คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการประชุมสุดยอดผู้นำทางการสำรวจโลก ครั้งที่ 3 (Third Earth Observation Summit) ซึ่งจัดขึ้นในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยี่ยม ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เสนอดังนี้
1. ผลการประชุมสุดยอดผู้นำทางการสำรวจโลก ครั้งที่ 3
1.1 ที่ประชุมสุดยอดผู้นำทางการสำรวจโลก ครั้งที่ 3 ได้มีมติรับรองแผนงาน 10 ปี ของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (Global Observation System of Systems GEOSS) พร้อมทั้งออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อให้การสนับสนุนระบบเตือนภัยสึนามิและภัยพิบัติอื่น ๆ ภายใต้กรอบของระบบการสำรวจโลก (GEOSS)
ทั้งนี้ การรับรองแผนงาน 10 ปี ของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS) ของการประชุมสุดยอดผู้นำทางการสำรวจโลก ครั้งที่ 3 เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS) อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่งข้อมูลสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อการพยากรณ์ที่แม่นยำขึ้นในด้านภัยพิบัติ สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตรและสิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS) จะเป็นประโยชน์ต่อไทย นอกจากนี้ยังไม่มีพันธะในการจ่ายค่าบำรุงประจำปี ดังนั้น จึงควรแจ้งให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ทราบในเรื่องนี้
1.2 แต่งตั้งกลุ่มการสำรวจโลก (Global on Earth Observation — GEO) ให้เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล เพื่อทำการบริหารแผนงาน 10 ปี ของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS)
1.3 จัดตั้งสำนักเลขาธิการของ GEO ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
1.4 มีสมาชิกจาก 66 ประเทศ สหภาพยุโรปและองค์การระหว่างประเทศ 40 องค์กร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--
1. ผลการประชุมสุดยอดผู้นำทางการสำรวจโลก ครั้งที่ 3
1.1 ที่ประชุมสุดยอดผู้นำทางการสำรวจโลก ครั้งที่ 3 ได้มีมติรับรองแผนงาน 10 ปี ของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (Global Observation System of Systems GEOSS) พร้อมทั้งออกแถลงการณ์ร่วมเพื่อให้การสนับสนุนระบบเตือนภัยสึนามิและภัยพิบัติอื่น ๆ ภายใต้กรอบของระบบการสำรวจโลก (GEOSS)
ทั้งนี้ การรับรองแผนงาน 10 ปี ของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS) ของการประชุมสุดยอดผู้นำทางการสำรวจโลก ครั้งที่ 3 เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS) อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่งข้อมูลสภาวะการเปลี่ยนแปลงของโลกที่ถูกต้อง ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อการพยากรณ์ที่แม่นยำขึ้นในด้านภัยพิบัติ สภาวะอากาศ ทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตรและสิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมกิจกรรมการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS) จะเป็นประโยชน์ต่อไทย นอกจากนี้ยังไม่มีพันธะในการจ่ายค่าบำรุงประจำปี ดังนั้น จึงควรแจ้งให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องได้ทราบในเรื่องนี้
1.2 แต่งตั้งกลุ่มการสำรวจโลก (Global on Earth Observation — GEO) ให้เป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล เพื่อทำการบริหารแผนงาน 10 ปี ของการพัฒนาระบบการสำรวจโลก (GEOSS)
1.3 จัดตั้งสำนักเลขาธิการของ GEO ที่สำนักงานใหญ่ขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ประเทศสวิสเซอร์แลนด์
1.4 มีสมาชิกจาก 66 ประเทศ สหภาพยุโรปและองค์การระหว่างประเทศ 40 องค์กร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 เมษายน 2548--จบ--