แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับแก้ไขแล้ว
2. เห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งอุทยานแห่งการเรียนรู้ และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นหน่วยงานเพิ่มเติมภายใต้สำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งนี้ในช่วงที่ยังไม่มีสำนักงานฯ เป็นทางการเห็นควรให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประสานและเตรียมงานในรายละเอียดต่อไป
3. เห็นชอบให้มีห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Reference Library) เพิ่มเติมภายใต้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบและเสนอขอสนับสนุนงบประมาณในรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในหลักการแล้ว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ให้มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านภายในเพื่อบริหารการเรียนรู้แต่ละด้านอย่างเหมาะสม ดังนี้
1. ได้แก้ถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น ในร่างมาตรา 18 (12) เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและให้อำนาจสำนักงานที่จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือที่ปรึกษา ข้อเสนอแนะ หรือช่วยปฏิบัติงานเรื่องหนึ่ง เรื่องใดได้ตามความเหมาะสม
2. ได้แก้ไขร่างมาตรา 18 (11) และร่างมาตรา 27 รวมทั้งตัดบทบัญญัติ มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา 30 ออก เพื่อให้หน่วยงานเฉพาะด้านที่จะตั้งใหม่เกิดขึ้น หรือยุบเลิกได้ โดยประกาศของคณะกรรมการบริหาร
หน่วยงานเฉพาะด้านภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ในชั้นต้นนี้จะมีหน่วยงานเฉพาะด้าน 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (2) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย (3) ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ (4) อุทยานแห่งการเรียนรู้ และ 5 พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
หน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้แก่ (1) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (2) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย และ (3) ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ โดยมีความก้าวหน้าสรุปได้ ดังนี้
1. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
โครงการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ จะจัดตั้งในพื้นที่ อัมรินทร์ พลาซ่า ขณะนี้ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในปีที่ 1 จำนวน 294,836,700 บาทแล้ว โดยคณะกรรมการนโยบายศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กำลังดำเนินการสรรหาบุคลากร การพิจารณาคัดเลือกด้านการออกแบบและใช้ประโยชน์พื้นที่ การจัดเตรียมนิทรรศการการสัมมนา โดยจะได้เร่งดำเนินการเพื่อจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบให้แล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2547 นี้
ประธานคณะกรรมการนโยบายศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้จัดทำข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบในการจัดตั้งห้องสมุดเฉพาะทางด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Design Reference Library) โดยมีงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 497.8 ล้านบาทระยะเวลา 5 ปี ในพื้นที่อัมรินทร์ พลาซ่า ชั้น 4 ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ
2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย
ได้รับงบประมาณดำเนินการ จำนวน 165 ล้านบาท ทั้งนี้ สำนักบริหารโครงสร้างในเบื้องต้นอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ
ในเบื้องต้นได้กำหนดกลุ่มสาขา ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ดนตรี กีฬา ศิลปะการแสดง โดยศูนย์นี้จะทำหน้าที่เสาะหาและพัฒนาส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ให้ได้ใช้ความสามารถเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศและสังคม ขณะนี้ได้จัดระดมสมองจากนักคิด ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในสาขาต่าง ๆ อาทิ ดนตรี กีฬา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประมาณ 1,000 คน จำนวน 30 ครั้ง เพื่อหาแนวทางเสาะหาผู้มีความสามารถพิเศษ
สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีความสามารถพิเศษ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนา และเสาะหาผู้มีความสามารถพิเศษ ต่อไป
หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการเตรียมงานเพิ่มเติม ได้แก่ อุทยานแห่งการเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีความพร้อมทั้งในด้านกรอบแนวคิด วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
อุทยานแห่งการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย พร้อมทั้งพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ การเรียนรู้ การแสดงออก การใช้ประสบการณ์ การพักผ่อนหย่อนใจ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชีวิตในสังคมอย่างเต็มที่และมีคุณค่า
กรอบแนวคิดและรูปแบบ เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต ทันสมัยในระดับมาตรฐานโลก เป็นห้องสมุดที่มีมากกว่าหนังสือ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความเป็นไทยกับสากล (Landmark) และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่ออนาคตที่ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงเครือข่ายกระจายความรู้ (Nodes) ในลักษณะ "Supermarket or Convenience Store of Media" โดยมีรูปแบบบริหารจัดการแนวใหม่ให้เอกชนมีส่วนร่วม ซึ่งจะเริ่มโครงการนำร่องในส่วนกลางแห่งแรกที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวายเดิม ในพื้นที่ 21 ไร่
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะ "เครือญาติ" กับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค
กรอบแนวคิดและรูปแบบ ประกอบด้วยเนื้อหาใน 7 ส่วนงาน คือ 1) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และนิเวศวิทยาเขตร้อนของไทย 2) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย 3) พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในประเทศไทย 4) พิพิธภัณฑ์ระบบความเชื่อกับความเป็นไทย 5) พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย 6) พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยและการพัฒนาเทคโนโลยี และ 7) พิพิธภัณฑ์ศักยภาพคนไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับแก้ไขแล้ว
2. เห็นชอบในหลักการของการจัดตั้งอุทยานแห่งการเรียนรู้ และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ เป็นหน่วยงานเพิ่มเติมภายใต้สำนักงานบริหาร และพัฒนาองค์ความรู้ ทั้งนี้ในช่วงที่ยังไม่มีสำนักงานฯ เป็นทางการเห็นควรให้สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่ประสานและเตรียมงานในรายละเอียดต่อไป
3. เห็นชอบให้มีห้องสมุดเฉพาะด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Reference Library) เพิ่มเติมภายใต้ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบและเสนอขอสนับสนุนงบประมาณในรายละเอียดตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีในหลักการแล้ว ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ปรับแก้ไขร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ให้มีความยืดหยุ่นที่จะสามารถจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะด้านภายในเพื่อบริหารการเรียนรู้แต่ละด้านอย่างเหมาะสม ดังนี้
1. ได้แก้ถ้อยคำให้ชัดเจนขึ้น ในร่างมาตรา 18 (12) เพื่อให้มีความยืดหยุ่นและให้อำนาจสำนักงานที่จะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ คณะทำงานหรือที่ปรึกษา ข้อเสนอแนะ หรือช่วยปฏิบัติงานเรื่องหนึ่ง เรื่องใดได้ตามความเหมาะสม
2. ได้แก้ไขร่างมาตรา 18 (11) และร่างมาตรา 27 รวมทั้งตัดบทบัญญัติ มาตรา 28 มาตรา 29 และมาตรา 30 ออก เพื่อให้หน่วยงานเฉพาะด้านที่จะตั้งใหม่เกิดขึ้น หรือยุบเลิกได้ โดยประกาศของคณะกรรมการบริหาร
หน่วยงานเฉพาะด้านภายใต้สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ ในชั้นต้นนี้จะมีหน่วยงานเฉพาะด้าน 5 หน่วยงาน ประกอบด้วย (1) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (2) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย (3) ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ (4) อุทยานแห่งการเรียนรู้ และ 5 พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
หน่วยงานที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ได้แก่ (1) ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (2) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย และ (3) ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ โดยมีความก้าวหน้าสรุปได้ ดังนี้
1. ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
โครงการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ จะจัดตั้งในพื้นที่ อัมรินทร์ พลาซ่า ขณะนี้ได้รับการพิจารณาจัดสรรงบประมาณในปีที่ 1 จำนวน 294,836,700 บาทแล้ว โดยคณะกรรมการนโยบายศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กำลังดำเนินการสรรหาบุคลากร การพิจารณาคัดเลือกด้านการออกแบบและใช้ประโยชน์พื้นที่ การจัดเตรียมนิทรรศการการสัมมนา โดยจะได้เร่งดำเนินการเพื่อจัดตั้งศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบให้แล้วเสร็จ คาดว่าจะสามารถเปิดดำเนินการได้ในเดือน มิถุนายน พ.ศ. 2547 นี้
ประธานคณะกรรมการนโยบายศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบได้จัดทำข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบในการจัดตั้งห้องสมุดเฉพาะทางด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Design Reference Library) โดยมีงบประมาณเพิ่มเติม จำนวน 497.8 ล้านบาทระยะเวลา 5 ปี ในพื้นที่อัมรินทร์ พลาซ่า ชั้น 4 ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ
2. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพของประเทศไทย
ได้รับงบประมาณดำเนินการ จำนวน 165 ล้านบาท ทั้งนี้ สำนักบริหารโครงสร้างในเบื้องต้นอยู่ที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
3. ศูนย์ส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษแห่งชาติ
ในเบื้องต้นได้กำหนดกลุ่มสาขา ประกอบด้วย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การใช้ภาษา ดนตรี กีฬา ศิลปะการแสดง โดยศูนย์นี้จะทำหน้าที่เสาะหาและพัฒนาส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษ ให้ได้ใช้ความสามารถเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประเทศและสังคม ขณะนี้ได้จัดระดมสมองจากนักคิด ทั้งในส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ในสาขาต่าง ๆ อาทิ ดนตรี กีฬา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ประมาณ 1,000 คน จำนวน 30 ครั้ง เพื่อหาแนวทางเสาะหาผู้มีความสามารถพิเศษ
สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างผู้เชี่ยวชาญ และผู้มีความสามารถพิเศษ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อเป็นแกนหลักในการพัฒนา และเสาะหาผู้มีความสามารถพิเศษ ต่อไป
หน่วยงานที่อยู่ระหว่างการเตรียมงานเพิ่มเติม ได้แก่ อุทยานแห่งการเรียนรู้และพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ ซึ่งทั้ง 2 โครงการมีความพร้อมทั้งในด้านกรอบแนวคิด วัตถุประสงค์และแผนการดำเนินงานแล้ว โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
อุทยานแห่งการเรียนรู้
วัตถุประสงค์ เพื่อปลูกฝังนิสัยรักการอ่านด้วยการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเข้าร่วมกิจกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย พร้อมทั้งพัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ การเรียนรู้ การแสดงออก การใช้ประสบการณ์ การพักผ่อนหย่อนใจ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของชีวิตในสังคมอย่างเต็มที่และมีคุณค่า
กรอบแนวคิดและรูปแบบ เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่มีชีวิต ทันสมัยในระดับมาตรฐานโลก เป็นห้องสมุดที่มีมากกว่าหนังสือ เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีเอกลักษณ์ด้านสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความเป็นไทยกับสากล (Landmark) และเป็นแหล่งเรียนรู้เพื่ออนาคตที่ใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงเครือข่ายกระจายความรู้ (Nodes) ในลักษณะ "Supermarket or Convenience Store of Media" โดยมีรูปแบบบริหารจัดการแนวใหม่ให้เอกชนมีส่วนร่วม ซึ่งจะเริ่มโครงการนำร่องในส่วนกลางแห่งแรกที่สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตอุเทนถวายเดิม ในพื้นที่ 21 ไร่
พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ
วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้ความรู้เรื่องความเป็นมาของบ้านเมือง จนมาเป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เพื่อก่อเกิดการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึกรักบ้านเมืองและท้องถิ่นของตน รวมทั้งเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในลักษณะ "เครือญาติ" กับประเทศเพื่อนบ้านอันเป็นองค์ความรู้ที่นำไปสู่ความมั่นคงและสันติภาพในภูมิภาค
กรอบแนวคิดและรูปแบบ ประกอบด้วยเนื้อหาใน 7 ส่วนงาน คือ 1) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และนิเวศวิทยาเขตร้อนของไทย 2) พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ชาติไทย 3) พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์ในประเทศไทย 4) พิพิธภัณฑ์ระบบความเชื่อกับความเป็นไทย 5) พิพิธภัณฑ์ศิลปะและวัฒนธรรมไทย 6) พิพิธภัณฑ์ภูมิปัญญาไทยและการพัฒนาเทคโนโลยี และ 7) พิพิธภัณฑ์ศักยภาพคนไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-