แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
กสท โทรคมนาคม
คณะรัฐมนตรี
ข้อมูล
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการดำเนินโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยให้ประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาเห็นชอบในการจัดทำข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(IEE) ตามข้อสังเกตของที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ที่ให้คำนึงถึงผลกระทบในเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยควรหลีกเลี่ยงการวางระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้วไม่ให้กระทบต่อป่าชายเลนและแนวประการังด้วย
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอว่า บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะดำเนินโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 วงเงินลงทุนรวม 2,600 ล้านบาท ใช้เงินลงทุนจากเงินรายได้ของบริษัทฯ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยสรุปสาระสำคัญของโครงการฯ ได้ดังนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นระบบสื่อสัญญาณหลักระบบหนึ่งสำหรับรับรองปริมาณทราฟฟิคระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้น
2. เพื่อขยายจำนวนวงจรติดต่อกับประเทศในทวีปยุโรปและเอเชียกลางให้รองรับบริการโทรคมนาคมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะบริการที่ทันสมัย ซึ่งบริการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แถบความถี่กว้าง (Wide Bandwidth) เพื่อรับ - ส่งข้อมูลความเร็วสูง
3. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงของเครือข่ายระบบสื่อสัญญาณระหว่างประเทศของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศอื่น เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแก่บริษัทฯ ในการเข้าสู่การเปิดเสรีบริการโทรคมนาคม
4. เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคมในภูมิภาค
เป้าหมาย
1. ร่วมกับหน่วยงานโทรคมนาคมระหว่างประเทศจัดสร้างเครือข่ายระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 ขนาดไม่ต่ำกว่า 80 Gbps (80,000 ล้านบิทต่อวินาที) โดยใช้เทคโนโลยี SDH (Synchronous Digital Hierarchy)และ DWDM (Densed Wavelength Division Multiplex) โดยให้ใช้งานได้ในไตรมาสที่สองของปี 2548 มีจุดขึ้นบกที่อำเภอบ้านปากบารา จังหวัดสตูล จะติดตั้งอุปกรณ์ที่สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 4-สตูล ในระยะเริ่มแรกจะมีจุดขึ้นบกในระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 จำนวน 15 แห่ง รวม 14 ประเทศ
2. จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยง เพื่อเชื่อมโยงวงจรจากระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4ไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และชุมสายระบบสื่อสารข้อมูลที่บางรัก นนทบุรี และศรีราชา โดยใช้งานได้ในไตรมาสที่สองของปี 2548
ระยะเวลา รวมทั้งสิ้น 3 ปี (ปีงบประมาณ 2547 - 2549) โดยจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี2548 เป็นต้นไป
เงินลงทุนของโครงการ จะใช้เงินลงทุนจากเงินรายได้ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,600 ล้านบาท ประกอบด้วย การจัดสร้างข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 380 ล้านบาท และเงินสำรองเป็นเงิน 220 ล้านบาท
แผนการชำระเงิน บริษัทฯ ได้กำหนดแผนการชำระเงินสำหรับการสร้าง ดังนี้
รายการ 2547 2548 2549 รวม (ล้านบาท)1. จัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 1,000 600 400 2,0002. ซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง 260 120 0 3803. เงินสำรอง 100 60 60 220
รวม 1,360 780 460 2,600
ผลตอบแทนการลงทุน การลงทุนของโครงการจะมี Internal Rate of Return (IRR) เท่ากับร้อยละ 13.60 Net Present Value (NPV) เท่ากับ 789.02 ล้านบาท ที่อัตราส่วนลดร้อยละ 10 Pay Back Period เท่ากับ 12.86 ปี
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอว่า บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) จะดำเนินโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 วงเงินลงทุนรวม 2,600 ล้านบาท ใช้เงินลงทุนจากเงินรายได้ของบริษัทฯ ซึ่งคณะกรรมการบริษัทฯ ได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยสรุปสาระสำคัญของโครงการฯ ได้ดังนี้
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นระบบสื่อสัญญาณหลักระบบหนึ่งสำหรับรับรองปริมาณทราฟฟิคระหว่างประเทศที่จะเพิ่มขึ้น
2. เพื่อขยายจำนวนวงจรติดต่อกับประเทศในทวีปยุโรปและเอเชียกลางให้รองรับบริการโทรคมนาคมทุกรูปแบบ โดยเฉพาะบริการที่ทันสมัย ซึ่งบริการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้แถบความถี่กว้าง (Wide Bandwidth) เพื่อรับ - ส่งข้อมูลความเร็วสูง
3. เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความมั่นคงของเครือข่ายระบบสื่อสัญญาณระหว่างประเทศของไทยให้มีศักยภาพทัดเทียมกับประเทศอื่น เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจแก่บริษัทฯ ในการเข้าสู่การเปิดเสรีบริการโทรคมนาคม
4. เพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการด้านสื่อสารและโทรคมนาคมในภูมิภาค
เป้าหมาย
1. ร่วมกับหน่วยงานโทรคมนาคมระหว่างประเทศจัดสร้างเครือข่ายระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 ขนาดไม่ต่ำกว่า 80 Gbps (80,000 ล้านบิทต่อวินาที) โดยใช้เทคโนโลยี SDH (Synchronous Digital Hierarchy)และ DWDM (Densed Wavelength Division Multiplex) โดยให้ใช้งานได้ในไตรมาสที่สองของปี 2548 มีจุดขึ้นบกที่อำเภอบ้านปากบารา จังหวัดสตูล จะติดตั้งอุปกรณ์ที่สถานีเคเบิลใต้น้ำชลี 4-สตูล ในระยะเริ่มแรกจะมีจุดขึ้นบกในระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 จำนวน 15 แห่ง รวม 14 ประเทศ
2. จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยง เพื่อเชื่อมโยงวงจรจากระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4ไปยังชุมสายโทรศัพท์ระหว่างประเทศ และชุมสายระบบสื่อสารข้อมูลที่บางรัก นนทบุรี และศรีราชา โดยใช้งานได้ในไตรมาสที่สองของปี 2548
ระยะเวลา รวมทั้งสิ้น 3 ปี (ปีงบประมาณ 2547 - 2549) โดยจะเริ่มใช้งานได้ตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี2548 เป็นต้นไป
เงินลงทุนของโครงการ จะใช้เงินลงทุนจากเงินรายได้ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เป็นวงเงินทั้งสิ้น 2,600 ล้านบาท ประกอบด้วย การจัดสร้างข่ายเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว เป็นเงิน 2,000 ล้านบาท ซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง เป็นเงิน 380 ล้านบาท และเงินสำรองเป็นเงิน 220 ล้านบาท
แผนการชำระเงิน บริษัทฯ ได้กำหนดแผนการชำระเงินสำหรับการสร้าง ดังนี้
รายการ 2547 2548 2549 รวม (ล้านบาท)1. จัดสร้างระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 1,000 600 400 2,0002. ซื้ออุปกรณ์สำหรับระบบเชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง 260 120 0 3803. เงินสำรอง 100 60 60 220
รวม 1,360 780 460 2,600
ผลตอบแทนการลงทุน การลงทุนของโครงการจะมี Internal Rate of Return (IRR) เท่ากับร้อยละ 13.60 Net Present Value (NPV) เท่ากับ 789.02 ล้านบาท ที่อัตราส่วนลดร้อยละ 10 Pay Back Period เท่ากับ 12.86 ปี
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้พิจารณาแล้ว เห็นชอบให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ดำเนินการโครงการระบบเคเบิลใต้น้ำใยแก้ว SEA-ME-WE 4 ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-