คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2547 ของจังหวัด และกรุงเทพมหานครและเห็นชอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการที่สำคัญเร่งด่วน ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ
สรุปผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2547 ของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ได้ดังนี้
1. ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2546 ถึง วันที่ 4 มกราคม 2547 รวม 7 วัน
2. จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น 18,803 ครั้ง เสียชีวิต 612 คน (เพิ่มขึ้น 50 คน) บาดเจ็บ 25,580 คน (ลดลง 6,871 คน) มูลค่าความเสียหาย 3,418.6 ล้านบาท
3. จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตลดลง 32 จังหวัด เท่าเดิม 8 จังหวัด เพิ่มขึ้น 35 จังหวัด
4. จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็ดลดลง 55 จังหวัด เพิ่มขึ้น 20 จังหวัด
5. ตั้งจุดตรวจทุกวัน ทั่วประเทศ จำนวน 2,397 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานวันละ จำนวน 70,964 คน เรียกตรวจจำนวน 2,936,580 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 185,903 ราย ดำเนินคดี 128,801 ราย
6. มูลเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ช่วง 7 วัน
6.1 คน สาเหตุ เมาแล้วขับ ร้อยละ 68 ขับรถเร็ว ร้อยละ 17 อื่น ๆ ร้อยละ 15 เพศ ชาย ร้อยละ 73 หญิง ร้อยละ 27 อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 35, 21-30 ปี ร้อยละ 33, 31 - 40 ปี ร้อยละ 17, มากกว่า 40 ปี ร้อยละ 15
6.2 รถ มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 77, รถปิคอัพ ร้อยละ 11, รถเก๋ง ร้อยละ 4,รถบรรทุก 6 ล้อ ร้อยละ 2, รถอื่น ๆ ร้อยละ 6
6.3 พฤติกรรมเสี่ยง ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 66, มอเตอร์ไซด์ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 12, ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ร้อยละ 14, ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 8
6.4 ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เวลา 18.01-24.00 น. ร้อยละ 35, เวลา 12.01-18.00 น. ร้อยละ 30, เวลา 06.00 - 12.00 ร้อยละ 18, เวลา 00.01 - 06.00 น. ร้อยละ 17
6.5 ถนนที่เกิดเหตุ ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 28, ทางหลวงชนบท ร้อยละ 25, ในเมือง (เทศบาล) ร้อยละ 23, ท้องถิ่น ร้อยละ 16, อื่น ๆ ร้อยละ 8
6.6 จุดเกิดเหตุ ทางตรง ร้อยละ 49, ทางโค้ง ร้อยละ 23, ทางแยก ร้อยละ 17, อื่น ๆ ร้อยละ 11
7. จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคของมาตรการที่ได้วางไว้ และการนำมาตรการไปสู่การปฏิบัติ พบว่า
7.1 ยุทธศาสตร์และมาตรการบังคับใช้กฎหมาย หากมีการปฏิบัติตามมาตรการอย่างจริงจัง ก็จะเป็นมูลเหตุทำให้อุบัติเหตุทางถนนลดลง เช่น ในหลายจังหวัดที่มีการเรียกตรวจ จับกุมดำเนินคดีจำนวนคดีจำนวนมาก สถิติอุบัติเหตุจะลดลงจากปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ในทางตรงกันข้ามจังหวัดที่มีการบังคับใช้กฎหมายเรียกตรวจจับกุมน้อย ก็จะทำให้มีอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายยังคงมีอยู่ในเรื่องของการดูแลรับผิดชอบบนถนนทางหลวงแผ่นดิน โดยควรมีการแบ่งความรับผิดชอบให้ได้สัดส่วนกับกำลังคนและเครื่องมือที่มีอยู่ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงรับผิดชอบดูแล 15,000 กิโลเมตร ที่เหลือตำรวจภูธรรับผิดชอบดูแล 295,000 กิโลเมตร ฉะนั้น จึงควรแบ่งมอบหมายความรับผิดชอบถนนสายรองให้ตำรวจทางหลวงรับผิดชอบทั้งหมด และตำรวจภูธรดูแลทางหลวงชนบท และถนนของท้องถิ่น โดยให้ใช้กำลังอาสาสมัครเข้าช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน
7.2 ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร ถนนทางหลวงแผ่นดินทั้งสายหลัก/สายรองไม่มีป้ายสัญญาณเตือน จุดเสี่ยงอันตราย ป้ายบอกเส้นทาง รวมทั้งขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ดังนั้น จึงต้องมีการสำรวจ/ปรับปรุงแก้ไข เพื่อประชาสัมพันธ์เตือนประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบถึงจุดเสี่ยงอันตราย รวมทั้งจุดที่มีการซ่อมแซมถนน ต้องมีป้ายเตือนเป็นระยะ ๆ
7.3 ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชนยังมีน้อยมาก ประชาชนยังไม่เกิดความตระหนักในความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะในสถานศึกษา นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ ไม่มีวินัยจราจร และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร
ในส่วนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและระบบข้อมูล ยังขาดความสมบูรณ์ความคลอบคลุมในการปฏิบัติงานควรมีการปรับปรุงแก้ไข โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือแก้ไขปรับปรุงต่อไป
สำหรับนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการที่สำคัญเร่งด่วน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การบังคับใช้กฎหมาย
1.1 วางระบบการให้รางวัลและลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องการการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เป็นผู้รับผิดชอบกำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน การให้ความชอบ แนวทางการลงโทษ โดยพิจารณาถึงผลการปฏิบัติงานการตั้งจุดตรวจตามมาตราการ "3 ม. 2 ข. 1 ร." ความถี่ของการตั้งด่านตรวจจับ จำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ วิธีคำนวณที่เป็นธรรมโดยนำตัวแปรด้านประชากร จำนวนรถยนต์ที่วิ่งผ่าน ระยะทางของถนน ความถี่ของการตรวจจับ ฯลฯ ในพื้นที่รับผิดชอบประกอบการพิจารณา โดยเริ่มจากผลการปฏิบัติงานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2547 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานให้สนธิกำลังเพิ่มอาสาสมัครได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่ม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงาน ก.พ.ร.
1.2 การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบดูแลเส้นทางถนนทางหลวงแผ่นดิน ควรจัดระบบควบคุมดูแลทางหลวงแผ่นดินในสายหลัก สายรอง ใหม่ ให้สามารถตรวจตราป้องปราบระงับพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่น เมาแล้วขับรถ ขับรถเร็วเกินกำหนด ไม่สวมหมวกนิรภัย โดยเฉพาะที่ต้องพิจารณาคือ
1) ตำรวจทางหลวง ต้องดูแลรับผิดชอบทางหลวงแผ่นดินของกรมทางหลวงที่เป็นเส้นทางสายหลัก และมอบให้ดูแลเส้นทางสายรองเพิ่มขึ้น
2) ตำรวจภูธร ต้องดูแลรับผิดชอบทางหลวงแผ่นดินของกรมทางหลวงในเส้นทางสายรอง และในเส้นทางหลวงชนบท และถนนท้องถิ่น
ทั้งนี้ จะต้องปรับวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมุ่งเน้นการตรวจจับผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ขับรถเร็ว เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นหลัก เพื่อให้มีเจ้าภาพชัดเจน มีวิธีการทำงานที่เหมาะสม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3 การแก้ปัญหา "เมาสุราแล้วขับรถ" ที่เป็นสาเหตุใหญ่ของอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมดด้วยการเสนอร่างกฎหมายเพิ่มโทษและลงโทษผู้กระทำผิด ให้ไปทำงานสาธารณะ ทำงานบริการสังคม ให้เสนอได้ภายในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ประจำปี 2547
เพิ่มเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ จัดระบบการตรวจวัดที่เข้มงวด รวมทั้งจัดสรรเงินรางวัลค่าปรับจราจรให้รวดเร็วและเพิ่มบทบาทของอาสาสมัครให้เข้ามาร่วมปฏิบัติงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมคุมประพฤติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
อนึ่ง ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขกฎหมายด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มโทษเมาสุราแล้วขับรถ(สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) การให้ผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรไปทำงานสาธารณะ ทำงานบริการสังคม (กรมคุมประพฤติ)การเจาะเลือดผู้ประสบอุบัติเหตุ (คณะอนุกรรมการฯ) การจัดตั้งศาลจราจร (สำนักงานศาลยุติธรรม) การควบคุมบริโภคสุรา (กระทรวงสาธารณสุข) การบันทึกคะแนน (ตัดแต้ม) และอบรมทดสอบผู้ขับขี่ (กรมการขนส่งทางบก) ฯลฯ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 ต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2. ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และการมีส่วนร่วม
2.1 ให้หน่วยงานและจังหวัดเร่งรัดในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้
1) ในส่วนกลางมอบให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารรภัย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้รับผิดชอบ
2) ในระดับจังหวัดมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบ โดยบูรณาการใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์ภายในจังหวัดที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการ "3 ม. 2 ข.1 ร." โดยมีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.2 ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นตัวอย่างในการมีวินัยจราจร และปฏิบัติตามกฎหมาย โดยให้มีการตรวจจับ/ปรับ ผู้กระทำผิดในบริเวณสถานที่ราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดวันเริ่มดำเนินการทั่วประเทศหากมีการกระทำผิดให้ดำเนินการทางวินัยด้วย เพื่อเป็นตัวอย่างและจะได้ขยายผลไปยังสถานที่ทำงานของเอกชน
2.3 ให้สถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการให้ความรู้ด้านจราจรและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่นักเรียนนักศึกษา ที่ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งวิทยากรไปอบรมให้ความรู้ ทั้งนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะต้องให้นักเรียน นักศึกษามีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น
2.4 ให้กรมประชาสัมพันธ์จัดทำสารคดี (STORY) และสปอตรณรงค์ ความปลอดภัยทางถนน เผยแพร่เป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง ทางสื่อต่าง ๆ ให้มากที่สุด
2.5 ให้จังหวัดทุกจังหวัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้ความรู้ประชาชนและเข้มงวดกวดขันการออกใบอนุญาตขับขี่
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดแบบบูรณาการ กรมการขนส่งทางบก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และทุกกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
การมีส่วนร่วม ให้ขอความร่วมมือองค์กร มูลนิธิ ภาคเอกชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตลอดจนประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : องค์กร มูลนิธิ ภาคเอกชน
3. ยุทธศาสตร์ด้านการวิศวกรรมจราจร
3.1 ให้จังหวัดสำรวจถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จุดที่เป็นอันตราย ทางโค้ง ทางแยก ป้ายสัญญาณป้ายเตือน ป้ายบอกเส้นทาง แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางดังกล่าวไปดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยจังหวัดจะต้องติดตามผลการดำเนินการดังกล่าว
3.2 ให้จัดทำระบบประมวลผลสาเหตุของปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร (รถและถนน) เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบทั่วทั้งประเทศ
3.3 ควรมีการปรับเปลี่ยนระบบการประกันภัยใหม่ โดยส่งเสริมให้ผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดแรงจูงใจระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อจะได้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเพิ่มมากขึ้น
3.4 ส่งเสริมบทบาทสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้สำรวจข้อมูลปัญหาถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ป้ายจราจร/ป้ายอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกิดความสับสน จุดเสี่ยงอันตราย เป็นต้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : จังหวัดแบบบูรณาการ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) กรมการประกันภัย กรมการขนส่งทางบก และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4. ยุทธศาสตร์ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
4.1 ให้โรงพยาบาลจัดเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในที่เกิดเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้ศูนย์นเรนทร ประสานงานการปฏิบัติร่วมกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยมีระบบการทำงานร่วมกัน เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่สื่อมวลชนในเรื่องของจำนวนสถิติข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข
5. ยุทธศาสตร์ด้านการประเมินผลและพัฒนาระบบข้อมูล
5.1 จัดระบบติดตามประเมินผลเพื่อสามารถควบคุม สั่งการและแสดงผลชี้วัดการปฏิบัติงานตามมาตรการต่างๆ ให้ผู้บริหารใช้ประโยชน์ในข้อสั่งการสำคัญ ๆ ได้อย่างทันท่วงที
5.2 ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด มอบให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับการจัดระบบข้อมูลและสถิติที่มีประสิทธิภาพให้ใช้การจ้างสำรวจ วิจัย หรือทำโพล(POLL) หรือสุ่มสำรวจโดยจัดจ้างผู้ชำนาญการเฉพาะ (มืออาชีพ) หรือหน่วยงานกลางดำเนินการให้
5.3 ปรับปรุงระบบข้อมูลใหม่ทั้งหมดให้สามารถใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการพิจารณาสั่งการการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนได้ตรงตามสาเหตุที่แท้จริง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันการศึกษา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
สรุปผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลปีใหม่ 2547 ของจังหวัดและกรุงเทพมหานคร ได้ดังนี้
1. ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2546 ถึง วันที่ 4 มกราคม 2547 รวม 7 วัน
2. จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น 18,803 ครั้ง เสียชีวิต 612 คน (เพิ่มขึ้น 50 คน) บาดเจ็บ 25,580 คน (ลดลง 6,871 คน) มูลค่าความเสียหาย 3,418.6 ล้านบาท
3. จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตลดลง 32 จังหวัด เท่าเดิม 8 จังหวัด เพิ่มขึ้น 35 จังหวัด
4. จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็ดลดลง 55 จังหวัด เพิ่มขึ้น 20 จังหวัด
5. ตั้งจุดตรวจทุกวัน ทั่วประเทศ จำนวน 2,397 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานวันละ จำนวน 70,964 คน เรียกตรวจจำนวน 2,936,580 ครั้ง พบผู้กระทำผิด 185,903 ราย ดำเนินคดี 128,801 ราย
6. มูลเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ช่วง 7 วัน
6.1 คน สาเหตุ เมาแล้วขับ ร้อยละ 68 ขับรถเร็ว ร้อยละ 17 อื่น ๆ ร้อยละ 15 เพศ ชาย ร้อยละ 73 หญิง ร้อยละ 27 อายุ ต่ำกว่า 20 ปี ร้อยละ 35, 21-30 ปี ร้อยละ 33, 31 - 40 ปี ร้อยละ 17, มากกว่า 40 ปี ร้อยละ 15
6.2 รถ มอเตอร์ไซด์ ร้อยละ 77, รถปิคอัพ ร้อยละ 11, รถเก๋ง ร้อยละ 4,รถบรรทุก 6 ล้อ ร้อยละ 2, รถอื่น ๆ ร้อยละ 6
6.3 พฤติกรรมเสี่ยง ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 66, มอเตอร์ไซด์ไม่ปลอดภัย ร้อยละ 12, ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ ร้อยละ 14, ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 8
6.4 ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เวลา 18.01-24.00 น. ร้อยละ 35, เวลา 12.01-18.00 น. ร้อยละ 30, เวลา 06.00 - 12.00 ร้อยละ 18, เวลา 00.01 - 06.00 น. ร้อยละ 17
6.5 ถนนที่เกิดเหตุ ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 28, ทางหลวงชนบท ร้อยละ 25, ในเมือง (เทศบาล) ร้อยละ 23, ท้องถิ่น ร้อยละ 16, อื่น ๆ ร้อยละ 8
6.6 จุดเกิดเหตุ ทางตรง ร้อยละ 49, ทางโค้ง ร้อยละ 23, ทางแยก ร้อยละ 17, อื่น ๆ ร้อยละ 11
7. จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคของมาตรการที่ได้วางไว้ และการนำมาตรการไปสู่การปฏิบัติ พบว่า
7.1 ยุทธศาสตร์และมาตรการบังคับใช้กฎหมาย หากมีการปฏิบัติตามมาตรการอย่างจริงจัง ก็จะเป็นมูลเหตุทำให้อุบัติเหตุทางถนนลดลง เช่น ในหลายจังหวัดที่มีการเรียกตรวจ จับกุมดำเนินคดีจำนวนคดีจำนวนมาก สถิติอุบัติเหตุจะลดลงจากปีที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ในทางตรงกันข้ามจังหวัดที่มีการบังคับใช้กฎหมายเรียกตรวจจับกุมน้อย ก็จะทำให้มีอุบัติเหตุเพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการบังคับใช้กฎหมายยังคงมีอยู่ในเรื่องของการดูแลรับผิดชอบบนถนนทางหลวงแผ่นดิน โดยควรมีการแบ่งความรับผิดชอบให้ได้สัดส่วนกับกำลังคนและเครื่องมือที่มีอยู่ตัวอย่างเช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจทางหลวงรับผิดชอบดูแล 15,000 กิโลเมตร ที่เหลือตำรวจภูธรรับผิดชอบดูแล 295,000 กิโลเมตร ฉะนั้น จึงควรแบ่งมอบหมายความรับผิดชอบถนนสายรองให้ตำรวจทางหลวงรับผิดชอบทั้งหมด และตำรวจภูธรดูแลทางหลวงชนบท และถนนของท้องถิ่น โดยให้ใช้กำลังอาสาสมัครเข้าช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน
7.2 ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร ถนนทางหลวงแผ่นดินทั้งสายหลัก/สายรองไม่มีป้ายสัญญาณเตือน จุดเสี่ยงอันตราย ป้ายบอกเส้นทาง รวมทั้งขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ดังนั้น จึงต้องมีการสำรวจ/ปรับปรุงแก้ไข เพื่อประชาสัมพันธ์เตือนประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบถึงจุดเสี่ยงอันตราย รวมทั้งจุดที่มีการซ่อมแซมถนน ต้องมีป้ายเตือนเป็นระยะ ๆ
7.3 ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ การปฏิบัติตามกฎหมายของประชาชนยังมีน้อยมาก ประชาชนยังไม่เกิดความตระหนักในความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะในสถานศึกษา นักเรียน นักศึกษาส่วนใหญ่ ไม่มีวินัยจราจร และไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจร
ในส่วนยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและระบบข้อมูล ยังขาดความสมบูรณ์ความคลอบคลุมในการปฏิบัติงานควรมีการปรับปรุงแก้ไข โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องร่วมมือแก้ไขปรับปรุงต่อไป
สำหรับนโยบาย ยุทธศาสตร์และมาตรการที่สำคัญเร่งด่วน มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การบังคับใช้กฎหมาย
1.1 วางระบบการให้รางวัลและลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องการการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนน โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) เป็นผู้รับผิดชอบกำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน การให้ความชอบ แนวทางการลงโทษ โดยพิจารณาถึงผลการปฏิบัติงานการตั้งจุดตรวจตามมาตราการ "3 ม. 2 ข. 1 ร." ความถี่ของการตั้งด่านตรวจจับ จำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ วิธีคำนวณที่เป็นธรรมโดยนำตัวแปรด้านประชากร จำนวนรถยนต์ที่วิ่งผ่าน ระยะทางของถนน ความถี่ของการตรวจจับ ฯลฯ ในพื้นที่รับผิดชอบประกอบการพิจารณา โดยเริ่มจากผลการปฏิบัติงานในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2547 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ในการปฏิบัติงานให้สนธิกำลังเพิ่มอาสาสมัครได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติ โดยต้องมีการฝึกอบรมให้ความรู้เพิ่ม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงาน ก.พ.ร.
1.2 การแบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบดูแลเส้นทางถนนทางหลวงแผ่นดิน ควรจัดระบบควบคุมดูแลทางหลวงแผ่นดินในสายหลัก สายรอง ใหม่ ให้สามารถตรวจตราป้องปราบระงับพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่น เมาแล้วขับรถ ขับรถเร็วเกินกำหนด ไม่สวมหมวกนิรภัย โดยเฉพาะที่ต้องพิจารณาคือ
1) ตำรวจทางหลวง ต้องดูแลรับผิดชอบทางหลวงแผ่นดินของกรมทางหลวงที่เป็นเส้นทางสายหลัก และมอบให้ดูแลเส้นทางสายรองเพิ่มขึ้น
2) ตำรวจภูธร ต้องดูแลรับผิดชอบทางหลวงแผ่นดินของกรมทางหลวงในเส้นทางสายรอง และในเส้นทางหลวงชนบท และถนนท้องถิ่น
ทั้งนี้ จะต้องปรับวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยมุ่งเน้นการตรวจจับผู้ขับขี่ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ ขับรถเร็ว เมาแล้วขับ ไม่สวมหมวกนิรภัย เป็นหลัก เพื่อให้มีเจ้าภาพชัดเจน มีวิธีการทำงานที่เหมาะสม
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
1.3 การแก้ปัญหา "เมาสุราแล้วขับรถ" ที่เป็นสาเหตุใหญ่ของอุบัติเหตุทางถนนทั้งหมดด้วยการเสนอร่างกฎหมายเพิ่มโทษและลงโทษผู้กระทำผิด ให้ไปทำงานสาธารณะ ทำงานบริการสังคม ให้เสนอได้ภายในสมัยประชุมสภาผู้แทนราษฎรสมัยแรก ประจำปี 2547
เพิ่มเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์ จัดระบบการตรวจวัดที่เข้มงวด รวมทั้งจัดสรรเงินรางวัลค่าปรับจราจรให้รวดเร็วและเพิ่มบทบาทของอาสาสมัครให้เข้ามาร่วมปฏิบัติงาน
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมคุมประพฤติ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
อนึ่ง ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขกฎหมายด้านต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มโทษเมาสุราแล้วขับรถ(สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) การให้ผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรไปทำงานสาธารณะ ทำงานบริการสังคม (กรมคุมประพฤติ)การเจาะเลือดผู้ประสบอุบัติเหตุ (คณะอนุกรรมการฯ) การจัดตั้งศาลจราจร (สำนักงานศาลยุติธรรม) การควบคุมบริโภคสุรา (กระทรวงสาธารณสุข) การบันทึกคะแนน (ตัดแต้ม) และอบรมทดสอบผู้ขับขี่ (กรมการขนส่งทางบก) ฯลฯ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้วเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2546 ต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2. ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และการมีส่วนร่วม
2.1 ให้หน่วยงานและจังหวัดเร่งรัดในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้
1) ในส่วนกลางมอบให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารรภัย กรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้รับผิดชอบ
2) ในระดับจังหวัดมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบ โดยบูรณาการใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์ภายในจังหวัดที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเน้นให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักและปฏิบัติตามมาตรการ "3 ม. 2 ข.1 ร." โดยมีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.2 ให้สถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นตัวอย่างในการมีวินัยจราจร และปฏิบัติตามกฎหมาย โดยให้มีการตรวจจับ/ปรับ ผู้กระทำผิดในบริเวณสถานที่ราชการและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ โดยกำหนดวันเริ่มดำเนินการทั่วประเทศหากมีการกระทำผิดให้ดำเนินการทางวินัยด้วย เพื่อเป็นตัวอย่างและจะได้ขยายผลไปยังสถานที่ทำงานของเอกชน
2.3 ให้สถานศึกษาทุกแห่ง ดำเนินการให้ความรู้ด้านจราจรและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่นักเรียนนักศึกษา ที่ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งวิทยากรไปอบรมให้ความรู้ ทั้งนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะต้องให้นักเรียน นักศึกษามีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น
2.4 ให้กรมประชาสัมพันธ์จัดทำสารคดี (STORY) และสปอตรณรงค์ ความปลอดภัยทางถนน เผยแพร่เป็นประจำทุกวันอย่างต่อเนื่อง ทางสื่อต่าง ๆ ให้มากที่สุด
2.5 ให้จังหวัดทุกจังหวัดรณรงค์ประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการให้ความรู้ประชาชนและเข้มงวดกวดขันการออกใบอนุญาตขับขี่
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดแบบบูรณาการ กรมการขนส่งทางบก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน และทุกกระทรวง กรม รัฐวิสาหกิจทุกแห่ง
การมีส่วนร่วม ให้ขอความร่วมมือองค์กร มูลนิธิ ภาคเอกชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ตลอดจนประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : องค์กร มูลนิธิ ภาคเอกชน
3. ยุทธศาสตร์ด้านการวิศวกรรมจราจร
3.1 ให้จังหวัดสำรวจถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จุดที่เป็นอันตราย ทางโค้ง ทางแยก ป้ายสัญญาณป้ายเตือน ป้ายบอกเส้นทาง แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางดังกล่าวไปดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยจังหวัดจะต้องติดตามผลการดำเนินการดังกล่าว
3.2 ให้จัดทำระบบประมวลผลสาเหตุของปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร (รถและถนน) เพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบทั่วทั้งประเทศ
3.3 ควรมีการปรับเปลี่ยนระบบการประกันภัยใหม่ โดยส่งเสริมให้ผู้ใช้รถยนต์ รถจักรยานยนต์ เกิดแรงจูงใจระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ เพื่อจะได้ส่วนลดเบี้ยประกันภัยเพิ่มมากขึ้น
3.4 ส่งเสริมบทบาทสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้สำรวจข้อมูลปัญหาถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อย ป้ายจราจร/ป้ายอื่นๆ ที่ทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนเกิดความสับสน จุดเสี่ยงอันตราย เป็นต้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : จังหวัดแบบบูรณาการ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานนโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) กรมการประกันภัย กรมการขนส่งทางบก และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
4. ยุทธศาสตร์ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
4.1 ให้โรงพยาบาลจัดเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในที่เกิดเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 ให้ศูนย์นเรนทร ประสานงานการปฏิบัติร่วมกับศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน โดยมีระบบการทำงานร่วมกัน เพื่อมิให้เกิดความสับสนแก่สื่อมวลชนในเรื่องของจำนวนสถิติข้อมูลอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข
5. ยุทธศาสตร์ด้านการประเมินผลและพัฒนาระบบข้อมูล
5.1 จัดระบบติดตามประเมินผลเพื่อสามารถควบคุม สั่งการและแสดงผลชี้วัดการปฏิบัติงานตามมาตรการต่างๆ ให้ผู้บริหารใช้ประโยชน์ในข้อสั่งการสำคัญ ๆ ได้อย่างทันท่วงที
5.2 ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด มอบให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบ สำหรับการจัดระบบข้อมูลและสถิติที่มีประสิทธิภาพให้ใช้การจ้างสำรวจ วิจัย หรือทำโพล(POLL) หรือสุ่มสำรวจโดยจัดจ้างผู้ชำนาญการเฉพาะ (มืออาชีพ) หรือหน่วยงานกลางดำเนินการให้
5.3 ปรับปรุงระบบข้อมูลใหม่ทั้งหมดให้สามารถใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายการพิจารณาสั่งการการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนได้ตรงตามสาเหตุที่แท้จริง
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สถาบันการศึกษา กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-