คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .... (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชกำหนดป้องกันการใช้สารระเหย พ.ศ. 2533 ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอและให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้ ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรอง เรื่อง เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 (ฝ่ายสังคม) ไปพิจารณาดำเนินการด้วย
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัด
ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีข้อสังเกต ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวงที่เสนอมา เป็นเรื่องของการกระจายอำนาจการปกครอง ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ ผู้บังคับบัญชาระดับล่างจะดูแลใกล้ชิดมากกว่า ในส่วนของการออกบัตร ควรมีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมเพื่อป้องกันปัญหาการปลอมแปลงบัตร
2. ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่แต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และจัดให้มีการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้เกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนว่ามีมากน้อยเพียงใด และมีความรู้ในเรื่องของสารระเหยมากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะออกบัตรฯ ให้ เพราะหากรับบัตรไปแล้ว ไม่มีความรู้อาจถูกฟ้องกลับได้
3. เพื่อป้องกันปัญหาการปลอมแปลงบัตรฯ ควรมีการปรับปรุงแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเพิ่มเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เข้าไปด้วยและหลังจากออกบัตรฯ แล้ว ควรส่งทะเบียนการออกบัตรฯ ให้กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานควบคุม
4. ควรหามาตรการควบคุมและจำกัดจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ให้น้อยลง และควรมีผู้ที่เข้าไปตรวจสอบการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาการรีดไถ การแสวงหาผลประโยชน์ กรรโชกทรัพย์ และการกลั่นแกล้งในแง่ธุรกิจจากร้านขายของชำขนาดเล็ก และควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
5. กระทรวงสาธารณสุขควรวางกลไกการบริหารกฎหมายหลักให้รัดกุมในด้านของการบังคับใช้ ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
6. ควรจะมีข้อมูลในส่วนของการจับกุมและปราบปราม เพื่อติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ การจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานอย่างไรควรจะมีฐานจากข้อมูลเดิมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวให้หัวหน้าส่วนราชการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการเป็นผู้ออกบัตรประจำตัวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ในสังกัด
ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองฯ มีข้อสังเกต ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวงที่เสนอมา เป็นเรื่องของการกระจายอำนาจการปกครอง ลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับการปฏิรูประบบราชการ ผู้บังคับบัญชาระดับล่างจะดูแลใกล้ชิดมากกว่า ในส่วนของการออกบัตร ควรมีการจัดตั้งศูนย์ควบคุมเพื่อป้องกันปัญหาการปลอมแปลงบัตร
2. ควรมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่แต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และจัดให้มีการอบรมพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้เกี่ยวกับขอบเขตอำนาจหน้าที่ของตนว่ามีมากน้อยเพียงใด และมีความรู้ในเรื่องของสารระเหยมากน้อยแค่ไหน ก่อนที่จะออกบัตรฯ ให้ เพราะหากรับบัตรไปแล้ว ไม่มีความรู้อาจถูกฟ้องกลับได้
3. เพื่อป้องกันปัญหาการปลอมแปลงบัตรฯ ควรมีการปรับปรุงแบบบัตรประจำตัวพนักงานเจ้าหน้าที่ โดยเพิ่มเลขที่บัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก เข้าไปด้วยและหลังจากออกบัตรฯ แล้ว ควรส่งทะเบียนการออกบัตรฯ ให้กระทรวงสาธารณสุข โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นหน่วยงานควบคุม
4. ควรหามาตรการควบคุมและจำกัดจำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ให้น้อยลง และควรมีผู้ที่เข้าไปตรวจสอบการทำงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ในแต่ละพื้นที่ เพื่อป้องกันปัญหาการรีดไถ การแสวงหาผลประโยชน์ กรรโชกทรัพย์ และการกลั่นแกล้งในแง่ธุรกิจจากร้านขายของชำขนาดเล็ก และควรประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทั่วไปทราบ
5. กระทรวงสาธารณสุขควรวางกลไกการบริหารกฎหมายหลักให้รัดกุมในด้านของการบังคับใช้ ควรให้ผู้ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการให้มีประสิทธิภาพ มีคุณธรรมและจริยธรรม
6. ควรจะมีข้อมูลในส่วนของการจับกุมและปราบปราม เพื่อติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ การจะเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานอย่างไรควรจะมีฐานจากข้อมูลเดิมด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-