คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานความก้าวหน้าของโครงการที่สำคัญ ตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ ดังนี้
ความก้าวหน้าโครงการต่างๆ ของสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1. โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ ได้ดำเนินการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) ด้านการตรวจสอบทะเบียนผู้มีสิทธิและการออกบัตร ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูล ทำให้ลดปัญหาสิทธิซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่น ๆ และสามารถตรวจสอบออกบัตรใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการให้บริการรักษาพยาบาล ขณะนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ไม่มีปัญหาอุปสรรคใด ๆ ด้านการส่งเสริมป้องกันโรค ได้มีการดำเนินการในเชิงรุก โดยร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 5 สำนักงานอนามัย กรุงเทพมหานคร ในการออกเยี่ยมชุมชน และส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย ด้านการเงิน การโอนเงินค่าใช้จ่ายรายหัวและเงินชดเชยค่าใช้จ่ายสูงและอุบัติเหตุ ขณะนี้ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้สำหรับลงทุนปี 2546 ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว อยู่ในระหว่างการติดตาม ส่วนข้อร้องเรียนจากประชาชนผู้มารับบริการ จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แจ้งข้อร้องเรียนสถานพยาบาลประจำเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2546 ซึ่งตรวจสอบแล้วไม่มีส่วนของโรงพยาบาลตำรวจ สำหรับโรงพยาบาลดารารัศมี ได้เสนอเรื่องเข้าร่วมโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2547
2. โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ ได้ดำเนินการเร่งรัดจัดตั้งสถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด(ศูนย์ซับน้ำตาผู้ติดยาเสพติด) โดยจัดกิจกรรมป้องกันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ช่วงไตรมาส 4 (กรกฎาคม ถึง กันยายน 2546) มีผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู จำนวน 550 คน มีผู้ได้รับการอบรม จำนวน 1,250 คน และสื่อสนับสนุนการป้องกันยาเสพติด จำนวน 1,000 สื่อ
3. สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานแพทย์ใหญ่ ได้จัดทำโครงการเก็บรวบรวมข้อมูล DNA ของผู้ต้องขังทั่วประเทศประมาณ 176 แห่ง เพื่อสนับสนุนการสืบสวนสอบสวน ลดคดีอาชญากรรม ให้ได้ข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องชัดเจน อำนวยความยุติธรรมในสังคม และเพื่อนำมาค้นคว้า วิจัย ให้วิทยาการในการตรวจพิสูจน์ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอ โดยเลือกประเภทผู้ต้องขังอายุ 50 ปี ลงมา และตามลักษณะความผิดคือ ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายแรงและมีโอกาสทิ้งชีววัตถุพยานในที่เกิดเหตุหรือในตัวผู้เสียหาย ปัจจุบันสามารถเก็บตัวอย่างได้ประมาณ 10,000 ราย (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 ถึง 2547) โดยแต่ละปีจะทำการตรวจวิเคราะห์ให้ได้ไม่น้อยกว่า 4,000 ราย ปัญหาและอุปสรรคคือ ผู้ต้องขังไม่ให้ความร่วมมือในการเก็บตัวอย่างเท่าที่ควร สำหรับแนวทางแก้ไข คือ ประสานขอความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ ก่อนที่จะไปเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากผู้ต้องขัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
ความก้าวหน้าโครงการต่างๆ ของสำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
1. โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ ได้ดำเนินการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาท รักษาทุกโรค) ด้านการตรวจสอบทะเบียนผู้มีสิทธิและการออกบัตร ได้มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบข้อมูล ทำให้ลดปัญหาสิทธิซ้ำซ้อนกับกองทุนอื่น ๆ และสามารถตรวจสอบออกบัตรใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้านการให้บริการรักษาพยาบาล ขณะนี้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ทั้งจำนวนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน ไม่มีปัญหาอุปสรรคใด ๆ ด้านการส่งเสริมป้องกันโรค ได้มีการดำเนินการในเชิงรุก โดยร่วมกับศูนย์บริการสาธารณสุข 5 สำนักงานอนามัย กรุงเทพมหานคร ในการออกเยี่ยมชุมชน และส่งเสริมด้านการออกกำลังกาย ด้านการเงิน การโอนเงินค่าใช้จ่ายรายหัวและเงินชดเชยค่าใช้จ่ายสูงและอุบัติเหตุ ขณะนี้ดำเนินการตามแผนที่กำหนดไว้สำหรับลงทุนปี 2546 ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติแล้ว อยู่ในระหว่างการติดตาม ส่วนข้อร้องเรียนจากประชาชนผู้มารับบริการ จากข้อมูลของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ แจ้งข้อร้องเรียนสถานพยาบาลประจำเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม 2546 ซึ่งตรวจสอบแล้วไม่มีส่วนของโรงพยาบาลตำรวจ สำหรับโรงพยาบาลดารารัศมี ได้เสนอเรื่องเข้าร่วมโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2547
2. โรงพยาบาลตำรวจ สำนักงานแพทย์ใหญ่ ได้ดำเนินการเร่งรัดจัดตั้งสถานบำบัดรักษาผู้ติดยาเสพติด(ศูนย์ซับน้ำตาผู้ติดยาเสพติด) โดยจัดกิจกรรมป้องกันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติด ช่วงไตรมาส 4 (กรกฎาคม ถึง กันยายน 2546) มีผู้เข้ารับการบำบัดฟื้นฟู จำนวน 550 คน มีผู้ได้รับการอบรม จำนวน 1,250 คน และสื่อสนับสนุนการป้องกันยาเสพติด จำนวน 1,000 สื่อ
3. สถาบันนิติเวชวิทยา สำนักงานแพทย์ใหญ่ ได้จัดทำโครงการเก็บรวบรวมข้อมูล DNA ของผู้ต้องขังทั่วประเทศประมาณ 176 แห่ง เพื่อสนับสนุนการสืบสวนสอบสวน ลดคดีอาชญากรรม ให้ได้ข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องชัดเจน อำนวยความยุติธรรมในสังคม และเพื่อนำมาค้นคว้า วิจัย ให้วิทยาการในการตรวจพิสูจน์ก้าวหน้าทันสมัยอยู่เสมอ โดยเลือกประเภทผู้ต้องขังอายุ 50 ปี ลงมา และตามลักษณะความผิดคือ ผู้ต้องขังที่ก่อเหตุร้ายแรงและมีโอกาสทิ้งชีววัตถุพยานในที่เกิดเหตุหรือในตัวผู้เสียหาย ปัจจุบันสามารถเก็บตัวอย่างได้ประมาณ 10,000 ราย (ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2544 ถึง 2547) โดยแต่ละปีจะทำการตรวจวิเคราะห์ให้ได้ไม่น้อยกว่า 4,000 ราย ปัญหาและอุปสรรคคือ ผู้ต้องขังไม่ให้ความร่วมมือในการเก็บตัวอย่างเท่าที่ควร สำหรับแนวทางแก้ไข คือ ประสานขอความร่วมมือกับกรมราชทัณฑ์ ก่อนที่จะไปเก็บตัวอย่างส่งตรวจจากผู้ต้องขัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-