คณะรัฐมนตรีรับทราบกรอบแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ด้วยกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายที่จะผลักดันให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง (Premium Grade) มีคุณลักษณะโดดเด่นเป็นที่เชื่อถือและเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นและมีราคาสูงขึ้น อันจะเป็นผลต่อเนื่องให้เกษตรกรในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญมีรายได้เพิ่มขึ้นและฐานะความเป็นอยู่สูงขึ้น จึงได้จัดทำกรอบแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ดังนี้
1. เป้าหมาย
1.1 เพื่อยกระดับคุณภาพข้าวหอมมะลิให้เป็นข้าวคุณภาพสูง(Premium Grade) ในสายตาผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยผลประโยชน์ที่ได้รับจะคืนกลับไปสู่เกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
1.2 เพื่อให้ข้าวหอมมะลิเป็นสินค้าประจำท้องถิ่นซึ่งมีคุณภาพแตกต่างกันบ้างตามลักษณะพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ โดยส่งเสริมรณรงค์ให้จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ปราศจากการปลอมปน โดยการกับดูแลของจังหวัดและกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน
2. แนวทางการดำเนินการ
2.1 การร่วมกิจกรรมและบรรจุหีบห่อ จังหวัดคัดเลือกโรงสีสหกรณ์/โรงสีเอกชนที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการและพัฒนาคุณภาพในการแปรสภาพ การรักษาคุณภาพและการบรรจุหีบห่อจากเดิมที่บรรจุกระสอบเป็นขนาดบรรจุที่เล็กลงสวยงามหลายขนาด สอดรับกับความต้องการของตลาด
2.2 การรับรองคุณภาพ จังหวัดให้การรับรองโดยการสร้างตรา/เครื่องหมายรับรองในระดับจังหวัด (Local Image) และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในให้เครื่องหมายรับรอง “รูปพนมมือ” สำหรับตลาดภายในประเทศ (National Image)
2.3 การเชื่อมโยงตลาดภายใน กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน สนับสนุนการทำการตลาดภายในประเทศด้วยการเชื่อมโยงตลาดกับห้างสรรพสินค้า Discount Store Supermarket รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้าโดยให้ความสำคัญในตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นลำดับแรก และขยายไปในภูมิภาคอื่น ๆ เป็นลำดับต่อไป
2.4 การส่งออกข้าวหอมมะลิสู่ผู้ซื้อต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศให้การรับรองมาตรฐาน “Thai Hom Mali Rice” ในการส่งออก (Country Image) และเชื่อมโยงจัดหาตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้า
3. พื้นที่และระยะเวลาดำเนินการ
ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 19 จังหวัด ในระยะเวลา 4 ปี โดยปี 2548 จะนำร่องในจังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2549 จำนวน 5 จังหวัด ปี 2550 จำนวน 6 จังหวัด ปี 2551 จำนวน 7 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--
ด้วยกระทรวงพาณิชย์ มีนโยบายที่จะผลักดันให้ข้าวหอมมะลิไทยเป็นข้าวที่มีคุณภาพสูง (Premium Grade) มีคุณลักษณะโดดเด่นเป็นที่เชื่อถือและเป็นที่ต้องการของตลาดเพิ่มขึ้นและมีราคาสูงขึ้น อันจะเป็นผลต่อเนื่องให้เกษตรกรในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่สำคัญมีรายได้เพิ่มขึ้นและฐานะความเป็นอยู่สูงขึ้น จึงได้จัดทำกรอบแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น ดังนี้
1. เป้าหมาย
1.1 เพื่อยกระดับคุณภาพข้าวหอมมะลิให้เป็นข้าวคุณภาพสูง(Premium Grade) ในสายตาผู้บริโภค ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยผลประโยชน์ที่ได้รับจะคืนกลับไปสู่เกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
1.2 เพื่อให้ข้าวหอมมะลิเป็นสินค้าประจำท้องถิ่นซึ่งมีคุณภาพแตกต่างกันบ้างตามลักษณะพื้นที่ของจังหวัดนั้น ๆ โดยส่งเสริมรณรงค์ให้จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่ปราศจากการปลอมปน โดยการกับดูแลของจังหวัดและกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน
2. แนวทางการดำเนินการ
2.1 การร่วมกิจกรรมและบรรจุหีบห่อ จังหวัดคัดเลือกโรงสีสหกรณ์/โรงสีเอกชนที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครงการและพัฒนาคุณภาพในการแปรสภาพ การรักษาคุณภาพและการบรรจุหีบห่อจากเดิมที่บรรจุกระสอบเป็นขนาดบรรจุที่เล็กลงสวยงามหลายขนาด สอดรับกับความต้องการของตลาด
2.2 การรับรองคุณภาพ จังหวัดให้การรับรองโดยการสร้างตรา/เครื่องหมายรับรองในระดับจังหวัด (Local Image) และกระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าภายในให้เครื่องหมายรับรอง “รูปพนมมือ” สำหรับตลาดภายในประเทศ (National Image)
2.3 การเชื่อมโยงตลาดภายใน กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าภายใน สนับสนุนการทำการตลาดภายในประเทศด้วยการเชื่อมโยงตลาดกับห้างสรรพสินค้า Discount Store Supermarket รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้าโดยให้ความสำคัญในตลาดกรุงเทพฯ และปริมณฑล เป็นลำดับแรก และขยายไปในภูมิภาคอื่น ๆ เป็นลำดับต่อไป
2.4 การส่งออกข้าวหอมมะลิสู่ผู้ซื้อต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศให้การรับรองมาตรฐาน “Thai Hom Mali Rice” ในการส่งออก (Country Image) และเชื่อมโยงจัดหาตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการจัดงานแสดงสินค้า
3. พื้นที่และระยะเวลาดำเนินการ
ในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 19 จังหวัด ในระยะเวลา 4 ปี โดยปี 2548 จะนำร่องในจังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2549 จำนวน 5 จังหวัด ปี 2550 จำนวน 6 จังหวัด ปี 2551 จำนวน 7 จังหวัด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 พฤษภาคม 2548--จบ--