คณะรัฐมนตรีรับทราบความเห็นและข้อเสนอแนะของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน และรับทราบความเห็น ผลการพิจารณาและผลการดำเนินการของสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ตามที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า สภาที่ปรึกษาฯ ได้มอบหมายคณะทำงานการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม ของสภาที่ปรึกษาฯ ดำเนินการศึกษาสาระสำคัญและแนวทางการดำเนินนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งคณะทำงานได้มีมติ โดยสรุปว่าสภาที่ปรึกษาฯ สนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจน และความไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนของประชาชนที่ยากจน จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. มาตรการที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ทันที คือ
1.1 การสำรวจ และรับรองสิทธิในที่ทำกินที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ให้มีความชัดเจนในการถือครองสิทธิ
1.2 การจัดทำฐานข้อมูลการครอบครอง และการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ต่าง ๆ
2. มาตรการที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนอย่างเต็มรูปแบบ คือ
2.1 การเร่งรัดแก้ปัญหาความสมบูรณ์ของสิทธิในทรัพย์สินชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการประเมินราคา และการที่สถาบันการเงินจะยอมรับเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน
2.2 มาตรการป้องกันไม่ให้ที่ทำกินของราษฎรตกอยู่ในการครอบครองของกลุ่มทุน
2.3 การสร้างความชัดเจนในหลักเกณฑ์การจัดสรรสินทรัพย์ให้ประชาชน
2.4 มาตรการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินทรัพย์ที่ชัดเจนก่อนการให้ประชาชนกู้เงิน
2.5 ความชัดเจนในระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.6 การเตรียมความพร้อมเรื่องหลักเกณฑ์ กรอบวิธีการตรวจสอบและประเมินราคาทรัพย์สิน รวมถึงบุคลากรในการประเมินราคาทรัพย์สิน
ทั้งนี้ สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนพิจารณาแล้ว เห็นชอบตามที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สำหรับมาตรการอื่นมีความเห็น ดังนี้
1. การป้องกันไม่ให้ที่ทำกินของราษฎรตกอยู่ในการครอบครองของกลุ่มทุน ได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ ระมัดระวังและตรวจสอบร่วมกับสถาบันการเงินอยู่แล้ว
2. เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินที่ดิน อยู่ในระหว่างการศึกษาของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานเจ้าของสินทรัพย์ก็มีการประเมินไปบ้างแล้ว
3. ส่วนหลักเกณฑ์ในการจัดสินทรัพย์ให้ประชาชน อยู่ในระหว่างการพิจารณาร่วมกับนโยบายการแก้ปัญหาคนยากจน
4. ในขณะที่ดำเนินการตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนจะต้องศึกษาปัญหาและมาตรการไปพร้อมกัน เนื่องจากมาตรการบางอย่าง เช่น ระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินทรัพย์และเรื่องความสมบูรณ์ของสิทธิในทรัพย์สินชนิดต่าง ๆ เป็นมาตรการที่ต้องใช้เวลา
5. สำหรับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับมาตรการที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การสำรวจและรับรองสิทธิในที่ทำกินให้มีความชัดเจนในการถือครองสิทธิ การจัดทำฐานข้อมูลการครอบครอง และการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ต่าง ๆ นั้น ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ดูแลในเรื่องสิทธิที่ดินทำกินแต่ละประเภท ได้มีการกำหนดแผนการดำเนินงานดังกล่าวไว้แล้วในแผนปฏิบัติการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ปี 2546 - 2547 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546
6. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างโอกาสให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนผู้ยากจนและผู้ประกอบการรายย่อยให้มีโอกาสได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยใช้สินทรัพย์ที่ครอบครองหรือได้รับอนุญาตให้ใช้จากหน่วยงานของรัฐตามกฎหมาย เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำไปลงทุนเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ให้มีการกู้ยืมเพื่อการบริโภคอันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงได้ร่วมกับสถาบันการเงินที่จะพิจารณาจัดหาทุนเฉพาะที่จะก่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
7. การดำเนินงานตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้มีการกำหนดแผนงานและขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ระหว่างหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินในรูปของข้อตกลงภายในกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (2547 - 2551)ซึ่งสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้ตระหนักว่าจำเป็นจะต้องระมัดระวัง ไม่เร่งรีบภายใต้เงื่อนเวลาที่กำหนดอันอาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น และได้พยายามสร้างความเข้าใจให้ผู้ต้องการเข้าถึงแหล่งทุนได้ทราบถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะจัดหาทุนในระบบเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพในการใช้เงินทุนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า สภาที่ปรึกษาฯ ได้มอบหมายคณะทำงานการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม ของสภาที่ปรึกษาฯ ดำเนินการศึกษาสาระสำคัญและแนวทางการดำเนินนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งคณะทำงานได้มีมติ โดยสรุปว่าสภาที่ปรึกษาฯ สนับสนุนความพยายามของรัฐบาลในการแก้ปัญหาความยากจน และความไม่สามารถเข้าถึงแหล่งทุนของประชาชนที่ยากจน จึงมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
1. มาตรการที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ทันที คือ
1.1 การสำรวจ และรับรองสิทธิในที่ทำกินที่มีปัญหาอยู่ในปัจจุบัน ให้มีความชัดเจนในการถือครองสิทธิ
1.2 การจัดทำฐานข้อมูลการครอบครอง และการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ต่าง ๆ
2. มาตรการที่ควรพิจารณาอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนอย่างเต็มรูปแบบ คือ
2.1 การเร่งรัดแก้ปัญหาความสมบูรณ์ของสิทธิในทรัพย์สินชนิดต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการประเมินราคา และการที่สถาบันการเงินจะยอมรับเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงิน
2.2 มาตรการป้องกันไม่ให้ที่ทำกินของราษฎรตกอยู่ในการครอบครองของกลุ่มทุน
2.3 การสร้างความชัดเจนในหลักเกณฑ์การจัดสรรสินทรัพย์ให้ประชาชน
2.4 มาตรการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินทรัพย์ที่ชัดเจนก่อนการให้ประชาชนกู้เงิน
2.5 ความชัดเจนในระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.6 การเตรียมความพร้อมเรื่องหลักเกณฑ์ กรอบวิธีการตรวจสอบและประเมินราคาทรัพย์สิน รวมถึงบุคลากรในการประเมินราคาทรัพย์สิน
ทั้งนี้ สำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนพิจารณาแล้ว เห็นชอบตามที่สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สำหรับมาตรการอื่นมีความเห็น ดังนี้
1. การป้องกันไม่ให้ที่ทำกินของราษฎรตกอยู่ในการครอบครองของกลุ่มทุน ได้กำชับให้หน่วยงานต่าง ๆ ระมัดระวังและตรวจสอบร่วมกับสถาบันการเงินอยู่แล้ว
2. เรื่องหลักเกณฑ์การประเมินที่ดิน อยู่ในระหว่างการศึกษาของมหาวิทยาลัยและหน่วยงานเจ้าของสินทรัพย์ก็มีการประเมินไปบ้างแล้ว
3. ส่วนหลักเกณฑ์ในการจัดสินทรัพย์ให้ประชาชน อยู่ในระหว่างการพิจารณาร่วมกับนโยบายการแก้ปัญหาคนยากจน
4. ในขณะที่ดำเนินการตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุนจะต้องศึกษาปัญหาและมาตรการไปพร้อมกัน เนื่องจากมาตรการบางอย่าง เช่น ระบบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การสร้างมูลค่าเพิ่มในสินทรัพย์และเรื่องความสมบูรณ์ของสิทธิในทรัพย์สินชนิดต่าง ๆ เป็นมาตรการที่ต้องใช้เวลา
5. สำหรับข้อเสนอแนะที่เกี่ยวกับมาตรการที่รัฐบาลสามารถดำเนินการได้ทันทีคือ การสำรวจและรับรองสิทธิในที่ทำกินให้มีความชัดเจนในการถือครองสิทธิ การจัดทำฐานข้อมูลการครอบครอง และการใช้ประโยชน์ในสินทรัพย์ต่าง ๆ นั้น ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่ดูแลในเรื่องสิทธิที่ดินทำกินแต่ละประเภท ได้มีการกำหนดแผนการดำเนินงานดังกล่าวไว้แล้วในแผนปฏิบัติการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ปี 2546 - 2547 และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2546
6. การแปลงสินทรัพย์เป็นทุนมีเจตนารมณ์ที่จะสร้างโอกาสให้แก่ประชาชน โดยเฉพาะประชาชนผู้ยากจนและผู้ประกอบการรายย่อยให้มีโอกาสได้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในระบบ โดยใช้สินทรัพย์ที่ครอบครองหรือได้รับอนุญาตให้ใช้จากหน่วยงานของรัฐตามกฎหมาย เป็นหลักประกันการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อนำไปลงทุนเท่านั้น มิได้มีวัตถุประสงค์ให้มีการกู้ยืมเพื่อการบริโภคอันไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จึงได้ร่วมกับสถาบันการเงินที่จะพิจารณาจัดหาทุนเฉพาะที่จะก่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ทำให้เกิดความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ
7. การดำเนินงานตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้มีการกำหนดแผนงานและขั้นตอนต่าง ๆ ไว้ระหว่างหน่วยงานของรัฐและสถาบันการเงินในรูปของข้อตกลงภายในกรอบระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี (2547 - 2551)ซึ่งสำนักงานบริหารการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ได้ตระหนักว่าจำเป็นจะต้องระมัดระวัง ไม่เร่งรีบภายใต้เงื่อนเวลาที่กำหนดอันอาจจะทำให้ผู้ที่ได้รับโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนก่อหนี้สินโดยไม่จำเป็น และได้พยายามสร้างความเข้าใจให้ผู้ต้องการเข้าถึงแหล่งทุนได้ทราบถึงความตั้งใจของรัฐบาลที่จะจัดหาทุนในระบบเพื่อการพัฒนาและเพิ่มผลผลิตทางเศรษฐกิจ ตลอดจนได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาศักยภาพในการใช้เงินทุนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-