คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมรายงานความก้าวหน้าของโครงการหรือเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด (ระยะเวลา กรกฎาคม- พฤศจิกายน 2546) ซึ่งสรุปภาพรวมผลการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติดครั้งที่ 1-3 ได้ดังนี้
จากการที่คณะอนุกรรมการประเมินผล ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) และสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินโครงการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 (1 ก.พ. - 30 เม.ย. 2546) ครั้งที่ 2 (1 พ.ค. - 31 ก.ค. 2546) และครั้งที่ 3 (1 ส.ค. - 31 ต.ค. 2546) ผลการวิจัยเชิงสำรวจประเมินสถานการณ์สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินสถานการณ์ยาเสพติดด้านกลุ่มผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด
1.1 ผู้ค้ายาเสพติดและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวนผู้ค้ายาเสพติดในระดับหมู่บ้านชุมชนจากเดิมที่เคยมีอยู่บ้าง ขณะนี้แทบจะไม่มีผู้ค้ายาเสพติดเหลืออยู่ นอกจากนั้นเดิมเคยพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่จากการสำรวจทั้งสองครั้งที่ผ่านมา พบว่าแทบจะไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ตาราง 1 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติด จำนวนผู้ค้ายาเสพติดและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
สถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบจำนวนผู้ค้ายาเสพติด 45.2 1.7 53.1 8.2 77.7 14.1 7.5 73.3 19.2จำนวนเจ้าหน้าที่รัฐที่ 65.8 0.4 33.8 9.2 73 17.6 8.9 73 18.2เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
1.2 ราคายาบ้าโดยเฉลี่ย และการเปลี่ยนแปลงราคายาบ้า ผลจากการปราบปรามยาเสพติดทำให้ยาบ้าหาซื้อได้ยาก จนกระทั่งปัจจุบันส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มียาบ้าเหลืออยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนโดยก่อนการประกาศสงครามกับยาเสพติด ราคายาบ้าโดยเฉลี่ยเม็ดละ 120 บาท หลังจากประกาศสงครามกับยาเสพติดพบว่า ราคายาบ้าสูงขึ้นโดยเฉลี่ยเม็ดละ 200 บาท และขณะนี้ราคายาบ้าก็ยังคงสูงอยู่เช่นเดิม
ตาราง 2 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติด ราคายาบ้า
สถานการณ์ยาเสพติด ก่อนประกาศสงครามกับยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3ราคายาบ้า (บาท/เม็ด) 120.00 201.56 191.56 192.22
2. การประเมินสถานการณ์ยาเสพติดด้านกลุ่มผู้ติด/ผู้เสพยาเสพติด
จากการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติดครั้งที่ 1 พบว่า มีผู้เสพยาบ้า/สารระเหยในหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อประเมินสถานการณ์ยาเสพติดในครั้งที่ 3 ปรากฏว่าไม่ค่อยมีผู้เสพยาบ้า/สารระเหยหลงเหลืออยู่ และการลดลงของการเสพยาบ้า/สารระเหยก็ไม่ได้ส่งผลกระทบข้างเคียงทำให้มีการหันไปเสพเฮโรอีนและกัญชาทดแทนแต่อย่างไร
ตาราง 3 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับจำนวนผู้เสพยาบ้าสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบจำนวนผู้ค้ายาเสพติด 67.2 1.2 31.6 19.7 69.7 10.6 15.5 73.9 10.6
จากการสำรวจฯ ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 พบว่า ผู้เสพ/ผู้ติดก็ได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูเป็นจำนวนมาก และผลการบำบัดรักษาฯ ค่อนข้างได้ผลดี
3. การประเมินสถานการณ์ยาเสพติดด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเสี่ยงใช้ยาเสพติด
จากการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติดทั้ง 3 ครั้ง พบว่า แหล่งมั่วสุมหรือแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ลดน้อยลงจนกระทั่งแทบจะไม่มี ในขณะเดียวกันประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนได้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติดในระดับพื้นที่ค่อนข้างสูงมากด้วยเช่นเดียว
ตาราง 4 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งมั่วสุมและแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติดสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบแหล่งมั่วสุม/แพร่ระบาด 76.4 1.0 22.6 20.5 69.2 10.3 18.3 71.4 10.3
4. การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล โดยภาพรวมแล้ว ประชาชนในหมู่บ้านชุมชนทั่วประเทศ มีความพึงพอใจต่อผลสำเร็จของการแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับค่อนข้างสูงมากโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปราบปรามยาเสพติด
ตาราง 5 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด
ความพึงพอใจ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
ความพึงพอใจในภาพรวม 95.4 85.5 87.4
สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด ความยากง่ายในการซื้อหายาเสพติด ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน การทราบและเข้าร่วมเป็นพลังแผ่นดินของประชาชน รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตามประเมินผลและวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป สรุปผลการสำรวจในด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. สรุปความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติด
1.1 ความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยรวม ประชาชนในทุกภาคระบุว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเดือนพฤศจิกายน ลดลงมาก เมื่อเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนพฤษภาคม
ตารางที่ 1 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของสถานการณ์
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยรวม ก่อน ก.พ.46 พ.ค. 46 พ.ย. 46
มาก - ปานกลาง 91.6 65.5 15.4
1.2 ปัญหายาเสพติดในชุมชน ผลการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน พบว่าประชาชนเห็นว่าปัญหายาเสพติดในชุมชนลดลงมากในทุกภาค โดยภาพรวมแล้วมีเพียงร้อยละ 16.6 โดยแยกเป็นระดับมากร้อยละ 0.6 ระดับปานกลาง 5.0 และระดับน้อย 11.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผลการสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ที่ผ่านมา
ตารางที่ 2 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในชุมชน
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยรวม ก่อน ก.พ.46 พ.ค. 46 พ.ย. 46
มาก - ปานกลาง 8.0 42.6 16.6
1.3 ปัญหาผู้เสพติด จากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดที่มีปัญหาอยู่ในระดับเบาบางที่สามารถควบคุมได้ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม
ตารางที่ 3 ร้อยละของประชาชน ที่ระบุว่าปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับเบาบาง
ระดับของปัญหาผู้เสพ เบาบาง น้อย ปานกลาง มาก ไม่มีปัญหา
ร้อยละ 41.7 34.5 14.1 1.5 8.2
1.4 ความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชน เมื่อสอบถามถึงความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชนประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าหาซื้อไม่ได้
ตารางที่ 4 แสดงความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชนความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติด หาซื้อไม่ได้ หาซื้อยาก หาซื้อได้ง่าย ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบร้อยละ 43.3 26.4 3.8 26.5
2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติด
2.1 ความสามารถในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาคเห็นว่ารัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ผลในระดับมากเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนพฤษภาคม
ตาราง 5 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความสามารถในการแก้ไขปัญหายาเสพติดความสามารถในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ก่อน ก.พ. 46 พ.ค. 46 พ.ย. 46ร้อยละ 36.1 66.6 75.6
2.2 ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน โดยรวมแล้วประชาชนส่วนใหญ่พอใจต่อผลการดำเนินงาน แก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในระดับมากถึงปานกลาง เมื่อรวมกันแล้วอยู่ในระดับที่สูงมาก
ตาราง 6 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นรายภาคความพึงพอใจ ทั่วประเทศ กทม. กลาง เหนือ อีสาน ใต้มาก - ปานกลาง 96.5 94.3 95.2 97.1 99.2 93.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
จากการที่คณะอนุกรรมการประเมินผล ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) และสำนักงาน ป.ป.ส. ได้ดำเนินโครงการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด 3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 (1 ก.พ. - 30 เม.ย. 2546) ครั้งที่ 2 (1 พ.ค. - 31 ก.ค. 2546) และครั้งที่ 3 (1 ส.ค. - 31 ต.ค. 2546) ผลการวิจัยเชิงสำรวจประเมินสถานการณ์สรุปได้ดังนี้
1. การประเมินสถานการณ์ยาเสพติดด้านกลุ่มผู้ค้า/ผู้ผลิตยาเสพติด
1.1 ผู้ค้ายาเสพติดและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด จำนวนผู้ค้ายาเสพติดในระดับหมู่บ้านชุมชนจากเดิมที่เคยมีอยู่บ้าง ขณะนี้แทบจะไม่มีผู้ค้ายาเสพติดเหลืออยู่ นอกจากนั้นเดิมเคยพบว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลบางส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด แต่จากการสำรวจทั้งสองครั้งที่ผ่านมา พบว่าแทบจะไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
ตาราง 1 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติด จำนวนผู้ค้ายาเสพติดและเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
สถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบจำนวนผู้ค้ายาเสพติด 45.2 1.7 53.1 8.2 77.7 14.1 7.5 73.3 19.2จำนวนเจ้าหน้าที่รัฐที่ 65.8 0.4 33.8 9.2 73 17.6 8.9 73 18.2เกี่ยวข้องกับยาเสพติด
1.2 ราคายาบ้าโดยเฉลี่ย และการเปลี่ยนแปลงราคายาบ้า ผลจากการปราบปรามยาเสพติดทำให้ยาบ้าหาซื้อได้ยาก จนกระทั่งปัจจุบันส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มียาบ้าเหลืออยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนโดยก่อนการประกาศสงครามกับยาเสพติด ราคายาบ้าโดยเฉลี่ยเม็ดละ 120 บาท หลังจากประกาศสงครามกับยาเสพติดพบว่า ราคายาบ้าสูงขึ้นโดยเฉลี่ยเม็ดละ 200 บาท และขณะนี้ราคายาบ้าก็ยังคงสูงอยู่เช่นเดิม
ตาราง 2 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ยาเสพติด ราคายาบ้า
สถานการณ์ยาเสพติด ก่อนประกาศสงครามกับยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3ราคายาบ้า (บาท/เม็ด) 120.00 201.56 191.56 192.22
2. การประเมินสถานการณ์ยาเสพติดด้านกลุ่มผู้ติด/ผู้เสพยาเสพติด
จากการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติดครั้งที่ 1 พบว่า มีผู้เสพยาบ้า/สารระเหยในหมู่บ้าน/ชุมชนอยู่ในระดับปานกลาง แต่เมื่อประเมินสถานการณ์ยาเสพติดในครั้งที่ 3 ปรากฏว่าไม่ค่อยมีผู้เสพยาบ้า/สารระเหยหลงเหลืออยู่ และการลดลงของการเสพยาบ้า/สารระเหยก็ไม่ได้ส่งผลกระทบข้างเคียงทำให้มีการหันไปเสพเฮโรอีนและกัญชาทดแทนแต่อย่างไร
ตาราง 3 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับจำนวนผู้เสพยาบ้าสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบจำนวนผู้ค้ายาเสพติด 67.2 1.2 31.6 19.7 69.7 10.6 15.5 73.9 10.6
จากการสำรวจฯ ครั้งที่ 2 และครั้งที่ 3 พบว่า ผู้เสพ/ผู้ติดก็ได้รับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูเป็นจำนวนมาก และผลการบำบัดรักษาฯ ค่อนข้างได้ผลดี
3. การประเมินสถานการณ์ยาเสพติดด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเสี่ยงใช้ยาเสพติด
จากการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติดทั้ง 3 ครั้ง พบว่า แหล่งมั่วสุมหรือแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติดได้ลดน้อยลงจนกระทั่งแทบจะไม่มี ในขณะเดียวกันประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนได้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านยาเสพติดในหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งได้เข้าร่วมกิจกรรมเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติดในระดับพื้นที่ค่อนข้างสูงมากด้วยเช่นเดียว
ตาราง 4 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับแหล่งมั่วสุมและแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติดสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบ มี ไม่มี ไม่ทราบแหล่งมั่วสุม/แพร่ระบาด 76.4 1.0 22.6 20.5 69.2 10.3 18.3 71.4 10.3
4. การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล
ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล โดยภาพรวมแล้ว ประชาชนในหมู่บ้านชุมชนทั่วประเทศ มีความพึงพอใจต่อผลสำเร็จของการแก้ไขปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับค่อนข้างสูงมากโดยตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการปราบปรามยาเสพติด
ตาราง 5 ร้อยละของประชาชนจำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติด
ความพึงพอใจ ครั้งที่ 1 ครั้งที่ 2 ครั้งที่ 3
ความพึงพอใจในภาพรวม 95.4 85.5 87.4
สรุปผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ
เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 สำนักงานสถิติแห่งชาติได้รวบรวมความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติด ปัญหาผู้เสพ/ผู้ติด ความยากง่ายในการซื้อหายาเสพติด ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน การทราบและเข้าร่วมเป็นพลังแผ่นดินของประชาชน รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้เป็นแนวทางในการติดตามประเมินผลและวางแผนการดำเนินงานแก้ไขปัญหายาเสพติดต่อไป สรุปผลการสำรวจในด้านต่าง ๆ ได้ดังต่อไปนี้
1. สรุปความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหายาเสพติด
1.1 ความรุนแรงของสถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยรวม ประชาชนในทุกภาคระบุว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดในเดือนพฤศจิกายน ลดลงมาก เมื่อเทียบกับผลสำรวจเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนพฤษภาคม
ตารางที่ 1 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับความรุนแรงของสถานการณ์
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยรวม ก่อน ก.พ.46 พ.ค. 46 พ.ย. 46
มาก - ปานกลาง 91.6 65.5 15.4
1.2 ปัญหายาเสพติดในชุมชน ผลการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน พบว่าประชาชนเห็นว่าปัญหายาเสพติดในชุมชนลดลงมากในทุกภาค โดยภาพรวมแล้วมีเพียงร้อยละ 16.6 โดยแยกเป็นระดับมากร้อยละ 0.6 ระดับปานกลาง 5.0 และระดับน้อย 11.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับผลการสำรวจเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม ที่ผ่านมา
ตารางที่ 2 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติดในชุมชน
สถานการณ์ปัญหายาเสพติดโดยรวม ก่อน ก.พ.46 พ.ค. 46 พ.ย. 46
มาก - ปานกลาง 8.0 42.6 16.6
1.3 ปัญหาผู้เสพติด จากการสำรวจในเดือนพฤศจิกายน ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่ามีผู้เสพ/ผู้ติดที่มีปัญหาอยู่ในระดับเบาบางที่สามารถควบคุมได้ไม่เป็นอันตรายต่อสังคม
ตารางที่ 3 ร้อยละของประชาชน ที่ระบุว่าปัญหายาเสพติดอยู่ในระดับเบาบาง
ระดับของปัญหาผู้เสพ เบาบาง น้อย ปานกลาง มาก ไม่มีปัญหา
ร้อยละ 41.7 34.5 14.1 1.5 8.2
1.4 ความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชน เมื่อสอบถามถึงความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชนประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าหาซื้อไม่ได้
ตารางที่ 4 แสดงความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติดในชุมชนความยากง่ายในการหาซื้อยาเสพติด หาซื้อไม่ได้ หาซื้อยาก หาซื้อได้ง่าย ไม่แน่ใจ/ไม่ทราบร้อยละ 43.3 26.4 3.8 26.5
2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลการดำเนินงานการแก้ไขปัญหายาเสพติด
2.1 ความสามารถในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ประชาชนส่วนใหญ่ในทุกภาคเห็นว่ารัฐบาลสามารถแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ผลในระดับมากเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับผลการสำรวจในเดือนกุมภาพันธ์และเดือนพฤษภาคม
ตาราง 5 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความสามารถในการแก้ไขปัญหายาเสพติดความสามารถในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ก่อน ก.พ. 46 พ.ค. 46 พ.ย. 46ร้อยละ 36.1 66.6 75.6
2.2 ความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงาน โดยรวมแล้วประชาชนส่วนใหญ่พอใจต่อผลการดำเนินงาน แก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาลในระดับมากถึงปานกลาง เมื่อรวมกันแล้วอยู่ในระดับที่สูงมาก
ตาราง 6 ร้อยละของประชาชน จำแนกตามความพึงพอใจต่อผลการดำเนินงานการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเป็นรายภาคความพึงพอใจ ทั่วประเทศ กทม. กลาง เหนือ อีสาน ใต้มาก - ปานกลาง 96.5 94.3 95.2 97.1 99.2 93.6
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-