คณะรัฐมนตรีอนุมัติการดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ขององค์การเภสัชกรรม ตามความเห็นของคณะกรรมการเภสัชกรรม ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ
กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้ประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อให้มาตรฐานการผลิตที่ดีจากองค์การอนามัยโลก (WHO-GMP) เมื่อวันที่7 พฤศจิกายน 2546 แล้ว สาระของการประชุม สรุปได้ดังนี้
1. องค์การเภสัชกรรมมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จในปี 2547 เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนโลกกำหนดว่า ในปี 2548 เงินที่ได้รับจากกองทุนโลกจะต้องซื้อยาจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก (WHO-GMP) และนอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมยังมีความจำเป็นที่ต้องขยายกำลังผลิตเพื่อให้รองรับความต้องการภายในประเทศด้วย
2. สำหรับการดำเนินการก่อสร้าง องค์การเภสัชกรรมได้จัดหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีประสบการณ์ในการออกแบบโรงงานผลิตยาที่ได้มาตรฐาน WHO-GMP หรือเทียบเท่า เพื่อทำการออกแบบโรงงาน จากการประชุมหารือกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ สรุปว่าระยะเวลาก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จจนกระทั่งสามารถได้รับการตรวจรับรองจากองค์การอนามัยโลกสั้นมาก จึงกำหนดแนวทางการดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ คือ องค์การเภสัชกรรมจะจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการออกแบบเบื้องต้น และออกแบบรายละเอียดเฉพาะส่วนของอาคาร จัดทำข้อกำหนด(Specification) ของเครื่องจักรที่ต้องใช้ในขบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งควบคุมงานก่อสร้างและควบคุมการตรวจสอบความถูกต้อง (Validation) หลังจากนั้นจะว่าจ้างบริษัทเพื่อทำการก่อสร้างอาคาร ออกแบบรายละเอียดระบบสนับสนุนการผลิตที่เหลือ ซื้อเครื่องจักรและจัดทำการตรวจสอบความถูกต้อง (Validation) ภายใต้การกำกับและควบคุมของบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ทำการออกแบบ
คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมได้พิจารณารายละเอียดของแผนการดำเนินการดังกล่าวแล้วเห็นว่าการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ขององค์การเภสัชกรรมไม่เข้าข่ายการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ตามคำนิยามในคู่มือการพิจารณาโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จของกระทรวงการคลัง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 ทั้งนี้ เนื่องจาก
1. การดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ขององค์การเภสัชกรรม ไม่ได้เป็นการจ้างบริษัทดำเนินการออกแบบสำรวจตั้งแต่ต้นจนกระทั่งการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเพียงบริษัทเดียว แต่หากแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ช่วง ตามข้อ 2
2. เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินการก่อสร้างเป็นเงินขององค์การเภสัชกรรมเอง ไม่ใช่เงินทุนที่จัดหาโดยบริษัทผู้รับเหมา
ดังนั้น องค์การเภสัชกรรมจึงสามารถที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ได้ โดยระเบียบขององค์การเภสัชกรรมเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอว่า รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) ได้ประชุมหารือผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับโครงการผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ เพื่อให้มาตรฐานการผลิตที่ดีจากองค์การอนามัยโลก (WHO-GMP) เมื่อวันที่7 พฤศจิกายน 2546 แล้ว สาระของการประชุม สรุปได้ดังนี้
1. องค์การเภสัชกรรมมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ดังกล่าวให้แล้วเสร็จในปี 2547 เนื่องจากคณะกรรมการกองทุนโลกกำหนดว่า ในปี 2548 เงินที่ได้รับจากกองทุนโลกจะต้องซื้อยาจากโรงงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก (WHO-GMP) และนอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรมยังมีความจำเป็นที่ต้องขยายกำลังผลิตเพื่อให้รองรับความต้องการภายในประเทศด้วย
2. สำหรับการดำเนินการก่อสร้าง องค์การเภสัชกรรมได้จัดหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีประสบการณ์ในการออกแบบโรงงานผลิตยาที่ได้มาตรฐาน WHO-GMP หรือเทียบเท่า เพื่อทำการออกแบบโรงงาน จากการประชุมหารือกับบริษัทผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ สรุปว่าระยะเวลาก่อสร้างโรงงานให้แล้วเสร็จจนกระทั่งสามารถได้รับการตรวจรับรองจากองค์การอนามัยโลกสั้นมาก จึงกำหนดแนวทางการดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ คือ องค์การเภสัชกรรมจะจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญ เพื่อทำการออกแบบเบื้องต้น และออกแบบรายละเอียดเฉพาะส่วนของอาคาร จัดทำข้อกำหนด(Specification) ของเครื่องจักรที่ต้องใช้ในขบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งควบคุมงานก่อสร้างและควบคุมการตรวจสอบความถูกต้อง (Validation) หลังจากนั้นจะว่าจ้างบริษัทเพื่อทำการก่อสร้างอาคาร ออกแบบรายละเอียดระบบสนับสนุนการผลิตที่เหลือ ซื้อเครื่องจักรและจัดทำการตรวจสอบความถูกต้อง (Validation) ภายใต้การกำกับและควบคุมของบริษัทผู้เชี่ยวชาญที่ทำการออกแบบ
คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมได้พิจารณารายละเอียดของแผนการดำเนินการดังกล่าวแล้วเห็นว่าการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ขององค์การเภสัชกรรมไม่เข้าข่ายการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จ (Turnkey) ตามคำนิยามในคู่มือการพิจารณาโครงการจ้างเหมาแบบเบ็ดเสร็จของกระทรวงการคลัง ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2546 ทั้งนี้ เนื่องจาก
1. การดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ขององค์การเภสัชกรรม ไม่ได้เป็นการจ้างบริษัทดำเนินการออกแบบสำรวจตั้งแต่ต้นจนกระทั่งการก่อสร้างจนแล้วเสร็จเพียงบริษัทเดียว แต่หากแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ช่วง ตามข้อ 2
2. เงินทุนที่ใช้ในการดำเนินการก่อสร้างเป็นเงินขององค์การเภสัชกรรมเอง ไม่ใช่เงินทุนที่จัดหาโดยบริษัทผู้รับเหมา
ดังนั้น องค์การเภสัชกรรมจึงสามารถที่จะดำเนินโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตยาต้านไวรัสเอดส์ได้ โดยระเบียบขององค์การเภสัชกรรมเอง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-