คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การเอกชน ตามที่กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอโดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับไปแก้ไขรายละเอียดตามข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 6 แล้วดำเนินการต่อไปได้
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การเอกชน ประกอบด้วยความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน ความหมายขององค์การเอกชน ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การเอกชน การประเมินสถานภาพองค์การเอกชน (จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อจำกัด โอกาส) วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การเอกชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งและสร้างการยอมรับองค์การเอกชน มีกิจกรรมหลักเพื่อการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์การเอกชนและการสร้างการยอมรับ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาระบบข้อมูล การวางแผน การเงินและบัญชี การติดตามประเมินผล การพัฒนามาตรฐานองค์การ บุคลากร และการให้บริการ การประสานงาน การวิจัย วัสดุอุปกรณ์และการจัดสวัสดิการ สร้างขวัญกำลังใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การระดมทุนและมาตรการการเงินการคลังเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์การเอกชน มีกิจกรรมหลัก เพื่อการระดมทุนและมาตรการการเงินการคลัง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาความร่วมมือขององค์การเอกชนมีกิจกรรมหลักเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของหน่วยงานกลางระดับชาติและระดับจังหวัดขององค์การเอกชน ขยายเครือข่ายองค์การเอกชนให้ครอบคลุมทุกระดับ สนับสนุนให้มีกฎหมายหรือระเบียบรองรับการดำเนินงานเครือข่ายการรวมตัวกันขององค์การเอกชน ส่งเสริมการช่วยเหลือกันในการทำงานระหว่างองค์การเอกชนที่เข้มแข็ง กับองค์การเอกชนที่ไม่เข้มแข็ง สมควรให้มีผู้แทนองค์การเอกชนในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่รับจัดตั้งขึ้น สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการงานระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน รัฐควรสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์การเอกชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
ยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การเอกชน ประกอบด้วยความเป็นมา วัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินงาน ความหมายขององค์การเอกชน ความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์ชาติและยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การเอกชน การประเมินสถานภาพองค์การเอกชน (จุดอ่อน จุดแข็ง ข้อจำกัด โอกาส) วิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์การพัฒนาองค์การเอกชน ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมให้มีการจัดตั้งและสร้างการยอมรับองค์การเอกชน มีกิจกรรมหลักเพื่อการส่งเสริมให้มีการจัดตั้งองค์การเอกชนและการสร้างการยอมรับ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงาน มีกิจกรรมหลักเพื่อพัฒนาระบบข้อมูล การวางแผน การเงินและบัญชี การติดตามประเมินผล การพัฒนามาตรฐานองค์การ บุคลากร และการให้บริการ การประสานงาน การวิจัย วัสดุอุปกรณ์และการจัดสวัสดิการ สร้างขวัญกำลังใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การระดมทุนและมาตรการการเงินการคลังเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์การเอกชน มีกิจกรรมหลัก เพื่อการระดมทุนและมาตรการการเงินการคลัง
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาความร่วมมือขององค์การเอกชนมีกิจกรรมหลักเพื่อส่งเสริมการดำเนินงานของหน่วยงานกลางระดับชาติและระดับจังหวัดขององค์การเอกชน ขยายเครือข่ายองค์การเอกชนให้ครอบคลุมทุกระดับ สนับสนุนให้มีกฎหมายหรือระเบียบรองรับการดำเนินงานเครือข่ายการรวมตัวกันขององค์การเอกชน ส่งเสริมการช่วยเหลือกันในการทำงานระหว่างองค์การเอกชนที่เข้มแข็ง กับองค์การเอกชนที่ไม่เข้มแข็ง สมควรให้มีผู้แทนองค์การเอกชนในคณะกรรมการชุดต่าง ๆ ที่รับจัดตั้งขึ้น สนับสนุนให้เกิดการบูรณาการงานระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อไปสู่เป้าหมายร่วมกัน รัฐควรสนับสนุนงบประมาณในการส่งเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายองค์การเอกชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-