คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ตามที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ และรับทราบความเห็นและผลการดำเนินการของกระทรวงศึกษาธิการ และให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปประกอบการพิจารณาดำเนินการปฏิรูปการศึกษาต่อไปด้วย
ทั้งนี้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่าได้ตระหนักถึงปัญหาการปฏิรูปการศึกษา ในระยะที่ผ่านมาได้เป็นประเด็นสาธารณะหลายส่วน ซึ่งไม่เพียงแต่อาจจะก่อให้เกิดความล่าช้าในการปฏิรูปการศึกษาในระยะสั้น หากยังส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศทั้งระบบในระยะยาว ดังนั้นคณะทำงานการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์และประมวลความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ และจัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
1) การปฏิรูปการศึกษาที่เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ โดยส่วนใหญ่มีทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2) ผลการปฏิรูปการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยส่วนใหญ่ยังขาดประสิทธิภาพทำให้มีความล่าช้ากว่าแผนที่ตั้งไว้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการออกกฎหมายและการปรับโครงสร้างของระบบการศึกษา ส่งผลทำให้การดำเนินการด้านอื่น ๆ ไม่คืบหน้า
2. ข้อเสนอเกี่ยวกับกระบวนการผลักดันการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
- จัดตั้งสภาการศึกษาภาคประชาชน เป็นเวทีสำหรับตัวแทนภาคประชาชนในการถกแถลงเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางปฏิรูปการศึกษา
- กำหนดตารางเวลาการปฏิรูปการศึกษา
- การปฏิรูปการศึกษาโดยแนวคิดสร้างสรรค์
- สร้างเครือข่ายการศึกษา
- การปฏิรูปครบวงจร
3. ข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นเฉพาะในการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
- การปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารการศึกษา
- จัดโครงสร้างของสถาบันการศึกษาของรัฐทั้งระบบ
- การเพิ่มความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาแก่ท้องถิ่นเป็นลำดับ
- เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนในการจัดการศึกษาอย่างครบถ้วน
- การกำหนดวาระของผู้นำการศึกษา
4. การปฏิรูปการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
- การกำหนดเงินเดือนครูตามระบบคุณธรรม
- การคัดสรรครูรุ่นใหม่จากคนเก่งของประเทศ
- การรับประกันการฝึกอบรมครู
5. การปฏิรูปการเรียนรู้ ประกอบด้วย
- คลังหลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติ
- การให้ผู้เรียนเลือกเรียนบางวิชาจากภายนอกสถานศึกษา
- การกำหนดมาตรฐานความรู้ด้านหลักธรรมทางศาสนา
6. การปฏิรูปทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ประกอบด้วย
- การจัดสรรสื่อเพื่อการศึกษา
- การจัดตั้งกองทุนประชาสังคมเพื่อการศึกษาในกลุ่มคนพิเศษ
- การอุดหนุนการจัดหาสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนการสอน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่าได้ตระหนักถึงปัญหาการปฏิรูปการศึกษา ในระยะที่ผ่านมาได้เป็นประเด็นสาธารณะหลายส่วน ซึ่งไม่เพียงแต่อาจจะก่อให้เกิดความล่าช้าในการปฏิรูปการศึกษาในระยะสั้น หากยังส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาของประเทศทั้งระบบในระยะยาว ดังนั้นคณะทำงานการศึกษา ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จึงได้ดำเนินการศึกษา วิเคราะห์และประมวลความเห็นจากฝ่ายต่าง ๆ และจัดทำเป็นความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความเห็นเกี่ยวกับผลการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
1) การปฏิรูปการศึกษาที่เป็นไปตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ โดยส่วนใหญ่มีทิศทางที่สอดคล้องกับแนวทางที่กำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
2) ผลการปฏิรูปการศึกษาที่ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ โดยส่วนใหญ่ยังขาดประสิทธิภาพทำให้มีความล่าช้ากว่าแผนที่ตั้งไว้ค่อนข้างมาก โดยเฉพาะการออกกฎหมายและการปรับโครงสร้างของระบบการศึกษา ส่งผลทำให้การดำเนินการด้านอื่น ๆ ไม่คืบหน้า
2. ข้อเสนอเกี่ยวกับกระบวนการผลักดันการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
- จัดตั้งสภาการศึกษาภาคประชาชน เป็นเวทีสำหรับตัวแทนภาคประชาชนในการถกแถลงเกี่ยวกับแนวคิดและแนวทางปฏิรูปการศึกษา
- กำหนดตารางเวลาการปฏิรูปการศึกษา
- การปฏิรูปการศึกษาโดยแนวคิดสร้างสรรค์
- สร้างเครือข่ายการศึกษา
- การปฏิรูปครบวงจร
3. ข้อเสนอเกี่ยวกับประเด็นเฉพาะในการปฏิรูปการศึกษา ประกอบด้วย
- การปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารการศึกษา
- จัดโครงสร้างของสถาบันการศึกษาของรัฐทั้งระบบ
- การเพิ่มความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาแก่ท้องถิ่นเป็นลำดับ
- เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนในการจัดการศึกษาอย่างครบถ้วน
- การกำหนดวาระของผู้นำการศึกษา
4. การปฏิรูปการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา ประกอบด้วย
- การกำหนดเงินเดือนครูตามระบบคุณธรรม
- การคัดสรรครูรุ่นใหม่จากคนเก่งของประเทศ
- การรับประกันการฝึกอบรมครู
5. การปฏิรูปการเรียนรู้ ประกอบด้วย
- คลังหลักสูตรมาตรฐานแห่งชาติ
- การให้ผู้เรียนเลือกเรียนบางวิชาจากภายนอกสถานศึกษา
- การกำหนดมาตรฐานความรู้ด้านหลักธรรมทางศาสนา
6. การปฏิรูปทรัพยากรและการลงทุนทางการศึกษา ประกอบด้วย
- การจัดสรรสื่อเพื่อการศึกษา
- การจัดตั้งกองทุนประชาสังคมเพื่อการศึกษาในกลุ่มคนพิเศษ
- การอุดหนุนการจัดหาสื่ออิเล็กทรอนิกส์สำหรับการเรียนการสอน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-