเครือข่ายแก้ปัญหาด้วยการเปิดเวทีรับฟังจากทุกฝ่าย
(4) การแก้ปัญหาต้องทำหลายประเด็นเพราะเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันและต้องแก้ไขให้เกิดผล อย่างยั่งยืนโดยปลุกจิตสำนึก
(5) หลังจากได้ประเด็นปัญหาเด็กชัดเจน จึงกำหนดยุทธศาสตร์/มาตรการ นำสู่การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม การจัดทำแผนงาน โครงการ
(6) การดำเนินงานจะสื่อสารรณรงค์ 1 ประเด็นปัญหาต่อระยะเวลา 2 เดือน โดยต้องสกัดประเด็นให้ชัดเจน เช่น “พ่อแม่จ่ายค่าขนมเป็น 3 เท่าของค่าใช้จ่ายการศึกษาของลูก” “ประเทศไทยดื่มเหล้าเป็นอันดับ 5 ของโลก ฝรั่งเศสเป็นอันดับ 6”
2. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงาน การจัดการองค์ความรู้และการอำนวยการในการบริหารจัดการ โดยได้ยกร่างแผนงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชนไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
3. คณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายเยาวชนไทยและสถานศึกษาประมาณ 400 คน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาเยาวชนที่รุนแรงและต้องแก้ไขเร่งด่วนโดยวิเคราะห์จากผลงานวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทั่วไปซึ่งสามารถใช้แก้ปัญหา พฤติกรรมเด็กและเยาวชนได้ทุกปัญหา และได้กำหนดยุทธศาสตร์เฉพาะตามประเด็นปัญหาอีกด้วย โดยสรุปดังนี้
3.1 สภาพทั่วไปจากรายงานการวิจัย “โครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทย” ของสำนักวิจัย เอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตุลาคม 2548 ได้ระบุ ประเด็นปัญหารุนแรงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 เหล้า/บุหรี่ เหล้า 5,921,257 คน / บุหรี่ 2,023,893 คน อันดับ 2 หนีเรียน 2,086,527 คน อันดับ 3 ยาเสพติดใช้ยาบ้า 516,823 คน อันดับ 4 เพศสัมพันธ์ 472,575 คน อันดับ 5 การพนันเฉพาะนักศึกษากรุงเทพมหานคร 101,306 คน
ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติ ได้ประเมินสถานการณ์ของปัญหาเด็กและเยาวชนไทยได้แก่ (1) ขาดความอบอุ่นในครอบครัว พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก (2) ห่างไกลวัด ใช้ชีวิตยามว่างตามห้างสรรพสินค้า ใช้มือถือและคุยผ่านอินเตอร์เน็ต (3) ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (4) เล่นพนันและเริ่มเล่นพนันผ่านโทรศัพท์ระบบ SMS (5) ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและขาดความรับผิดชอบปัญหาทั้งหมดส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคมไทยใน 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากการวางรากฐานการเรียนรู้คู่คุณธรรมเกิดจากการเรียนรู้จากวัยเด็กจนถึงอายุ 25 ปี เมื่อเด็กและเยาวชนขาดการปลูกฝังคุณธรรมในช่วงต้นของชีวิตจะทำให้เป็นผู้ใหญ่และครอบครัวที่ด้อยคุณธรรมในอนาคต
3.2 ยุทธศาสตร์ทั่วไปที่ใช้เป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเยาวชนที่ประชุมเสนอ ดังนี้
(1) เน้นการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่เข้มแข็ง ครูทุกคนต้องช่วยสอดส่องเอาใจใส่นักเรียนนักศึกษา และร่วมกับพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูและแก้ไขพฤติกรรมลูก
(2) สถานศึกษาจะต้องจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมนักเรียนนักศึกษาตามความสนใจที่หลากหลายโดยเฉพาะกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนไปมั่วสุมกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม
(3) ปรับปรุงการสอนคุณธรรมจริยธรรมในรูปแบบที่เน้นการปฏิบัติจริงและปรับรูปแบบให้ทันสมัย
(4) ปรับปรุงเกณฑ์การประเมินผลงานของครูอาจารย์โดยประเมินจากการเป็นต้นแบบเชิงคุณธรรม ความเอาใจใส่ในการปลูกฝังจริยธรรม ดูแลนักเรียน ควบคู่ไปกับการสอน
(5) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ชี้วัดความสำเร็จของโรงเรียนมีการประเมินคุณภาพภายนอก สถานศึกษาในการดูแลนักเรียนโดยจะมีเกณฑ์ประเมินโรงเรียนโดยเสนอให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพิ่มเกณฑ์ในเรื่องระบบดูแลนักเรียนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และการพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองโดยการปรับปรุงวิธีประเมินตามเกณฑ์คุณธรรม จริธรรมที่มีอยู่แล้วให้เข้มข้นและสะท้อนสภาพความเป็นจริง
(6) ส่งเสริมให้เกิดอาสาสมัคร พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (หรือเดิมเคยเรียกว่า สารวัตรนักเรียน) ที่มาจากเครือข่ายผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน เพื่อให้มีจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กระจายไปทั่วประเทศ โดยใช้พลังผู้ปกครองมาช่วยดูแลนักเรียน
(7) ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาทำเกณฑ์เมืองดีน่าอยู่สำหรับเด็ก เพื่อให้นักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
3.3 ยุทธศาสตร์เฉพาะที่ใช้ในการแก้ปัญหาเยาวชน 8 ประเด็น ได้แก่ (1) การทะเลาะวิวาท (2) เพศสัมพันธ์ (3) ติดเกมและติดอินเตอร์เน็ต (4) การพนัน (5) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ (6) หนีเรียน (7) ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย (8) กิจกรรมเยาวชนสร้างสรรค์
3.4 สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินงานต่อไป
(1) ประกาศนโยบายให้สถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัดทุกแห่งถือเป็นความรับผิดชอบที่จะเป็นแกนนำในการรณรงค์แก้ปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ ปลอดสุรา และปลอดอบายมุขทุกประเภท และเป็นศูนย์กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ผู้เรียนเป็นผู้นำและริเริ่มเองของชุมชนโดยเริ่มดำเนินการในทันที
(2) กำหนดเป้าหมายและแนวทางที่จะวางระบบดูแลนักเรียนนักศึกษา ระบบดูแลความปลอดภัยปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนคุณธรรม จริยธรรม และกิจกรรมสร้างสรรค์โดยเริ่มในปีการศึกษา ๒๕๔๘ และให้แล้วเสร็จในทุกโรงเรียนภายในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โดยจะกำหนดให้มีการประเมินมาตรฐานเป็นรายโรง และรายพื้นที่
(3) รณรงค์และจัดทำคู่มือเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนในแต่ละประเด็นให้เหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของนักเรียน โดยรวบรวมรูปแบบดีเด่นที่ได้ผลจากสถานศึกษาเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
(4) สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดตั้งพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้มแข็ง ให้ความรู้ และสื่อสารกับผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชนในเรื่องจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นโดยเฉพาะในด้านการเลี้ยงลูก การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วิถีชีวิตของสังคมยุคใหม่เพื่อลดช่องว่างระหว่างเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่
(5) ขอความร่วมมือจากจังหวัดในการพัฒนาเครือข่ายพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา โดยมีสัดส่วนอย่างน้อยสิบคนต่อหนึ่งโรงให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษา ๒๕๔๘ เพื่อร่วมกับสถานศึกษา X-ray สภาพปัญหาเป็นพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ (GIS) แสดงจุดเสี่ยงที่จะใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ และกำกับ ติดตามการแก้ไขปัญหาต่อไป
(6) ร่วมมือกับบริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน) และภาคเอกชนในการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างความรู้สึกร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาสังคมตลอดจนส่งเสริมการจัดทำรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและสื่อที่ทันสมัย ตรงประเด็นและโดนใจเยาวชน
จากกรอบยุทธศาสตร์ข้างต้น กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการในทันที โดยพัฒนาโรงเรียนนำร่องขึ้นในทุกตำบลเพื่อเป็นต้นแบบในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเรื่องการคิด วิเคราะห์เชิงจริยธรรม จัดให้มีศูนย์กิจกรรมรณรงค์ของชุมชน จัดตั้งและเพิ่มความเข้มแข็งให้เครือข่าย ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนในการร่วมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน และจะขยายผลให้ครบทุกโรงเรียนภายในปีการศึกษาหน้า
ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการจะได้เชิญหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำแผนงานโครงการ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนไทย โดยมียุทธศาสตร์ เป้าหมาย มาตรการ กิจกรรมและระยะเวลาดำเนินงาน รวมทั้งการวัดและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. ศึกษาข้อมูลด้านเทคนิค กฎหมาย เศรษฐกิจและสังคม โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 30 คน ประชุมครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2548 เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาเยาวชนที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเด็กและเยาวชน (Behavior Issues) พร้อมทั้งวิธีการแก้ไข (Agenda Based Approaches) ได้หลักการในการแก้ไขปัญหาสังคมในส่วนของเด็กและเยาวชน ได้แก่
(1) ปัญหาเด็กซับซ้อนเกี่ยวข้องหลายฝ่าย การแก้ไขแบบดั้งเดิมที่ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการไม่ประสบความสำเร็จ
(2) วิธีการใหม่ต้องเคลื่อนไหวสังคม และให้สังคมเป็นผู้เรียกร้องผลักดันให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องต้องออกมารับผิดชอบ
(3) การทำงานต้องมีเครือข่ายแก้ปัญหาด้วยการเปิดเวทีรับฟังจากทุกฝ่าย
(4) การแก้ปัญหาต้องทำหลายประเด็นเพราะเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกันและต้องแก้ไขให้เกิดผล อย่างยั่งยืนโดยปลุกจิตสำนึก
(5) หลังจากได้ประเด็นปัญหาเด็กชัดเจน จึงกำหนดยุทธศาสตร์/มาตรการ นำสู่การสื่อสารเพื่อสร้างกระแสสังคม การจัดทำแผนงาน โครงการ
(6) การดำเนินงานจะสื่อสารรณรงค์ 1 ประเด็นปัญหาต่อระยะเวลา 2 เดือน โดยต้องสกัดประเด็นให้ชัดเจน เช่น “พ่อแม่จ่ายค่าขนมเป็น 3 เท่าของค่าใช้จ่ายการศึกษาของลูก” “ประเทศไทยดื่มเหล้าเป็นอันดับ 5 ของโลก ฝรั่งเศสเป็นอันดับ 6”
2. แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนไทย โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ในการขับเคลื่อนงาน การจัดการองค์ความรู้และการอำนวยการในการบริหารจัดการ โดยได้ยกร่างแผนงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมเด็กและเยาวชนไทยเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน
3. คณะกรรมการอำนวยการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนกระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง องค์กรเอกชน เครือข่ายผู้ปกครอง เครือข่ายเยาวชนไทยและสถานศึกษาประมาณ 400 คน เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2548 เพื่อกำหนดประเด็นปัญหาเยาวชนที่รุนแรงและต้องแก้ไขเร่งด่วนโดยวิเคราะห์จากผลงานวิจัยและผู้ทรงคุณวุฒิ นอกจากนี้ได้กำหนดยุทธศาสตร์ทั่วไปซึ่งสามารถใช้แก้ปัญหา พฤติกรรมเด็กและเยาวชนได้ทุกปัญหา และได้กำหนดยุทธศาสตร์เฉพาะตามประเด็นปัญหาอีกด้วย โดยสรุปดังนี้
3.1 สภาพทั่วไปจากรายงานการวิจัย “โครงการเฝ้าระวังรักษาคุณภาพอนาคตเยาวชนไทย” ของสำนักวิจัย เอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ตุลาคม 2548 ได้ระบุ ประเด็นปัญหารุนแรงที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ อันดับ 1 เหล้า/บุหรี่ เหล้า 5,921,257 คน / บุหรี่ 2,023,893 คน อันดับ 2 หนีเรียน 2,086,527 คน อันดับ 3 ยาเสพติดใช้ยาบ้า 516,823 คน อันดับ 4 เพศสัมพันธ์ 472,575 คน อันดับ 5 การพนันเฉพาะนักศึกษากรุงเทพมหานคร 101,306 คน
ข้อมูลจากสถาบันรามจิตติ ได้ประเมินสถานการณ์ของปัญหาเด็กและเยาวชนไทยได้แก่ (1) ขาดความอบอุ่นในครอบครัว พ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูก (2) ห่างไกลวัด ใช้ชีวิตยามว่างตามห้างสรรพสินค้า ใช้มือถือและคุยผ่านอินเตอร์เน็ต (3) ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย (4) เล่นพนันและเริ่มเล่นพนันผ่านโทรศัพท์ระบบ SMS (5) ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์เร็วขึ้นและขาดความรับผิดชอบปัญหาทั้งหมดส่งผลกระทบต่อครอบครัวและสังคมไทยใน 10 ปีข้างหน้า เนื่องจากการวางรากฐานการเรียนรู้คู่คุณธรรมเกิดจากการเรียนรู้จากวัยเด็กจนถึงอายุ 25 ปี เมื่อเด็กและเยาวชนขาดการปลูกฝังคุณธรรมในช่วงต้นของชีวิตจะทำให้เป็นผู้ใหญ่และครอบครัวที่ด้อยคุณธรรมในอนาคต
3.2 ยุทธศาสตร์ทั่วไปที่ใช้เป็นพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเยาวชนที่ประชุมเสนอ ดังนี้
(1) เน้นการใช้ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนนักศึกษาที่เข้มแข็ง ครูทุกคนต้องช่วยสอดส่องเอาใจใส่นักเรียนนักศึกษา และร่วมกับพ่อแม่ในการอบรมเลี้ยงดูและแก้ไขพฤติกรรมลูก
(2) สถานศึกษาจะต้องจัดกิจกรรมสร้างสรรค์โดยใช้กิจกรรมนักเรียนนักศึกษาตามความสนใจที่หลากหลายโดยเฉพาะกิจกรรมนอกหลักสูตรเพื่อป้องกันไม่ให้เยาวชนไปมั่วสุมกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม
(3) ปรับปรุงการสอนคุณธรรมจริยธรรมในรูปแบบที่เน้นการปฏิบัติจริงและปรับรูปแบบให้ทันสมัย
(4) ปรับปรุงเกณฑ์การประเมินผลงานของครูอาจารย์โดยประเมินจากการเป็นต้นแบบเชิงคุณธรรม ความเอาใจใส่ในการปลูกฝังจริยธรรม ดูแลนักเรียน ควบคู่ไปกับการสอน
(5) กำหนดเกณฑ์มาตรฐานที่ชี้วัดความสำเร็จของโรงเรียนมีการประเมินคุณภาพภายนอก สถานศึกษาในการดูแลนักเรียนโดยจะมีเกณฑ์ประเมินโรงเรียนโดยเสนอให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เพิ่มเกณฑ์ในเรื่องระบบดูแลนักเรียนการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์และการพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองโดยการปรับปรุงวิธีประเมินตามเกณฑ์คุณธรรม จริธรรมที่มีอยู่แล้วให้เข้มข้นและสะท้อนสภาพความเป็นจริง
(6) ส่งเสริมให้เกิดอาสาสมัคร พนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา (หรือเดิมเคยเรียกว่า สารวัตรนักเรียน) ที่มาจากเครือข่ายผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน เพื่อให้มีจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กระจายไปทั่วประเทศ โดยใช้พลังผู้ปกครองมาช่วยดูแลนักเรียน
(7) ขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมาทำเกณฑ์เมืองดีน่าอยู่สำหรับเด็ก เพื่อให้นักเรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
3.3 ยุทธศาสตร์เฉพาะที่ใช้ในการแก้ปัญหาเยาวชน 8 ประเด็น ได้แก่ (1) การทะเลาะวิวาท (2) เพศสัมพันธ์ (3) ติดเกมและติดอินเตอร์เน็ต (4) การพนัน (5) เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ (6) หนีเรียน (7) ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย (8) กิจกรรมเยาวชนสร้างสรรค์
3.4 สิ่งที่กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินงานต่อไป
(1) ประกาศนโยบายให้สถานศึกษา และหน่วยงานในสังกัดทุกแห่งถือเป็นความรับผิดชอบที่จะเป็นแกนนำในการรณรงค์แก้ปัญหาสังคมที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชน เป็นพื้นที่ปลอดบุหรี่ ปลอดสุรา และปลอดอบายมุขทุกประเภท และเป็นศูนย์กิจกรรมสร้างสรรค์ที่ผู้เรียนเป็นผู้นำและริเริ่มเองของชุมชนโดยเริ่มดำเนินการในทันที
(2) กำหนดเป้าหมายและแนวทางที่จะวางระบบดูแลนักเรียนนักศึกษา ระบบดูแลความปลอดภัยปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนคุณธรรม จริยธรรม และกิจกรรมสร้างสรรค์โดยเริ่มในปีการศึกษา ๒๕๔๘ และให้แล้วเสร็จในทุกโรงเรียนภายในปีการศึกษา ๒๕๔๙ โดยจะกำหนดให้มีการประเมินมาตรฐานเป็นรายโรง และรายพื้นที่
(3) รณรงค์และจัดทำคู่มือเพื่อแก้ปัญหาเยาวชนในแต่ละประเด็นให้เหมาะสมกับระดับชั้นและวัยของนักเรียน โดยรวบรวมรูปแบบดีเด่นที่ได้ผลจากสถานศึกษาเผยแพร่อย่างกว้างขวาง
(4) สนับสนุนให้สถานศึกษาจัดตั้งพัฒนาเครือข่ายผู้ปกครองที่เข้มแข็ง ให้ความรู้ และสื่อสารกับผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาและผู้นำชุมชนในเรื่องจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่นโดยเฉพาะในด้านการเลี้ยงลูก การใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ วิถีชีวิตของสังคมยุคใหม่เพื่อลดช่องว่างระหว่างเด็ก เยาวชนและผู้ใหญ่
(5) ขอความร่วมมือจากจังหวัดในการพัฒนาเครือข่ายพนักงานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา โดยมีสัดส่วนอย่างน้อยสิบคนต่อหนึ่งโรงให้แล้วเสร็จภายในปีการศึกษา ๒๕๔๘ เพื่อร่วมกับสถานศึกษา X-ray สภาพปัญหาเป็นพื้นที่เพื่อจัดทำแผนที่ (GIS) แสดงจุดเสี่ยงที่จะใช้ในการกำหนดยุทธศาสตร์ และกำกับ ติดตามการแก้ไขปัญหาต่อไป
(6) ร่วมมือกับบริษัท อ.ส.ม.ท. จำกัด (มหาชน) และภาคเอกชนในการรณรงค์ปลุกจิตสำนึกและสร้างความรู้สึกร่วมรับผิดชอบในการแก้ปัญหาสังคมตลอดจนส่งเสริมการจัดทำรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาและสื่อที่ทันสมัย ตรงประเด็นและโดนใจเยาวชน
จากกรอบยุทธศาสตร์ข้างต้น กระทรวงศึกษาธิการจะดำเนินการในทันที โดยพัฒนาโรงเรียนนำร่องขึ้นในทุกตำบลเพื่อเป็นต้นแบบในการจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นเรื่องการคิด วิเคราะห์เชิงจริยธรรม จัดให้มีศูนย์กิจกรรมรณรงค์ของชุมชน จัดตั้งและเพิ่มความเข้มแข็งให้เครือข่าย ผู้ปกครองและผู้นำชุมชนในการร่วมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมให้แก่เด็กและเยาวชน และจะขยายผลให้ครบทุกโรงเรียนภายในปีการศึกษาหน้า
ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการจะได้เชิญหน่วยงานและผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องร่วมจัดทำแผนงานโครงการ กิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเด็กและเยาวชนไทย โดยมียุทธศาสตร์ เป้าหมาย มาตรการ กิจกรรมและระยะเวลาดำเนินงาน รวมทั้งการวัดและประเมินความสำเร็จของการดำเนินงานต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--