คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ ดังนี้
1. การเคหะแห่งชาติได้ยกร่างแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและได้ประสานความร่วมมือกับกองทัพอากาศ กองทัพเรือ กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงแล้ว 3 หน่วยงาน คือ กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองทัพบก ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะประสานงานในรายละเอียดเพื่อทำความตกลงร่วมกันต่อไป
2. การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมธนารักษ์ กรมการศาสนา กรมชลประทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเตรียมที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ผลปรากฎว่าในเบื้องต้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นการเฉพาะและกรมธนารักษ์จะจัดทำบันทึกข้อตกลงกับการเคหะแห่งชาติในการพิจารณาที่ดินราชพัสดุสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้ความเหมาะสมของที่ดิน
ผลการดำเนินงาน
1. การจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างหน่วยงานรัฐ
1) โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพอากาศ การเคหะแห่งชาติได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือกับกองทัพอากาศในการจัดสร้างที่พักอาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพอากาศ ตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 1,200 หน่วย ในลักษณะบ้านเดี่ยว 2 ชั้นพร้อมที่ดิน 20 ตารางวา สถานที่ตั้งโครงการอยู่ระหว่างคลอง 11 และคลอง 12 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2546 ณ หอประชุมกองทัพอากาศ
2) โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ การเคหะแห่งชาติได้มีการประสานความร่วมมือกับกองทัพเรือ เพื่อเตรียมการจัดสร้างที่พักอาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ ตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 2,000 หน่วย โดยในระยะแรกจะจัดทำโครงการนำร่องในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี บนที่ดินราชพัสดุขนาดที่ดิน 91 ไร่ ในรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาดที่ดินหน่วยละ 50 ตารางวา จำนวน 402 หน่วย โดยกองทัพเรือเป็นผู้เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์และการเคหะแห่งชาติเป็นผู้ออกแบบและจัดทำโครงการ สำหรับโครงการในระยะต่อไปกองทัพเรือและการเคหะแห่งชาติจะร่วมกันจัดหาที่ดินที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ ทั้งนี้ได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่าง กระทรวงการคลัง โดย กรมธนารักษ์ กับ กองทัพเรือและการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 ณ หอประชุมกองทัพเรือ
3) โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพบก การเคหะแห่งชาติได้มีการประสานความร่วมมือกับกองทัพบก เพื่อเตรียมการจัดสร้างที่พักอาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพบก ตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเออาทร ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อทำความตกลงอย่างเป็นทางการโดยจะมีการลงนามในวันที่ 29 ธันวาคม 2546
4) การสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยของข้าราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยของข้าราชการชั้นผู้น้อยและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศโดยการออกแบบสอบถามความต้องการที่อยู่อาศัยตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรปรากฎว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมารวมทั้งสิ้นประมาณ 80,000 ราย ขณะนี้การเคหะแห่งชาติ กำลังดำเนินการจัดระเบียบและประมวลผลข้อมูล
2. การจัดหาที่ดินที่เหมาะสมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการเงิน
การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเตรียมที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ได้แก่ กรมธนารักษ์ กรมการศาสนา กรมชลประทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผลปรากฏว่าได้รับความร่วมมืออย่างดี โดยในระยะแรกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นการเฉพาะ และกรมธนารักษ์จะจัดทำบันทึกข้อตกลงกับการเคหะแห่งชาติในการพิจารณาที่ดินราชพัสดุสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของที่ดิน
โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย พนักงาน และลูกจ้างประจำ ในสังกัดหน่วยงานของรัฐที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน (ณ ปี 2546) และเป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของโครงการบ้านเอื้ออาทรที่การเคหะแห่งชาติกำหนด โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการพลเรือน และกลุ่มข้าราชการทหาร - ตำรวจ
ขนาดโครงการจำนวนหน่วยก่อสร้างเป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างประจำสังกัดหน่วยงานนั้น ๆ โดยมีจำนวนประมาณไม่ต่ำกว่า 200 หน่วย
ทั้งนี้ ในแต่ละรูปแบบชุมชน การเคหะแห่งชาติกำหนดทางเลือกของรูปแบบที่พักอาศัย ดังนี้
1. อาคารชุดพักอาศัยสูง 5 ชั้น ประกอบด้วยห้องแบบ 1 ห้องนอน ขนาดประมาณ 33 ตารางเมตร
2. อาคารแนวราบ ได้แก่ 1) บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ในขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 20 ตารางวา 2) บ้านแฝด 2 ชั้น ในขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 20 ตารางวา 3) บ้านแถว 2 ชั้น ในขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 16 ตารางวา
โดยขนาดของห้องชุด และขนาดของแปลงที่ดินอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับราคาที่ดิน กรมที่ดิน กรมสิทธิ์ที่ดิน และความประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้แนวทางการดำเนินงานของโครงการบ้านเอื้ออาทร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การเคหะแห่งชาติได้ยกร่างแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและได้ประสานความร่วมมือกับกองทัพอากาศ กองทัพเรือ กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยได้มีการทำบันทึกข้อตกลงแล้ว 3 หน่วยงาน คือ กองทัพอากาศ กองทัพเรือ และกองทัพบก ส่วนสำนักงานตำรวจแห่งชาติจะประสานงานในรายละเอียดเพื่อทำความตกลงร่วมกันต่อไป
2. การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ กรมธนารักษ์ กรมการศาสนา กรมชลประทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเตรียมที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ผลปรากฎว่าในเบื้องต้นสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้มีการตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นการเฉพาะและกรมธนารักษ์จะจัดทำบันทึกข้อตกลงกับการเคหะแห่งชาติในการพิจารณาที่ดินราชพัสดุสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้ความเหมาะสมของที่ดิน
ผลการดำเนินงาน
1. การจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างหน่วยงานรัฐ
1) โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพอากาศ การเคหะแห่งชาติได้ร่วมลงนามในบันทึกความร่วมมือกับกองทัพอากาศในการจัดสร้างที่พักอาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพอากาศ ตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 1,200 หน่วย ในลักษณะบ้านเดี่ยว 2 ชั้นพร้อมที่ดิน 20 ตารางวา สถานที่ตั้งโครงการอยู่ระหว่างคลอง 11 และคลอง 12 อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี โดยได้มีการลงนามเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2546 ณ หอประชุมกองทัพอากาศ
2) โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ การเคหะแห่งชาติได้มีการประสานความร่วมมือกับกองทัพเรือ เพื่อเตรียมการจัดสร้างที่พักอาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ ตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร จำนวน 2,000 หน่วย โดยในระยะแรกจะจัดทำโครงการนำร่องในอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี บนที่ดินราชพัสดุขนาดที่ดิน 91 ไร่ ในรูปแบบบ้านเดี่ยว 2 ชั้น ขนาดที่ดินหน่วยละ 50 ตารางวา จำนวน 402 หน่วย โดยกองทัพเรือเป็นผู้เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์และการเคหะแห่งชาติเป็นผู้ออกแบบและจัดทำโครงการ สำหรับโครงการในระยะต่อไปกองทัพเรือและการเคหะแห่งชาติจะร่วมกันจัดหาที่ดินที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของข้าราชการและลูกจ้างกองทัพเรือ ทั้งนี้ได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่าง กระทรวงการคลัง โดย กรมธนารักษ์ กับ กองทัพเรือและการเคหะแห่งชาติ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2546 ณ หอประชุมกองทัพเรือ
3) โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพบก การเคหะแห่งชาติได้มีการประสานความร่วมมือกับกองทัพบก เพื่อเตรียมการจัดสร้างที่พักอาศัยสำหรับข้าราชการและลูกจ้างกองทัพบก ตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเออาทร ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมข้อมูลเพื่อทำความตกลงอย่างเป็นทางการโดยจะมีการลงนามในวันที่ 29 ธันวาคม 2546
4) การสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยของข้าราชการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ได้ดำเนินการสำรวจความต้องการที่อยู่อาศัยของข้าราชการชั้นผู้น้อยและลูกจ้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในกระทรวง ทบวง กรม และหน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศโดยการออกแบบสอบถามความต้องการที่อยู่อาศัยตามแนวทางการจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรปรากฎว่ามีผู้ตอบแบบสอบถามกลับมารวมทั้งสิ้นประมาณ 80,000 ราย ขณะนี้การเคหะแห่งชาติ กำลังดำเนินการจัดระเบียบและประมวลผลข้อมูล
2. การจัดหาที่ดินที่เหมาะสมจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและสถาบันการเงิน
การเคหะแห่งชาติได้ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขอความร่วมมือในการจัดเตรียมที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ได้แก่ กรมธนารักษ์ กรมการศาสนา กรมชลประทาน การรถไฟแห่งประเทศไทย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ผลปรากฏว่าได้รับความร่วมมืออย่างดี โดยในระยะแรกสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาที่ดินสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทรเป็นการเฉพาะ และกรมธนารักษ์จะจัดทำบันทึกข้อตกลงกับการเคหะแห่งชาติในการพิจารณาที่ดินราชพัสดุสำหรับจัดทำโครงการบ้านเอื้ออาทร ส่วนหน่วยงานอื่น ๆ อยู่ระหว่างการพิจารณาความเป็นไปได้และความเหมาะสมของที่ดิน
โครงการบ้านเอื้ออาทรสำหรับข้าราชการมีกลุ่มเป้าหมายเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อย พนักงาน และลูกจ้างประจำ ในสังกัดหน่วยงานของรัฐที่มีรายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน (ณ ปี 2546) และเป็นผู้มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์ของโครงการบ้านเอื้ออาทรที่การเคหะแห่งชาติกำหนด โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มข้าราชการพลเรือน และกลุ่มข้าราชการทหาร - ตำรวจ
ขนาดโครงการจำนวนหน่วยก่อสร้างเป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างประจำสังกัดหน่วยงานนั้น ๆ โดยมีจำนวนประมาณไม่ต่ำกว่า 200 หน่วย
ทั้งนี้ ในแต่ละรูปแบบชุมชน การเคหะแห่งชาติกำหนดทางเลือกของรูปแบบที่พักอาศัย ดังนี้
1. อาคารชุดพักอาศัยสูง 5 ชั้น ประกอบด้วยห้องแบบ 1 ห้องนอน ขนาดประมาณ 33 ตารางเมตร
2. อาคารแนวราบ ได้แก่ 1) บ้านเดี่ยว 2 ชั้น ในขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 20 ตารางวา 2) บ้านแฝด 2 ชั้น ในขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 20 ตารางวา 3) บ้านแถว 2 ชั้น ในขนาดที่ดินไม่น้อยกว่า 16 ตารางวา
โดยขนาดของห้องชุด และขนาดของแปลงที่ดินอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม ขึ้นอยู่กับราคาที่ดิน กรมที่ดิน กรมสิทธิ์ที่ดิน และความประสงค์ของหน่วยงานนั้น ๆ ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้แนวทางการดำเนินงานของโครงการบ้านเอื้ออาทร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-