คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการมาตรการผ่อนปรนในการยกเว้นภาษีพืชเป้าหมายภายใต้แผนปฏิบัติการ ACMECS โดยกำหนดดำเนินการนำร่องในพื้นที่เป้าหมายพร้อมกันทั้ง 3 ประเทศ (พม่า สปป.ลาว และกัมพูชา) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เสนอ และมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศเจรจากับรัฐบาลประเทศเพื่อนบ้านเพื่อรับรองพื้นที่เป้าหมาย และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป
รูปแบบมาตรการผ่อนปรน มุ่งกำหนดมาตรการผ่อนปรนในการยกเว้นภาษีพืชเป้าหมายภายใต้แผนปฏิบัติการ ACMECS เพื่อลดความยุ่งยากในการขอ C/O ภายใต้กรอบ AISP โดยมีกระบวนการดำเนินการ ดังนี้
1. ระดับนโยบาย
ขั้นที่ 1 ทบทวนรายการพืชเป้าหมายใน One Way Free Trade จาก 8 รายการ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง มะม่วงหิมพานต์ มันฝรั่ง ยูคาลิปตัส ) เป็น 10 รายการ (เพิ่มลูกเดือยและถั่วเขียวผิวมัน) เนื่องจากมีมติคณะรัฐมนตรีให้เพิ่มรายการลูกเดือยเฉพาะกับ สปป.ลาว ในขณะที่พืชเป้าหมายของพม่าที่ควรเพิ่มเติมคือ ถั่วเขียวผิวมัน จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาขยายเป็น 10 รายการเท่าเทียมกันทุกประเทศทั้งกัมพูชา ลาว และพม่า
ขั้นที่ 2 จัดให้มีแบบฟอร์มเฉพาะ โดยให้จังหวัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบฟอร์มเฉพาะ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติ โดยเฉพาะกรมศุลกากรใช้เป็นหลักฐานในการอนุญาตให้สินค้าเข้าประเทศ
2. ระดับปฏิบัติการ
ขั้นที่ 1 กำหนดช่องทางเฉพาะและสร้างระบบบริหารจัดการในพื้นที่ ในระยะแรกกำหนดให้สามารถนำเข้าผลผลิตโดยใช้มาตรการผ่อนปรนได้เฉพาะ 3 จุดก่อน คือ แม่สอด — เมียวดี (ไทย - พม่า) เลย — ไชยะบุรี (ไทย — ลาว) และจันทบุรี — พระตะบอง / ไพลิน (ไทย - กัมพูชา) และให้จังหวัดเจ้าภาพจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการ โดยจัดให้มีการจดทะเบียนหรือทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการที่ต้องระบุ 1. พืชชนิดเป้าหมาย 2. พื้นที่เพาะปลูกเป้าหมายบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน (ป้องกันปัญหาการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้า) และ 3. ปริมาณนำเข้า (เพื่อให้สามารถบริหารจำนวนผลผลิตที่นำเข้าไม่ให้กระทบตลาดในประเทศ)
ขั้นที่ 2 รวบรวมปริมาณผลผลิตที่ต้องบริหารการนำเข้า และประสานคณะกรรมการควบคุมปริมาณนำเข้าที่เกี่ยวข้อง รวบรวมปริมาณนำเข้าพืชเป้าหมายแต่ละชนิดจากพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง และแจ้งปริมาณพืช 3 ชนิด ได้แก่ ถั่วเหลือง ละหุ่ง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต่อคณะกรรมการที่ควบคุมปริมาณนำเข้า ได้แก่ คณะกรรมการพืชน้ำมัน และคณะกรรมการนโยบายอาหาร เพื่อพิจารณากำหนดปริมาณที่เหมาะสมและยอมรับได้
ขั้นที่ 3 จัดคณะเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อกำหนดพื้นที่เพาะปลูก จัดตั้งคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจังหวัดเจ้าภาพไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำความตกลงเรื่องพื้นที่เป้าหมายที่จะให้ผู้ประกอบการไปลงทุนเพาะปลูกได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--
รูปแบบมาตรการผ่อนปรน มุ่งกำหนดมาตรการผ่อนปรนในการยกเว้นภาษีพืชเป้าหมายภายใต้แผนปฏิบัติการ ACMECS เพื่อลดความยุ่งยากในการขอ C/O ภายใต้กรอบ AISP โดยมีกระบวนการดำเนินการ ดังนี้
1. ระดับนโยบาย
ขั้นที่ 1 ทบทวนรายการพืชเป้าหมายใน One Way Free Trade จาก 8 รายการ (ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดหวาน ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง มะม่วงหิมพานต์ มันฝรั่ง ยูคาลิปตัส ) เป็น 10 รายการ (เพิ่มลูกเดือยและถั่วเขียวผิวมัน) เนื่องจากมีมติคณะรัฐมนตรีให้เพิ่มรายการลูกเดือยเฉพาะกับ สปป.ลาว ในขณะที่พืชเป้าหมายของพม่าที่ควรเพิ่มเติมคือ ถั่วเขียวผิวมัน จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาขยายเป็น 10 รายการเท่าเทียมกันทุกประเทศทั้งกัมพูชา ลาว และพม่า
ขั้นที่ 2 จัดให้มีแบบฟอร์มเฉพาะ โดยให้จังหวัดประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกแบบฟอร์มเฉพาะ เพื่อให้หน่วยปฏิบัติ โดยเฉพาะกรมศุลกากรใช้เป็นหลักฐานในการอนุญาตให้สินค้าเข้าประเทศ
2. ระดับปฏิบัติการ
ขั้นที่ 1 กำหนดช่องทางเฉพาะและสร้างระบบบริหารจัดการในพื้นที่ ในระยะแรกกำหนดให้สามารถนำเข้าผลผลิตโดยใช้มาตรการผ่อนปรนได้เฉพาะ 3 จุดก่อน คือ แม่สอด — เมียวดี (ไทย - พม่า) เลย — ไชยะบุรี (ไทย — ลาว) และจันทบุรี — พระตะบอง / ไพลิน (ไทย - กัมพูชา) และให้จังหวัดเจ้าภาพจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำกับดูแลการดำเนินการ โดยจัดให้มีการจดทะเบียนหรือทำบัญชีรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการที่ต้องระบุ 1. พืชชนิดเป้าหมาย 2. พื้นที่เพาะปลูกเป้าหมายบริเวณชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน (ป้องกันปัญหาการแอบอ้างแหล่งกำเนิดสินค้า) และ 3. ปริมาณนำเข้า (เพื่อให้สามารถบริหารจำนวนผลผลิตที่นำเข้าไม่ให้กระทบตลาดในประเทศ)
ขั้นที่ 2 รวบรวมปริมาณผลผลิตที่ต้องบริหารการนำเข้า และประสานคณะกรรมการควบคุมปริมาณนำเข้าที่เกี่ยวข้อง รวบรวมปริมาณนำเข้าพืชเป้าหมายแต่ละชนิดจากพื้นที่นำร่อง 3 แห่ง และแจ้งปริมาณพืช 3 ชนิด ได้แก่ ถั่วเหลือง ละหุ่ง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต่อคณะกรรมการที่ควบคุมปริมาณนำเข้า ได้แก่ คณะกรรมการพืชน้ำมัน และคณะกรรมการนโยบายอาหาร เพื่อพิจารณากำหนดปริมาณที่เหมาะสมและยอมรับได้
ขั้นที่ 3 จัดคณะเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อกำหนดพื้นที่เพาะปลูก จัดตั้งคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วย กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจังหวัดเจ้าภาพไปเจรจากับประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อทำความตกลงเรื่องพื้นที่เป้าหมายที่จะให้ผู้ประกอบการไปลงทุนเพาะปลูกได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 28 มิถุนายน 2548--จบ--