แท็ก
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
สำนักงานสถิติแห่งชาติ
สินค้าราคาถูก
คณะรัฐมนตรี
คาราวาน
ภาคใต้
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายงานผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดคาราวานสินค้าราคาถูกใน 3 จังหวัดภาคใต้ ดังนี้
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดคาราวานสินค้าราคาถูกใน 3 จังหวัดภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) พ.ศ. 2548 โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 3 จังหวัดดังกล่าว มีประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่าง จำนวน 900 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-9 กันยายน 2548 และผลการสำรวจมีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. ความต้องการให้รัฐนำคาราวานสินค้าราคาถูกจัดจำหน่ายที่ตลาดนัดในวันศุกร์ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.1 ระบุว่าต้องการ มีเพียง ร้อยละ 8.9 ระบุว่าไม่ต้องการโดยให้เหตุผล คือ กลัวไม่มีความปลอดภัย วันศุกร์ควรเป็นวันหยุด/วันละหมาด/ควรจัดวันอื่น ข้าราชการซื้อสินค้าได้ก่อนประชาชน/สินค้าไม่พอกับความต้องการ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ร้านค้าในพื้นที่ขายไม่ได้ เป็นต้น
2. ความพร้อมและความเชื่อมั่นของประชาชนที่จะออกไปจับจ่ายใช้สอยหรือร่วมขายของที่ตลาดนัดใน วันศุกร์พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.8 ระบุว่าพร้อม ส่วนอีกร้อยละ 25.2 ระบุว่าไม่พร้อม สำหรับความเชื่อมั่นในการให้ความคุ้มครองผู้ที่ออกมาซื้อ/ขายของ พบว่ามีประชาชน ร้อยละ 69.4 ระบุว่าเชื่อมั่นในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่าเชื่อมั่นน้อยและไม่เชื่อมั่นมีร้อยละ 17.0 และร้อยละ 13.6
3. ความพึงพอใจต่อการที่รัฐจัดคาราวานสินค้าราคาถูก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 84.1 ระบุว่า พึงพอใจในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่าพึงพอใจน้อยและไม่พึงพอใจ มีร้อยละ 13.7 และร้อยละ 2.2
4. การเชื่อข่าวลือ/ใบปลิวที่ไม่ให้ออกมาขายของในวันศุกร์ พบว่า ประชาชนประมาณร้อยละ 52.3 ระบุว่าเชื่อ และร้อยละ 47.7 ระบุว่าไม่เชื่อ
5. ความต้องการหยุดงานในวันศุกร์ พบว่าประชาชนประมาณร้อยละ 63.4 ระบุว่าไม่ต้องการหยุด ส่วนผู้ที่ระบุว่าต้องการหยุดมีร้อยละ 36.6
6. ความคิดเห็นถ้าหากจะติดตั้งโทรทัศน์และเคเบิ้ลทีวี (ยูบีซี) ให้ชุมชน/แหล่งที่เป็นที่รวมของคนในชุมชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.9 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีร้อยละ 32.1 โดยให้เหตุผล เพราะเกิดแหล่ง มั่วสุม/การพนัน เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เป็นการสร้างชุมชนให้มีความแตกแยก เป็นต้น
7. การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พบว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณ ร้อยละ 54.3 ระบุว่าเห็นด้วย และร้อยละ 45.7 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
8. ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ/หวาดระแวงต่อกลุ่มบุคคลต่าง ๆ พบว่า มีประชาชนระบุว่าไม่ไว้วางใจ/หวาดระแวงในระดับปานกลางถึงมากต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ ทหาร ร้อยละ 52.9 ตำรวจ ร้อยละ 50.7 ส่วนกลุ่มผู้ต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 82.9 และประชาชนในชุมชนด้วยกันเอง ร้อยละ 31.5
9. การติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.4 ระบุว่าได้ติดตามข้อมูลข่าวสารในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่าติดตามน้อยและไม่ได้ติดตาม มีร้อยละ 11.2 และร้อยละ 2.4
10. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นร้อยละ 60.9 และเห็นว่ารัฐได้ดำเนินการมาถูกทาง ร้อยละ 36.9 ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่ถูกทาง ร้อยละ 24.0 โดยได้เสนอแนะแนวทาง เช่น ควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตให้มากขึ้น แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี/อย่าใช้กำลังมากเกินไป จัดหางานให้กับประชาชน/ส่งเสริมอาชีพ/แก้ปัญหาการว่างงาน และแก้ไขปัญหาข่าวลือ/ใบปลิว เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--
สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการจัดคาราวานสินค้าราคาถูกใน 3 จังหวัดภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) พ.ศ. 2548 โดยสอบถามประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปใน 3 จังหวัดดังกล่าว มีประชาชนที่ตกเป็นตัวอย่าง จำนวน 900 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-9 กันยายน 2548 และผลการสำรวจมีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. ความต้องการให้รัฐนำคาราวานสินค้าราคาถูกจัดจำหน่ายที่ตลาดนัดในวันศุกร์ พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.1 ระบุว่าต้องการ มีเพียง ร้อยละ 8.9 ระบุว่าไม่ต้องการโดยให้เหตุผล คือ กลัวไม่มีความปลอดภัย วันศุกร์ควรเป็นวันหยุด/วันละหมาด/ควรจัดวันอื่น ข้าราชการซื้อสินค้าได้ก่อนประชาชน/สินค้าไม่พอกับความต้องการ ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง ร้านค้าในพื้นที่ขายไม่ได้ เป็นต้น
2. ความพร้อมและความเชื่อมั่นของประชาชนที่จะออกไปจับจ่ายใช้สอยหรือร่วมขายของที่ตลาดนัดใน วันศุกร์พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 74.8 ระบุว่าพร้อม ส่วนอีกร้อยละ 25.2 ระบุว่าไม่พร้อม สำหรับความเชื่อมั่นในการให้ความคุ้มครองผู้ที่ออกมาซื้อ/ขายของ พบว่ามีประชาชน ร้อยละ 69.4 ระบุว่าเชื่อมั่นในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่าเชื่อมั่นน้อยและไม่เชื่อมั่นมีร้อยละ 17.0 และร้อยละ 13.6
3. ความพึงพอใจต่อการที่รัฐจัดคาราวานสินค้าราคาถูก พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 84.1 ระบุว่า พึงพอใจในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่าพึงพอใจน้อยและไม่พึงพอใจ มีร้อยละ 13.7 และร้อยละ 2.2
4. การเชื่อข่าวลือ/ใบปลิวที่ไม่ให้ออกมาขายของในวันศุกร์ พบว่า ประชาชนประมาณร้อยละ 52.3 ระบุว่าเชื่อ และร้อยละ 47.7 ระบุว่าไม่เชื่อ
5. ความต้องการหยุดงานในวันศุกร์ พบว่าประชาชนประมาณร้อยละ 63.4 ระบุว่าไม่ต้องการหยุด ส่วนผู้ที่ระบุว่าต้องการหยุดมีร้อยละ 36.6
6. ความคิดเห็นถ้าหากจะติดตั้งโทรทัศน์และเคเบิ้ลทีวี (ยูบีซี) ให้ชุมชน/แหล่งที่เป็นที่รวมของคนในชุมชน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 67.9 ระบุว่าเห็นด้วย ส่วนผู้ที่ไม่เห็นด้วย มีร้อยละ 32.1 โดยให้เหตุผล เพราะเกิดแหล่ง มั่วสุม/การพนัน เสียงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เป็นการสร้างชุมชนให้มีความแตกแยก เป็นต้น
7. การออกพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พบว่าประชาชนเกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือประมาณ ร้อยละ 54.3 ระบุว่าเห็นด้วย และร้อยละ 45.7 ระบุว่าไม่เห็นด้วย
8. ความรู้สึกไม่ไว้วางใจ/หวาดระแวงต่อกลุ่มบุคคลต่าง ๆ พบว่า มีประชาชนระบุว่าไม่ไว้วางใจ/หวาดระแวงในระดับปานกลางถึงมากต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ คือ ทหาร ร้อยละ 52.9 ตำรวจ ร้อยละ 50.7 ส่วนกลุ่มผู้ต่อต้านเจ้าหน้าที่รัฐ ร้อยละ 82.9 และประชาชนในชุมชนด้วยกันเอง ร้อยละ 31.5
9. การติดตามข้อมูลข่าวสารของรัฐเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขปัญหาความไม่สงบ พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 86.4 ระบุว่าได้ติดตามข้อมูลข่าวสารในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่าติดตามน้อยและไม่ได้ติดตาม มีร้อยละ 11.2 และร้อยละ 2.4
10. ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มีผู้ที่แสดงความคิดเห็นร้อยละ 60.9 และเห็นว่ารัฐได้ดำเนินการมาถูกทาง ร้อยละ 36.9 ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่ถูกทาง ร้อยละ 24.0 โดยได้เสนอแนะแนวทาง เช่น ควรแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ ดูแลความปลอดภัยในชีวิตให้มากขึ้น แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี/อย่าใช้กำลังมากเกินไป จัดหางานให้กับประชาชน/ส่งเสริมอาชีพ/แก้ปัญหาการว่างงาน และแก้ไขปัญหาข่าวลือ/ใบปลิว เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 พฤศจิกายน 2548--จบ--