คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติรายงานความก้าวหน้านโยบาย "หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งความสามารถพิเศษ" สรุปได้ดังนี้
1. นโยบาย
"ค้นหา ยกย่อง เชิดชู คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชนในระดับต่าง ๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ตลอดจนพัฒนาเป็นเครือข่าย "ประชาคมการเรียนรู้" โดยมุ่งหวังให้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนสู่การยกระดับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของประเทศชาติ"
2. วัตถุประสงค์
2.1 ขยายโอกาสในการพัฒนาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ ทั้งการเพิ่มจำนวนการคัดเลือกและการสนับสนุน/พัฒนา เพื่อเป็น "คนเก่งของชาติ" ต่อไป
2.2 ค้นหา ยกย่อง เชิดชู "คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ"
2.3 จัดทำฐานข้อมูล องค์ความรู้ และคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ
2.4 สร้าง/พัฒนา เพื่อเป็นต้นแบบองค์ความรู้ และการเผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่การเป็นศูนย์รวบรวมและพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชน
2.5 สร้าง/พัฒนาเครือข่ายประชาคม องค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ เกิดเครือข่ายประชาคมการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2.6 เป็นแกนประสานงานกับรัฐและภาคี เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีของชุมชน
3. ความหมายและคุณลักษณะสำคัฐของ "คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ" (Excellence)
3.1 ความหมายของคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ หมายถึง
1) "Talented" คนที่มีความรู้และมีพรสวรรค์พิเศษด้านใดด้านหนึ่ง
2) "Gifted" คนที่มีความรู้และมีพรสวรรค์พิเศษหลายด้าน
3) "Skilled" คนที่มีทักษะและความสามารถพิเศษด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน
3.2 ประเภทของความสามารถพิเศษ เช่น ด้านอาชีพ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมแพทย์แผนไทย ศิลปกรรม อุตสาหกรรม ศาสนาและวัฒนธรรม อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ภาษาและวรรณกรรม การจัดการ กองทุนและธุรกิจชุมชน กีฬา ฯลฯ
3.3 คุณลักษณะพิเศษ
1) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษดังกล่าวต้องประกอบด้วย 4 เก่ง คือ เก่งรู้ เก่งทำ เก่งจัดการ และเก่งถ่ายทอด โดยไม่จำกัดเพศและวัย
2) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษดังกล่าวนั้นต้องเป็น "คนดี" และได้รับการยอมรับจากประชาคมทั้ง "ความเก่งและความดี"
3.4 ประเภทและคุณสมบัติ "คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ"
1) คนเก่งชุมชน (Talented/Gifted/Skilled) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ พรสวรรค์ ทักษะ ความสามารถพิเศษ เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน ซึ่ง
(1) มีจิตสาธารณะและอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน
(2) เป็นผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือก ยกย่อง และยอมรับของประชาคม หมู่บ้าน/ชุมชนนั้น
2) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน หมายถึง "คนเก่งชุมชน" ซึ่งได้รับการยกย่องและยอมรับของประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชน ว่ามีความเป็นเลิศของความสามารถพิเศษในหมู่บ้าน/ชุมชน นั้น โดยมีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้
(1) เป็นผู้มีขีดความสามารถพิเศษ สามารถประยุกต์องค์ความรู้มาใช้ให้เหมาะสมกับหมู่บ้าน/ชุมชน
(2) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถพิเศษในการบริหารจัดการชุมชนอย่างบูรณาการ
3) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับตำบล หมายถึง คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งได้รับการยกย่องยอมรับจากประชาคมตำบลว่ามีความเป็นเลิศของความสามารถพิเศษของตำบลนั้น
4. เป้าหมายการดำเนินการ
4.1 เป้าหมายการค้นหา (ปี 2547)
1) ค้นหาคนเก่งชุมชน (Talented/Gifted/Skilled) หมู่บ้านละ 5 คน รวมเป็น 375,000 คน
2) ค้นหาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน จากคนเก่งชุมชนในข้อ 1 หมู่บ้านละ1 คน รวมเป็น 75,000 คน
3) ค้นหาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับตำบล จากคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตามข้อ 2 ตำบลละ 1 คน รวม 7,500 คน
4.2 เป้าหมายการสร้างกระบวนการสนับสนุน/พัฒนาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งเป็น 2 ช่วง
ช่วงที่ 1 (ปี 2547)
- สร้างฐานข้อมูลและจัดกลุ่มองค์ความรู้และคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ ตลอดจนการจัดกลุ่มตามสาขาต่าง ๆ
- พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และบทบาทของคนเก่งชุมชน เพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดและสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน
- พัฒนาเครือข่ายและประชาคมคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษสาขาต่าง ๆ
ช่วงที่ 2 (ปี 2548 - 2549)
- พัฒนาให้เกิดศูนย์รวบรวมและพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนขึ้นทุกตำบล และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. นโยบาย
"ค้นหา ยกย่อง เชิดชู คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ ซึ่งเป็นที่ยอมรับของชุมชนในระดับต่าง ๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถ ตลอดจนพัฒนาเป็นเครือข่าย "ประชาคมการเรียนรู้" โดยมุ่งหวังให้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาชุมชนสู่การยกระดับการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างชื่อเสียงและศักดิ์ศรีของประเทศชาติ"
2. วัตถุประสงค์
2.1 ขยายโอกาสในการพัฒนาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ ทั้งการเพิ่มจำนวนการคัดเลือกและการสนับสนุน/พัฒนา เพื่อเป็น "คนเก่งของชาติ" ต่อไป
2.2 ค้นหา ยกย่อง เชิดชู "คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ"
2.3 จัดทำฐานข้อมูล องค์ความรู้ และคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ
2.4 สร้าง/พัฒนา เพื่อเป็นต้นแบบองค์ความรู้ และการเผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่การเป็นศูนย์รวบรวมและพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชน
2.5 สร้าง/พัฒนาเครือข่ายประชาคม องค์ความรู้ในสาขาต่าง ๆ เกิดเครือข่ายประชาคมการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2.6 เป็นแกนประสานงานกับรัฐและภาคี เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีของชุมชน
3. ความหมายและคุณลักษณะสำคัฐของ "คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ" (Excellence)
3.1 ความหมายของคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ หมายถึง
1) "Talented" คนที่มีความรู้และมีพรสวรรค์พิเศษด้านใดด้านหนึ่ง
2) "Gifted" คนที่มีความรู้และมีพรสวรรค์พิเศษหลายด้าน
3) "Skilled" คนที่มีทักษะและความสามารถพิเศษด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน
3.2 ประเภทของความสามารถพิเศษ เช่น ด้านอาชีพ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมแพทย์แผนไทย ศิลปกรรม อุตสาหกรรม ศาสนาและวัฒนธรรม อุตสาหกรรมและหัตถกรรม ภาษาและวรรณกรรม การจัดการ กองทุนและธุรกิจชุมชน กีฬา ฯลฯ
3.3 คุณลักษณะพิเศษ
1) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษดังกล่าวต้องประกอบด้วย 4 เก่ง คือ เก่งรู้ เก่งทำ เก่งจัดการ และเก่งถ่ายทอด โดยไม่จำกัดเพศและวัย
2) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษดังกล่าวนั้นต้องเป็น "คนดี" และได้รับการยอมรับจากประชาคมทั้ง "ความเก่งและความดี"
3.4 ประเภทและคุณสมบัติ "คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ"
1) คนเก่งชุมชน (Talented/Gifted/Skilled) หมายถึง ผู้ที่มีความรู้ พรสวรรค์ ทักษะ ความสามารถพิเศษ เฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง หรือหลายด้าน ซึ่ง
(1) มีจิตสาธารณะและอาศัยอยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชน
(2) เป็นผู้ซึ่งได้รับการคัดเลือก ยกย่อง และยอมรับของประชาคม หมู่บ้าน/ชุมชนนั้น
2) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน หมายถึง "คนเก่งชุมชน" ซึ่งได้รับการยกย่องและยอมรับของประชาคมหมู่บ้าน/ชุมชน ว่ามีความเป็นเลิศของความสามารถพิเศษในหมู่บ้าน/ชุมชน นั้น โดยมีคุณสมบัติพิเศษ ดังนี้
(1) เป็นผู้มีขีดความสามารถพิเศษ สามารถประยุกต์องค์ความรู้มาใช้ให้เหมาะสมกับหมู่บ้าน/ชุมชน
(2) เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถพิเศษในการบริหารจัดการชุมชนอย่างบูรณาการ
3) คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับตำบล หมายถึง คนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ซึ่งได้รับการยกย่องยอมรับจากประชาคมตำบลว่ามีความเป็นเลิศของความสามารถพิเศษของตำบลนั้น
4. เป้าหมายการดำเนินการ
4.1 เป้าหมายการค้นหา (ปี 2547)
1) ค้นหาคนเก่งชุมชน (Talented/Gifted/Skilled) หมู่บ้านละ 5 คน รวมเป็น 375,000 คน
2) ค้นหาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน จากคนเก่งชุมชนในข้อ 1 หมู่บ้านละ1 คน รวมเป็น 75,000 คน
3) ค้นหาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับตำบล จากคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษระดับหมู่บ้าน/ชุมชน ตามข้อ 2 ตำบลละ 1 คน รวม 7,500 คน
4.2 เป้าหมายการสร้างกระบวนการสนับสนุน/พัฒนาคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งเป็น 2 ช่วง
ช่วงที่ 1 (ปี 2547)
- สร้างฐานข้อมูลและจัดกลุ่มองค์ความรู้และคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษ ตลอดจนการจัดกลุ่มตามสาขาต่าง ๆ
- พัฒนาทักษะ ความรู้ ความสามารถ และบทบาทของคนเก่งชุมชน เพื่อนำไปสู่การถ่ายทอดและสร้างกระบวนการเรียนรู้ในชุมชน
- พัฒนาเครือข่ายและประชาคมคนเก่งที่มีความสามารถพิเศษสาขาต่าง ๆ
ช่วงที่ 2 (ปี 2548 - 2549)
- พัฒนาให้เกิดศูนย์รวบรวมและพัฒนาการเรียนรู้ของชุมชนขึ้นทุกตำบล และพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ในระดับต่าง ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-