คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีรายงานผลการประชุมหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมมนตรีที่เกี่ยวข้องในการจัดที่ทำกินให้ประชาชนเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาสังคมและความยากจน รวม 6 หน่วยงาน สรุปสาระสำคัญดังนี้
1. กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
จัดการที่ดินป่าไม้เพื่อแก้ไขปัญหา เรื่องที่ดินอยู่อาศัยทำกินโดยตรวจสอบการถือครองพื้นที่ป่าไม้ กำหนดขอบเขตในการทำประโยชน์ รับรองสิทธิ และควบคุมพื้นที่มิให้มีการบุกรุกเพิ่มเติม
2.2 ข้อมูลที่ดิน
- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้ทำการสำรวจการถือครองพื้นที่ป่าไม้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 กันยายน 2540 และวันที่ 30 มิถุนายน 2541 มีราษฎรถือครอง 336,834 ราย เนื้อที่ประมาณ 5.7 ล้านไร่ ใน 66 จังหวัด สามารถทำการตรวจสอบกำหนดขอบเขตการทำประโยชน์ และรับรองสิทธิได้ทันที
- พื้นที่ป่าไม้ถาวร เนื้อที่ประมาณ 10.5 ล้านไร่ ซึ่งต้องดำเนินการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่ยังดำเนินการสำรวจไม่แล้วเสร็จ คาดว่ามีราษฎรเข้าถือครองทำประโยชน์อยู่บางส่วน จะทำการสำรวจและดำเนินการรับรองสิทธิได้ประมาณ 1.7 ล้านไร่
2. กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
2.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการนำที่ราชพัสดุมาใช้เพื่อตอบสนองนโยบายการบริหารจัดการที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยนำมาจัดให้ราษฎรเช่าอยู่อาศัยและทำกิน ทั้งนี้ให้ดำเนินการควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
2.2 ข้อมูลที่ดิน
ดำเนินการในที่ราชพัสดุ จำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งมีราษฎรเข้าถือครองทำประโยชน์อยู่แล้วบางส่วน โดยส่วนที่มีราษฎรเข้าถือครองทำประโยชน์แล้ว สามารถดำเนินการจัดให้เช่าโดยไม่ต้องให้หน่วยราชการที่ถือครองใช้ประโยชน์ยินยอมหรือส่งคืนพื้นที่ และถ้าอยู่ในเขตผังเมืองรวมก็สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขัดกับกฎหมายผังเมืองสำหรับที่ดินราชพัสดุ ที่เป็นที่ว่างยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในราชการ ถ้าจะจัดให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์จะต้องได้รับความยินยอมหรือส่งพื้นที่คืนให้กรมธนารักษ์ก่อน และถ้าอยู่ในเขตพื้นที่ผังเมืองรวมต้องดำเนินการตามกฎหมายผังเมืองด้วย ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ราชพัสดุให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทำกินเป็นการจัดให้เช่าตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และวันที่ 25 มิถุนายน 2545
3. ส.ป.ก.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยการจัดที่ดินให้แก่ผู้ถือครองที่ดินของรัฐที่มีคุณสมบัติให้เข้าทำประโยชน์ ซึ่งต่อไปสามารถเช่าหรือเช่าซื้อได้ตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน จัดที่ดินชุมชนประเภทที่อยู่อาศัยและกิจการที่เป็นการสนับสนุนเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน พัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาที่ดินให้แก่ราษฎรในพื้นที่
3.2 ข้อมูลที่ดิน
ส.ป.ก. มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 42.5 ล้านไร่ ซึ่งได้มอบ ส.ป.ก. 4-01 แล้วจำนวน 23.5 ล้านไร่ คงเหลือพื้นที่ จำนวน 18.9 ล้านไร่
- พื้นที่เกษตรกรรมสามารถนำมาจัดให้เกษตรกรได้ จำนวน 16.3 ล้านไร่ ประมาณ 900,000 ราย
- พื้นที่ชุมชนที่เกษตรกรและราษฎรถือครองสามารถนำมาจัดได้จำนวน 0.65 ล้านไร่ 5,000 ชุมชน - พื้นที่ที่ราษฎรถือครองลักษณะเป็นแปลงใหญ่ ไม่สามารถนำมาจัดได้ทันที ต้องดำเนินกาตามกระบวนการก่อน เช่น เจรจาหาวิธีการกระจายสิทธิหรือฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เมื่อได้มาแล้วสามารถจัดให้เกษตรกรผู้ยากไร้ที่ดินทำกินจำนวน 0.85 ล้านไร่
- พื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการจัดได้ เนื่องจากมีเอกสารสิทธิที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์ เช่น เป็นหนองน้ำ ฯลฯ จำนวน 1.15 ล้านไร่
การดำเนินการจัดที่ดินของรัฐในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ต้องดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน โดยการสอบสวนสิทธิในที่ดิน สามารถดำเนินการได้ทันที ถ้าได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมเพราะได้มีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นไว้แล้ว
4. กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการในรูปของสหกรณ์การเช่าที่ดิน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม ซึ่งกรมป่าไม้อนุญาตให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เข้าทำประโยชน์เพื่อจัดที่ดินให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทำกิน โดยการเช่า และก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน บริการสาธารณะต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพของราษฎร
4.2 ข้อมูลที่ดิน
พื้นที่ดำเนินการ จำนวน 13 นิคม ใน 13 จังหวัด เนื้อที่ประมาณ 1,512,053 ไร่ มีสมาชิก จำนวน 33,555 ราย ได้ดำเนินการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ และทำการสำรวจรังวัดแปลงที่ดินแล้วประมาณ 500,000 ไร่ เหลือพื้นที่ที่จะต้องดำเนินการสำรวจรังวัดประมาณ 1 ล้านไร่ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะดำเนินการรับรองสิทธิให้กับราษฎร และได้เสนอเรื่องขอถอนสภาพป่าไม้ไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรีแล้ว
5. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
5.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการจัดที่ดินในที่ดินสงวนของนิคมสร้างตนเอง โดยเป็นพื้นที่ป่าไม้ส่วนกลาง 20% และพื้นที่สงวนเพื่อกิจการนิคม ซึ่งมีราษฎรอยู่อาศัยก่อนที่ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมและบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในภายหลังการจัดตั้งนิคม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน สร้างความมั่นคงและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
5.2 ข้อมูลที่ดิน
ดำเนินการในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง จำนวน 44 นิคม ใน 34 จังหวัด ในพื้นที่ป่าไม้ส่วนกลาง 20 % และที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมประมาณ 150,000 ไร่ โดยเป็นการรับรองสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้บุกรุกถือครองอยู่แล้วแต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ในเบื้องต้นต้องมีการสำรวจข้อมูลการถือครองที่ดินก่อน
6. กรมที่ดิน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
6.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการบริหารจัดการที่ดินของรัฐประเภทที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว มีเนื้อที่แปลงตั้งแต่ 1,000 ไร่ ขึ้นไป นำมาใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการนำที่ดินของรัฐมาจัดสรรพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย หรือทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ เพื่อประกอบอาชีพและส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรแบบยั่งยืน ด้วยการให้สิทธิเข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินของรัฐ โดยไม่มีการออกเอกสารสิทธิให้
6.2 ข้อมูลที่ดิน
ดำเนินการในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว ในลักษณะแปลงใหญ่มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1,000 ไร่ขึ้นไป ในที่ดินสาธารณประโยชน์ 609 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1.5 ล้านไร่ โดยจะนำมาจัดให้ราษฎรอยู่อาศัยและทำกินได้ 1 ล้านไร่ ใน 58 จังหวัด ตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจะต้องมีการสำรวจข้อมูลที่ดินในเบื้องต้นก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. กรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
จัดการที่ดินป่าไม้เพื่อแก้ไขปัญหา เรื่องที่ดินอยู่อาศัยทำกินโดยตรวจสอบการถือครองพื้นที่ป่าไม้ กำหนดขอบเขตในการทำประโยชน์ รับรองสิทธิ และควบคุมพื้นที่มิให้มีการบุกรุกเพิ่มเติม
2.2 ข้อมูลที่ดิน
- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งได้ทำการสำรวจการถือครองพื้นที่ป่าไม้แล้ว ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 กันยายน 2540 และวันที่ 30 มิถุนายน 2541 มีราษฎรถือครอง 336,834 ราย เนื้อที่ประมาณ 5.7 ล้านไร่ ใน 66 จังหวัด สามารถทำการตรวจสอบกำหนดขอบเขตการทำประโยชน์ และรับรองสิทธิได้ทันที
- พื้นที่ป่าไม้ถาวร เนื้อที่ประมาณ 10.5 ล้านไร่ ซึ่งต้องดำเนินการประกาศให้เป็นป่าสงวนแห่งชาติ แต่ยังดำเนินการสำรวจไม่แล้วเสร็จ คาดว่ามีราษฎรเข้าถือครองทำประโยชน์อยู่บางส่วน จะทำการสำรวจและดำเนินการรับรองสิทธิได้ประมาณ 1.7 ล้านไร่
2. กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
2.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการนำที่ราชพัสดุมาใช้เพื่อตอบสนองนโยบายการบริหารจัดการที่ดินของรัฐเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน โดยนำมาจัดให้ราษฎรเช่าอยู่อาศัยและทำกิน ทั้งนี้ให้ดำเนินการควบคู่ไปกับยุทธศาสตร์ของกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง
2.2 ข้อมูลที่ดิน
ดำเนินการในที่ราชพัสดุ จำนวน 1 ล้านไร่ ซึ่งมีราษฎรเข้าถือครองทำประโยชน์อยู่แล้วบางส่วน โดยส่วนที่มีราษฎรเข้าถือครองทำประโยชน์แล้ว สามารถดำเนินการจัดให้เช่าโดยไม่ต้องให้หน่วยราชการที่ถือครองใช้ประโยชน์ยินยอมหรือส่งคืนพื้นที่ และถ้าอยู่ในเขตผังเมืองรวมก็สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขัดกับกฎหมายผังเมืองสำหรับที่ดินราชพัสดุ ที่เป็นที่ว่างยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ในราชการ ถ้าจะจัดให้ราษฎรเข้าทำประโยชน์จะต้องได้รับความยินยอมหรือส่งพื้นที่คืนให้กรมธนารักษ์ก่อน และถ้าอยู่ในเขตพื้นที่ผังเมืองรวมต้องดำเนินการตามกฎหมายผังเมืองด้วย ซึ่งการดำเนินการเกี่ยวกับการจัดที่ราชพัสดุให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทำกินเป็นการจัดให้เช่าตามกฎหมายที่ราชพัสดุ และตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 21 สิงหาคม 2533 และวันที่ 25 มิถุนายน 2545
3. ส.ป.ก.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
3.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยการจัดที่ดินให้แก่ผู้ถือครองที่ดินของรัฐที่มีคุณสมบัติให้เข้าทำประโยชน์ ซึ่งต่อไปสามารถเช่าหรือเช่าซื้อได้ตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน จัดที่ดินชุมชนประเภทที่อยู่อาศัยและกิจการที่เป็นการสนับสนุนเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดิน พัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาที่ดินให้แก่ราษฎรในพื้นที่
3.2 ข้อมูลที่ดิน
ส.ป.ก. มีพื้นที่ทั้งหมดจำนวน 42.5 ล้านไร่ ซึ่งได้มอบ ส.ป.ก. 4-01 แล้วจำนวน 23.5 ล้านไร่ คงเหลือพื้นที่ จำนวน 18.9 ล้านไร่
- พื้นที่เกษตรกรรมสามารถนำมาจัดให้เกษตรกรได้ จำนวน 16.3 ล้านไร่ ประมาณ 900,000 ราย
- พื้นที่ชุมชนที่เกษตรกรและราษฎรถือครองสามารถนำมาจัดได้จำนวน 0.65 ล้านไร่ 5,000 ชุมชน - พื้นที่ที่ราษฎรถือครองลักษณะเป็นแปลงใหญ่ ไม่สามารถนำมาจัดได้ทันที ต้องดำเนินกาตามกระบวนการก่อน เช่น เจรจาหาวิธีการกระจายสิทธิหรือฟ้องร้องดำเนินคดี ซึ่งต้องใช้เวลาในการดำเนินการ เมื่อได้มาแล้วสามารถจัดให้เกษตรกรผู้ยากไร้ที่ดินทำกินจำนวน 0.85 ล้านไร่
- พื้นที่ที่ไม่สามารถดำเนินการจัดได้ เนื่องจากมีเอกสารสิทธิที่ดินเป็นที่สาธารณประโยชน์ เช่น เป็นหนองน้ำ ฯลฯ จำนวน 1.15 ล้านไร่
การดำเนินการจัดที่ดินของรัฐในพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ชุมชนให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ต้องดำเนินการตามกฎหมายปฏิรูปที่ดิน โดยการสอบสวนสิทธิในที่ดิน สามารถดำเนินการได้ทันที ถ้าได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมเพราะได้มีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นไว้แล้ว
4. กรมส่งเสริมสหกรณ์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
4.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการในรูปของสหกรณ์การเช่าที่ดิน ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเสื่อมโทรม ซึ่งกรมป่าไม้อนุญาตให้กรมส่งเสริมสหกรณ์เข้าทำประโยชน์เพื่อจัดที่ดินให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยและทำกิน โดยการเช่า และก่อสร้างปัจจัยพื้นฐาน บริการสาธารณะต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพของราษฎร
4.2 ข้อมูลที่ดิน
พื้นที่ดำเนินการ จำนวน 13 นิคม ใน 13 จังหวัด เนื้อที่ประมาณ 1,512,053 ไร่ มีสมาชิก จำนวน 33,555 ราย ได้ดำเนินการก่อสร้างปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ และทำการสำรวจรังวัดแปลงที่ดินแล้วประมาณ 500,000 ไร่ เหลือพื้นที่ที่จะต้องดำเนินการสำรวจรังวัดประมาณ 1 ล้านไร่ กรมส่งเสริมสหกรณ์จะดำเนินการรับรองสิทธิให้กับราษฎร และได้เสนอเรื่องขอถอนสภาพป่าไม้ไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อนำเข้าคณะรัฐมนตรีแล้ว
5. กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
5.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการจัดที่ดินในที่ดินสงวนของนิคมสร้างตนเอง โดยเป็นพื้นที่ป่าไม้ส่วนกลาง 20% และพื้นที่สงวนเพื่อกิจการนิคม ซึ่งมีราษฎรอยู่อาศัยก่อนที่ประกาศพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งนิคมและบุกรุกเข้าทำประโยชน์ในภายหลังการจัดตั้งนิคม เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน สร้างความมั่นคงและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ
5.2 ข้อมูลที่ดิน
ดำเนินการในพื้นที่นิคมสร้างตนเอง จำนวน 44 นิคม ใน 34 จังหวัด ในพื้นที่ป่าไม้ส่วนกลาง 20 % และที่ดินสงวนเพื่อกิจการนิคมประมาณ 150,000 ไร่ โดยเป็นการรับรองสิทธิในที่ดินให้แก่ผู้บุกรุกถือครองอยู่แล้วแต่ไม่ให้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน และต้องได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติ ในเบื้องต้นต้องมีการสำรวจข้อมูลการถือครองที่ดินก่อน
6. กรมที่ดิน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
6.1 นโยบาย/ยุทธศาสตร์
ดำเนินการบริหารจัดการที่ดินของรัฐประเภทที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว มีเนื้อที่แปลงตั้งแต่ 1,000 ไร่ ขึ้นไป นำมาใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาความยากจน โดยการนำที่ดินของรัฐมาจัดสรรพัฒนาเป็นที่อยู่อาศัย หรือทำกินให้แก่ราษฎรผู้ยากไร้ เพื่อประกอบอาชีพและส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรแบบยั่งยืน ด้วยการให้สิทธิเข้าอยู่อาศัยและทำกินในที่ดินของรัฐ โดยไม่มีการออกเอกสารสิทธิให้
6.2 ข้อมูลที่ดิน
ดำเนินการในที่ดินสาธารณประโยชน์ที่มีหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงแล้ว ในลักษณะแปลงใหญ่มีเนื้อที่ตั้งแต่ 1,000 ไร่ขึ้นไป ในที่ดินสาธารณประโยชน์ 609 แปลง เนื้อที่ประมาณ 1.5 ล้านไร่ โดยจะนำมาจัดให้ราษฎรอยู่อาศัยและทำกินได้ 1 ล้านไร่ ใน 58 จังหวัด ตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งจะต้องมีการสำรวจข้อมูลที่ดินในเบื้องต้นก่อน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-