คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตามที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอว่า ได้มอบหมายให้คณะทำงานการเศรษฐกิจการพาณิชย์และอุตสาหกรรมของสภาที่ปรึกษา ฯ ดำเนินการศึกษานโยบายและมาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งคณะทำงานได้มีมติโดยสรุป ดังนี้
1. สร้างความเป็นเอกภาพและทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการของหน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้โดยสะดวก คือ รัฐบาลควรพิจารณาจัดตั้งศูนย์บริการและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการให้บริการอย่างครบวงจรในสำนักงานเดียวโดยให้เป็นทั้งศูนย์บริการที่ออกใบอนุญาตแบบเบ็ดเสร็จและศูนย์บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจทางกฎหมายและข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจ
2. พัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ชัดเจน และตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ คือ
- พัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เฉพาะเจาะจงกับประเภทของธุรกิจและอุตสาหกรรม
- พัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ตรงกับความต้องการของแต่ละพื้นที่
3. พัฒนากลไกทางการเงินที่เข้าถึงง่ายและมีต้นทุนทางการเงินต่ำ โดย
- รัฐบาลควรปรับปรุงกลไกการสนับสนุนเงินทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกิดสหกรณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อลดต้นทุนการเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจ ดังนี้
- การจัดหาแหล่งทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม และสร้างความพร้อมด้านสาธารณูปโภค
- จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะเริ่มต้น
- พัฒนาระบบและศูนย์ข้อมูลสำหรับการเช่า หรือเช่าซื้อสถานประกอบการและเครื่องจักรเพื่อลดภาระการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ
5. สนับสนุนการเข้าสู่ระบบมาตรฐานสินค้าและบริการ ทั้งด้านการผลิต และการบริหาร ดังนี้
- พัฒนาระบบและเครื่องมือในการทดสอบผลิตภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
- พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานการบริหาร และมาตรฐานทางบัญชี
6. มาตรการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต่อเนื่อง ดังนี้
- จัดตั้งสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่าง ๆ
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
7. มาตรการที่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม คือ นโยบายและมาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านโลจิสติกส์ (Logistics) ที่ชัดเจนและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการของไทย
พร้อมกันนี้คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นชอบของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาพรวมของประเทศปี 2547 - 2549 ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้
ส่วนที่ 1 ยุทธศาสตร์หลักสำหรับวิสาหกิจทุกประเภทและทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
1) ยุทธศาสตร์การฟื้นฟู SMEs ให้เป็นกลไกหลัก (ด้านการเงิน - การตลาด)
2) ยุทธศาสตร์การสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ
3) ยุทธศาสตร์เสริมสร้าง SMEs ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย
4) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจผู้ส่งออกสู่ระดับสากล
5) ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่
6) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษา ฯ ดังนี้
1. การพิจารณาจัดตั้งศูนย์บริการและส่งเสริม SMEs อย่างครบวงจร มีโครงการที่ดำเนินการในลักษณะนี้ ได้แก่ โครงการ SMEs Call Center โครงการจัดตั้งศูนย์บริการครบวงจรให้ SMEs ในภูมิภาค และโครงการสร้างการเรียนรู้เพื่อเข้าถึงแหล่งสนับสนุน SMEs
2. ในเรื่องการพัฒนาส่งเสริม SMEs ที่ชัดเจนและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ การดำเนินงานลักษณะนี้อยู่ภายใต้โครงการศึกษาปัญหาเชิงลึก SMEs ในสาขาเป้าหมายและแนวทางแก้ไข โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม SMEs ในพื้นที่เฉพาะ (75จังหวัดตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด) โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขาที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติ (อาหาร แฟชั่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศและท่องเที่ยว) โครงการพัฒนาความรู้เฉพาะด้านของผู้ประกอบการ โครงการส่งเสริมให้ SMEs ใช้บริการ Thailand Science Park และ Software Park โครงการครัวไทยสู่โลก โครงการกรุงเทพ ฯ เมืองแฟชั่น และโครงการส่งเสริมธุรกิจบริการสู่ตลาดต่างประเทศ
3. ในเรื่องการพัฒนากลไกทางการเงินที่เข้าถึงง่ายและมีต้นทุนทางการเงินต่ำได้ดำเนินการภายใต้โครงการขยายสินเชื่อให้ SMEs โครงการขยายบทบาทบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs โครงการกองทุนร่วมลงทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย และโครงการพัฒนา SMEs สู่ตลาดหลักทรัพย์ MAI
4. ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นมีโครงการที่จะดำเนินการได้แก่ โครงการนิคมอุตสาหกรรม SMEs โครงการนิคมอุตสาหกรรมส่งออกในเขตชายแดน โครงการศูนย์บ่มเพาะการประกอบธุรกิจเป้าหมาย โครงการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการใหม่ โครงการจัดสรรพื้นที่เพื่อส่งเสริมการตลาด SMEs และโครงการศูนย์บริการควบรวมและเช่าซื้อกิจการของ SMEs
5. ในเรื่องการสนับสนุนการเข้าสู่ระบบมาตรฐานสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีโครงการจัดทำฐานข้อมูลอุปกรณ์ของสถาบันการศึกษาในการให้บริการทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และทดสอบคุณภาพมาตรฐาน โครงการศูนย์เครือข่ายบริการภาครัฐด้านเทคโนโลยีและทดสอบคุณภาพภาครัฐแก่ SMEs โครงการสำรวจและเผยแพร่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ SMEs สู่สากลโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ และโครงการพัฒนาคุณภาพและรับรองระบบการจัดการพื้นฐานสำหรับ SMEs
สำหรับโครงการด้านการพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานการบริการและมาตรฐานการบัญชี ได้แก่ โครงการพัฒนาซอฟแวร์บัญชี ภาษี การเงินแผนธุรกิจที่สมบูรณ์ให้ SMEs โครงการมาตรฐานการบัญชีสำหรับ SMEs และโครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสำนักงานสอบบัญชีที่เป็น SMEs
6. ในเรื่องมาตรการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต่อเนื่องมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากร SMEs ได้แก่โครงสร้างนักวิจัยที่ปรึกษาและพี่เลี้ยง SMEs โครงการพัฒนาความรู้เฉพาะด้านของผู้ประกอบการ SMEs โครงการพัฒนาทักษะทางการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ SMEs โครงการปรับปรุงมาตรฐานและการทดสอบยี่ห้อแรงงานของธุรกิจ SMEs โครงการปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการและจัดการธุรกิจ โครงการวิทยาลัยนอกรั้ว และโครงการ E-Learning สำหรับบุคลากร SMEs
7. ในเรื่องนโยบายและมาตรการสนับสนุน SMEs ด้าน Logistics ที่ชัดเจนและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการไทย โครงการที่จะดำเนินการได้แก่ โครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพการกระจายและขนส่งสินค้า โครงการวางแผนและพัฒนาข้อมูลการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและโครงการพัฒนาเทคนิคและบุคลากรให้แก่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านด้านการขนส่งต่อเนื่องทุกรูปแบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. สร้างความเป็นเอกภาพและทำให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการของหน่วยงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมได้โดยสะดวก คือ รัฐบาลควรพิจารณาจัดตั้งศูนย์บริการและส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่มีการให้บริการอย่างครบวงจรในสำนักงานเดียวโดยให้เป็นทั้งศูนย์บริการที่ออกใบอนุญาตแบบเบ็ดเสร็จและศูนย์บริการให้คำปรึกษาทางธุรกิจทางกฎหมายและข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจ
2. พัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ชัดเจน และตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ คือ
- พัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เฉพาะเจาะจงกับประเภทของธุรกิจและอุตสาหกรรม
- พัฒนามาตรการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ตรงกับความต้องการของแต่ละพื้นที่
3. พัฒนากลไกทางการเงินที่เข้าถึงง่ายและมีต้นทุนทางการเงินต่ำ โดย
- รัฐบาลควรปรับปรุงกลไกการสนับสนุนเงินทุนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- รัฐบาลควรส่งเสริมให้เกิดสหกรณ์ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น เพื่อลดต้นทุนการเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจ ดังนี้
- การจัดหาแหล่งทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม และสร้างความพร้อมด้านสาธารณูปโภค
- จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในระยะเริ่มต้น
- พัฒนาระบบและศูนย์ข้อมูลสำหรับการเช่า หรือเช่าซื้อสถานประกอบการและเครื่องจักรเพื่อลดภาระการลงทุนให้กับผู้ประกอบการ
5. สนับสนุนการเข้าสู่ระบบมาตรฐานสินค้าและบริการ ทั้งด้านการผลิต และการบริหาร ดังนี้
- พัฒนาระบบและเครื่องมือในการทดสอบผลิตภัณฑ์ และการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์
- พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานการบริหาร และมาตรฐานทางบัญชี
6. มาตรการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต่อเนื่อง ดังนี้
- จัดตั้งสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในด้านต่าง ๆ
- จัดตั้งกองทุนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
7. มาตรการที่ควรมีการศึกษาเพิ่มเติม คือ นโยบายและมาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในด้านโลจิสติกส์ (Logistics) ที่ชัดเจนและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการของไทย
พร้อมกันนี้คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นชอบของกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในภาพรวมของประเทศปี 2547 - 2549 ภายใต้ยุทธศาสตร์การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ดังนี้
ส่วนที่ 1 ยุทธศาสตร์หลักสำหรับวิสาหกิจทุกประเภทและทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
1) ยุทธศาสตร์การฟื้นฟู SMEs ให้เป็นกลไกหลัก (ด้านการเงิน - การตลาด)
2) ยุทธศาสตร์การสร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจ
3) ยุทธศาสตร์เสริมสร้าง SMEs ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์เฉพาะกลุ่มเป้าหมาย
4) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพวิสาหกิจผู้ส่งออกสู่ระดับสากล
5) ยุทธศาสตร์การสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการรุ่นใหม่
6) ยุทธศาสตร์เสริมสร้างศักยภาพของวิสาหกิจชุมชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคซึ่งมีความสอดคล้องกับข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษา ฯ ดังนี้
1. การพิจารณาจัดตั้งศูนย์บริการและส่งเสริม SMEs อย่างครบวงจร มีโครงการที่ดำเนินการในลักษณะนี้ ได้แก่ โครงการ SMEs Call Center โครงการจัดตั้งศูนย์บริการครบวงจรให้ SMEs ในภูมิภาค และโครงการสร้างการเรียนรู้เพื่อเข้าถึงแหล่งสนับสนุน SMEs
2. ในเรื่องการพัฒนาส่งเสริม SMEs ที่ชัดเจนและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ การดำเนินงานลักษณะนี้อยู่ภายใต้โครงการศึกษาปัญหาเชิงลึก SMEs ในสาขาเป้าหมายและแนวทางแก้ไข โครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริม SMEs ในพื้นที่เฉพาะ (75จังหวัดตามยุทธศาสตร์การพัฒนากลุ่มจังหวัด) โครงการจัดทำแผนปฏิบัติการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรายสาขาที่เป็นยุทธศาสตร์ชาติ (อาหาร แฟชั่น ชิ้นส่วนยานยนต์ เทคโนโลยีสารสนเทศและท่องเที่ยว) โครงการพัฒนาความรู้เฉพาะด้านของผู้ประกอบการ โครงการส่งเสริมให้ SMEs ใช้บริการ Thailand Science Park และ Software Park โครงการครัวไทยสู่โลก โครงการกรุงเทพ ฯ เมืองแฟชั่น และโครงการส่งเสริมธุรกิจบริการสู่ตลาดต่างประเทศ
3. ในเรื่องการพัฒนากลไกทางการเงินที่เข้าถึงง่ายและมีต้นทุนทางการเงินต่ำได้ดำเนินการภายใต้โครงการขยายสินเชื่อให้ SMEs โครงการขยายบทบาทบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมในการค้ำประกันสินเชื่อ SMEs โครงการกองทุนร่วมลงทุนเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไทย และโครงการพัฒนา SMEs สู่ตลาดหลักทรัพย์ MAI
4. ในเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นมีโครงการที่จะดำเนินการได้แก่ โครงการนิคมอุตสาหกรรม SMEs โครงการนิคมอุตสาหกรรมส่งออกในเขตชายแดน โครงการศูนย์บ่มเพาะการประกอบธุรกิจเป้าหมาย โครงการส่งเสริมและเตรียมความพร้อมผู้ประกอบการใหม่ โครงการจัดสรรพื้นที่เพื่อส่งเสริมการตลาด SMEs และโครงการศูนย์บริการควบรวมและเช่าซื้อกิจการของ SMEs
5. ในเรื่องการสนับสนุนการเข้าสู่ระบบมาตรฐานสินค้าและบริการของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม มีโครงการจัดทำฐานข้อมูลอุปกรณ์ของสถาบันการศึกษาในการให้บริการทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และทดสอบคุณภาพมาตรฐาน โครงการศูนย์เครือข่ายบริการภาครัฐด้านเทคโนโลยีและทดสอบคุณภาพภาครัฐแก่ SMEs โครงการสำรวจและเผยแพร่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ SMEs สู่สากลโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ และโครงการพัฒนาคุณภาพและรับรองระบบการจัดการพื้นฐานสำหรับ SMEs
สำหรับโครงการด้านการพัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานการบริการและมาตรฐานการบัญชี ได้แก่ โครงการพัฒนาซอฟแวร์บัญชี ภาษี การเงินแผนธุรกิจที่สมบูรณ์ให้ SMEs โครงการมาตรฐานการบัญชีสำหรับ SMEs และโครงการยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของสำนักงานสอบบัญชีที่เป็น SMEs
6. ในเรื่องมาตรการส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ต่อเนื่องมีโครงการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาผู้ประกอบการและบุคลากร SMEs ได้แก่โครงสร้างนักวิจัยที่ปรึกษาและพี่เลี้ยง SMEs โครงการพัฒนาความรู้เฉพาะด้านของผู้ประกอบการ SMEs โครงการพัฒนาทักษะทางการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ SMEs โครงการปรับปรุงมาตรฐานและการทดสอบยี่ห้อแรงงานของธุรกิจ SMEs โครงการปรับปรุงการเรียนการสอนในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการและจัดการธุรกิจ โครงการวิทยาลัยนอกรั้ว และโครงการ E-Learning สำหรับบุคลากร SMEs
7. ในเรื่องนโยบายและมาตรการสนับสนุน SMEs ด้าน Logistics ที่ชัดเจนและตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการไทย โครงการที่จะดำเนินการได้แก่ โครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพการกระจายและขนส่งสินค้า โครงการวางแผนและพัฒนาข้อมูลการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบและโครงการพัฒนาเทคนิคและบุคลากรให้แก่ประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านด้านการขนส่งต่อเนื่องทุกรูปแบบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-