คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการตามโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ปี 2547 ตามแผนหลัก เป็นเงิน 1,234,291,350 บาท
2. สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง Server สำหรับโรงเรียนในโครงการ เป็นเงิน 773,350,000 บาท
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ รายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำร่างแผนหลักโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน และได้นำร่างแผนหลักและประมาณค่าใช้จ่าย นำเรียนเสนอขอคำปรึกษาจากนายกรัฐมนตรีและผ่านความเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 โดยกำหนดเป้าหมายโครงการ ดังนี้
1. ด้านปริมาณ ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้โรงเรียน 921 แห่งของโรงเรียนในฝันเป็นแบบอย่าง เพื่อขยายผลการดำเนินโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 แต่จะมีเป้าหมายในการบรรลุตามแผนที่ต่างกันตามสภาพพื้นฐานเดิม คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 253 โรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 466 โรงเรียน และปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จำนวน 202 โรงเรียน
2. ด้านคุณภาพ เป็นโรงเรียนชั้นดีที่มีคุณภาพ มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ อบอุ่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น เป็นต้นแบบของการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากการ่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาสังคม ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชนให้ยอมรับ เชื่อถือ มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้จัดทำเว็บไซต์ของศูนย์โรงเรียนในฝันชื่อ www.labschools.net เพื่อเป็นเครือข่ายเชื่อมต่อเว็บไซต์ของโรงเรียนในโครงการและเตรียมบุคลากรหลักเพื่อขยายผลการใช้โปรแกรมประยุกต์ Pro/Desktop เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์และงานสร้างสรรค์สามมิติ
2. ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้มีการรวบรวมข้อมูลผลงานครูต้นแบบ ครูดีเด่น เพื่เผยแพร่แก่ครูในโรงเรียนโครงการเพื่อเลือกใช้ผ่านเว็บไซต์ในเดือนมกราคม 2547
3. ด้านการระดมสรรพกำลัง ได้มีการประชุมปฏิบัติการเครือข่ายพี่เลี้ยงจากสถาบันอุดมศึกษา ศึกษานิเทศก์ และโรงเรียนชั้นนำ จำนวน 413 คน ร่วมจัดทำแผนส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรมที่ได้จัดทำโครงการสนับสนุนโดยมีการประสานงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดให้ส่งเสิรมการเรียนรู้โดยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ การสร้างโอกาสและการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโรงเรียนและนักเรียน ตลอดจนการสร้างนักอุตสาหกรรมรุ่นเยาว์
ทั้งนี้ การจัดงบประมาณสำหรับการดำเนินงานโครงการฯ จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวมให้โรงเรียนและเขตพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าหมายผลผลิตของโครงการ ทั้งนี้ คำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ตามแนวคิดการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานรวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,234,291,350 บาท เฉลี่ย 1,379 บาท ต่อนักเรียน 1 คน ภายใต้แผนหลัก 5 แผนงาน ดังนี้
ลำดับที่ เรื่อง งบประมาณ(บาท)
1. แผนพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ 209,115,450
2. แผนพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ 810,703,750
3. แผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 27,045,000
4. แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 67,662,900
5. แผนพัฒนาระบบเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา 119,764,250
การจัดสรรงบประมาณจะกระจายให้โรงเรียน เขตพื้นที่ และศูนย์บริหารโครงการ ดังนี้
1. จัดสรรให้โรงเรียน 906,503,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.44 ของงบประมาณทั้งหมด โดยมีกิจกรรมสำคัญ คือ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพ พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดตั้งกองทุนอาหารกลางวัน พัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต ดนตรี และกีฬา สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ปรับปรุงหลักสูตรและการวัดประเมินผลวิจัยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ และพัฒนาระบบ ICT ในโรงเรียน
2. จัดสรรให้เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อกำกับติดตาม ส่งเสริมการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน 44,740,300 คิดเป็นร้อยละ 3.62 ของงบประมาณทั้งหมด
3. จัดสรรไว้ที่ศูนย์บริหารโครงการ 283,047,750 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.93 ของประมาณทั้งหมด โดยเป็นงบที่ต้องจัดสรรให้เขตพื้นที่เพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน ICT จำนวน 30,157,900 จัดทำโปรแกรมบริหารสารสนเทศ 21,700,000 บาท และจัดให้โรงเรียนที่ครูต่ำกว่าเกณฑ์ 105,107,350 บาท
การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง Server ดังนี้
1. โรงเรียนขนาดเล็ก 202 แห่ง ๆ ละ 21 เครื่อง เป็นเงินแห่งละ 600,000 บาท
2. โรงเรียนขนาดกลาง 555 แห่ง ๆ ละ 31 เครื่อง เป็นเงินแห่งละ 850,000 บาท
3. โรงเรียนขนาดใหญ่ 164 แห่ง ๆ ละ 41 เครื่อง เป็นเงินแห่งละ 1,100,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 773,350,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
1. สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินการตามโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน ปี 2547 ตามแผนหลัก เป็นเงิน 1,234,291,350 บาท
2. สนับสนุนงบประมาณในการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง Server สำหรับโรงเรียนในโครงการ เป็นเงิน 773,350,000 บาท
ทั้งนี้ กระทรวงศึกษาธิการ รายงานว่า กระทรวงศึกษาธิการได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำร่างแผนหลักโครงการหนึ่งอำเภอ หนึ่งโรงเรียนในฝัน และได้นำร่างแผนหลักและประมาณค่าใช้จ่าย นำเรียนเสนอขอคำปรึกษาจากนายกรัฐมนตรีและผ่านความเห็นชอบเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2546 โดยกำหนดเป้าหมายโครงการ ดังนี้
1. ด้านปริมาณ ยกระดับคุณภาพการศึกษาให้โรงเรียน 921 แห่งของโรงเรียนในฝันเป็นแบบอย่าง เพื่อขยายผลการดำเนินโครงการ โดยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 แต่จะมีเป้าหมายในการบรรลุตามแผนที่ต่างกันตามสภาพพื้นฐานเดิม คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2547 จำนวน 253 โรงเรียน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 จำนวน 466 โรงเรียน และปีงบประมาณ พ.ศ.2549 จำนวน 202 โรงเรียน
2. ด้านคุณภาพ เป็นโรงเรียนชั้นดีที่มีคุณภาพ มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ อบอุ่น ปลอดภัย เอื้อต่อการเรียนรู้ มีเอกลักษณ์อันโดดเด่น เป็นต้นแบบของการปฏิรูปการศึกษาที่แท้จริง ซึ่งเกิดจากการ่วมคิด ร่วมปฏิบัติ ร่วมพัฒนา ร่วมสนับสนุนจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและประชาสังคม ตลอดจนผู้ปกครองและชุมชนให้ยอมรับ เชื่อถือ มีความรู้สึกร่วมเป็นเจ้าของและสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน
ปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการดำเนินงาน ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ได้จัดทำเว็บไซต์ของศูนย์โรงเรียนในฝันชื่อ www.labschools.net เพื่อเป็นเครือข่ายเชื่อมต่อเว็บไซต์ของโรงเรียนในโครงการและเตรียมบุคลากรหลักเพื่อขยายผลการใช้โปรแกรมประยุกต์ Pro/Desktop เพื่อประโยชน์ในการเรียนรู้การออกแบบผลิตภัณฑ์และงานสร้างสรรค์สามมิติ
2. ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการจัดกระบวนการเรียนรู้ ได้มีการรวบรวมข้อมูลผลงานครูต้นแบบ ครูดีเด่น เพื่เผยแพร่แก่ครูในโรงเรียนโครงการเพื่อเลือกใช้ผ่านเว็บไซต์ในเดือนมกราคม 2547
3. ด้านการระดมสรรพกำลัง ได้มีการประชุมปฏิบัติการเครือข่ายพี่เลี้ยงจากสถาบันอุดมศึกษา ศึกษานิเทศก์ และโรงเรียนชั้นนำ จำนวน 413 คน ร่วมจัดทำแผนส่งเสริมสนับสนุนโรงเรียน นอกจากนี้ ยังได้รับการสนับสนุนจากสภาอุตสาหกรรมที่ได้จัดทำโครงการสนับสนุนโดยมีการประสานงานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดให้ส่งเสิรมการเรียนรู้โดยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ การสร้างโอกาสและการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากโรงเรียนและนักเรียน ตลอดจนการสร้างนักอุตสาหกรรมรุ่นเยาว์
ทั้งนี้ การจัดงบประมาณสำหรับการดำเนินงานโครงการฯ จะพิจารณาจัดสรรงบประมาณเป็นวงเงินรวมให้โรงเรียนและเขตพื้นที่ ตามวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และเป้าหมายผลผลิตของโครงการ ทั้งนี้ คำนึงถึงค่าใช้จ่ายต่อหน่วย ตามแนวคิดการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานรวมงบประมาณทั้งสิ้น 1,234,291,350 บาท เฉลี่ย 1,379 บาท ต่อนักเรียน 1 คน ภายใต้แผนหลัก 5 แผนงาน ดังนี้
ลำดับที่ เรื่อง งบประมาณ(บาท)
1. แผนพัฒนาระบบบริหารและการจัดการ 209,115,450
2. แผนพัฒนาคุณภาพนักเรียนและกระบวนการจัดการเรียนรู้ 810,703,750
3. แผนพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา 27,045,000
4. แผนพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 67,662,900
5. แผนพัฒนาระบบเครือข่ายอุปถัมภ์และทรัพยากรทางการศึกษา 119,764,250
การจัดสรรงบประมาณจะกระจายให้โรงเรียน เขตพื้นที่ และศูนย์บริหารโครงการ ดังนี้
1. จัดสรรให้โรงเรียน 906,503,300 บาท คิดเป็นร้อยละ 73.44 ของงบประมาณทั้งหมด โดยมีกิจกรรมสำคัญ คือ พัฒนาระบบการบริหารจัดการ พัฒนาระบบการประกันคุณภาพ พัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จัดตั้งกองทุนอาหารกลางวัน พัฒนาห้องสมุดและแหล่งเรียนรู้ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ จัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต ดนตรี และกีฬา สืบสานศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย ปรับปรุงหลักสูตรและการวัดประเมินผลวิจัยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา พัฒนาห้องปฏิบัติการคณิตศาสตร์ และพัฒนาระบบ ICT ในโรงเรียน
2. จัดสรรให้เขตพื้นที่การศึกษา เพื่อกำกับติดตาม ส่งเสริมการสนับสนุนการดำเนินงานของโรงเรียน 44,740,300 คิดเป็นร้อยละ 3.62 ของงบประมาณทั้งหมด
3. จัดสรรไว้ที่ศูนย์บริหารโครงการ 283,047,750 บาท คิดเป็นร้อยละ 22.93 ของประมาณทั้งหมด โดยเป็นงบที่ต้องจัดสรรให้เขตพื้นที่เพื่อพัฒนาบุคลากรด้าน ICT จำนวน 30,157,900 จัดทำโปรแกรมบริหารสารสนเทศ 21,700,000 บาท และจัดให้โรงเรียนที่ครูต่ำกว่าเกณฑ์ 105,107,350 บาท
การจัดหาเครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่อง Server ดังนี้
1. โรงเรียนขนาดเล็ก 202 แห่ง ๆ ละ 21 เครื่อง เป็นเงินแห่งละ 600,000 บาท
2. โรงเรียนขนาดกลาง 555 แห่ง ๆ ละ 31 เครื่อง เป็นเงินแห่งละ 850,000 บาท
3. โรงเรียนขนาดใหญ่ 164 แห่ง ๆ ละ 41 เครื่อง เป็นเงินแห่งละ 1,100,000 บาท
รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 773,350,000 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-