คณะรัฐมนตรีรับทราบโครงการเพิ่มมูลค่าพลังน้ำชลประทานเป็นไฟฟ้าตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ : เพิ่มมูลค่าพลังน้ำชลประทานเป็นไฟฟ้า โดยพัฒนาน้ำที่ไหลจากเขื่อนชลประทานมาแปลงเป็นไฟฟ้า โดยมิต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการขายไฟฟ้าคืนให้ชุมชนในพื้นที่พัฒนาต่อไป
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือของกระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. ความเป็นมา : กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ศึกษาร่วมกันในการพัฒนาเขื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยกว่า 6,000 แห่ง ถึงศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าจากน้ำ โดยการผลิตเป็นไฟฟ้า
3. การดำเนินการ :
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดหาผู้ลงทุน โดยกระทรวงพลังงานให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคนิค รวมถึง การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)ในราคาตลาดซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1.70 บาท/MW
- โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) พร้อมที่จาลงทุนและรับซื้อไฟฟ้าจากการพัฒนาเขื่อนชลประทานทั่วประเทศไทยที่มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าผลิตไฟฟ้า
- ทั้งนี้ เงินที่ได้รับจากการขายไฟฟ้าหลังจากหักภาระค่าใช้จ่ายและการคืนเงินลงทุน จะนำไปจัดตั้งเป็นเงินหมุนเวียนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรม และใช้ในการพัฒนาโครงการเพิ่มมูลค่าพลังน้ำชลประทานเป็นไฟฟ้าต่อไป
- นอกจากนี้ ยังผลักดัน Renewable Portfolio Standard (RPS) ที่กำหนดสัดส่วนการผลิตพลังงานทดแทนสำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ ของประเทศไทยไว้ 3 - 5% ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. วัตถุประสงค์ : เพิ่มมูลค่าพลังน้ำชลประทานเป็นไฟฟ้า โดยพัฒนาน้ำที่ไหลจากเขื่อนชลประทานมาแปลงเป็นไฟฟ้า โดยมิต้องใช้เงินงบประมาณแผ่นดิน นอกจากนี้ ยังมีรายได้จากการขายไฟฟ้าคืนให้ชุมชนในพื้นที่พัฒนาต่อไป
2. หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยความร่วมมือของกระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3. ความเป็นมา : กระทรวงพลังงาน และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ศึกษาร่วมกันในการพัฒนาเขื่อนที่มีอยู่ในประเทศไทยกว่า 6,000 แห่ง ถึงศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าจากน้ำ โดยการผลิตเป็นไฟฟ้า
3. การดำเนินการ :
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะจัดหาผู้ลงทุน โดยกระทรวงพลังงานให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการและเทคนิค รวมถึง การขายไฟฟ้าให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.)ในราคาตลาดซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 1.70 บาท/MW
- โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) พร้อมที่จาลงทุนและรับซื้อไฟฟ้าจากการพัฒนาเขื่อนชลประทานทั่วประเทศไทยที่มีศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าผลิตไฟฟ้า
- ทั้งนี้ เงินที่ได้รับจากการขายไฟฟ้าหลังจากหักภาระค่าใช้จ่ายและการคืนเงินลงทุน จะนำไปจัดตั้งเป็นเงินหมุนเวียนให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ให้ได้รับประโยชน์อย่างเป็นธรรม และใช้ในการพัฒนาโครงการเพิ่มมูลค่าพลังน้ำชลประทานเป็นไฟฟ้าต่อไป
- นอกจากนี้ ยังผลักดัน Renewable Portfolio Standard (RPS) ที่กำหนดสัดส่วนการผลิตพลังงานทดแทนสำหรับโรงไฟฟ้าใหม่ ของประเทศไทยไว้ 3 - 5% ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-