แท็ก
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง
กระทรวงการคลัง
คณะรัฐมนตรี
ภาษีที่ดิน
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานความก้าวหน้าในการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินของชาติ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 มิถุนายน 2546 สรุปได้ดังนี้
ผลความก้าวหน้า
1. แผนงานปรับปรุงระบบภาษีที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง รับผิดชอบ ขณะนี้การศึกษาความเหมาะสมในการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงการคลังพิจารณา
ส่วนร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …. อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อจะได้ส่งเรื่องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
2. แผนงานปรับปรุงองค์กรบริหารจัดการที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ ได้ว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดระยะเวลาดำเนินการ6 เดือน (สิ้นสุดสัญญาวันที่ 31 มกราคม 2547) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
จากผลการศึกษาในรายงานฉบับกลาง ที่ปรึกษาได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งได้เสนอแนะแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ โดยการร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ซึ่งไม่ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดิน การดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายฉบับดังกล่าวก็ยังคงเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมที่ดินต่อไป
2) กำหนดให้คณะกรรมการมาจากภาคราชการเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามจริง และกำหนดให้ผู้ที่เป็นกรรมการซึ่งมาจากหน่วยงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องที่ดินโดยตรงเป็น "ผู้แทน" มิใช่ "ตำแหน่งปลัดหรืออธิบดี"
3) กำหนดสัดส่วนระหว่างคณะกรรมการภาครัฐและภาคเอกชนเป็น 1:1
4) กำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การพัฒนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศมาเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
5) กำหนดให้มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ที่จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายร่วมเป็นกรรมการ
6) จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายเลขานุการและธุรการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้สำนักงานมีความเป็นอิสระขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยการยุบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการดินและที่ดินของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรมที่ดิน และสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน
7) กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติให้มีความครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดินโดยรวม เพื่อให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
8) กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายที่ดินส่วนจังหวัด เพื่อให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในการกำหนดนโยบายที่ดินของประเทศในภาพรวมต่อไป
3. แผนงานระบบข้อมูลที่ดิน ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำข้อกำหนดการศึกษา (TOR) เพื่อว่าจ้างสถาบันการศึกษาเป็นที่ปรึกษาโครงการระบบข้อมูลที่ดิน ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี โดยกำหนดให้ศึกษาในประเด็นหลักที่สำคัญ คือ
1) สำรวจสถานภาพระบบข้อมูลที่ดิน ทะเบียนที่ดิน และแผนที่มาตรฐานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรดินและที่ดิน ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม เพื่อนำผลไปใช้ในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาสารสนเทศที่ดิน
2) พัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน สำหรับใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของประเทศ เพื่อเป็นระบบมาตรฐานกลางให้ทุกหน่วยงานที่ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินของหน่วยงาน
3) ศึกษารูปแบบการจัดตั้งองค์กรมหาชน เพื่อรองรับระบบสารสนเทศที่ดินของประเทศ
4) การจัดประชุมสัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. แผนงานกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ
4.1 ในปีงบประมาณ 2546 ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการ โครงการศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและมาตรการที่มีผลใช้บังคับ ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน (สิ้นสุดสัญญาวันที่ 28 มีนาคม 2547) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ซึ่งมีกำหนดส่งประมาณวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 และคาดว่าการดำเนินการตามโครงการจะแล้วเสร็จภายในกำหนดในสัญญา
จากผลการศึกษารายงานฉบับกลาง ที่ปรึกษาได้รายงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเสนอแนวทาง ดังนี้
1) สรุปสถานการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัญหา อุปสรรค ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินปัญหา ตลอดจนปัญหาด้านการบริหารภาครัฐ
2) กรอบแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักสิ่งแวดล้อม หลักสังคมและหลักเศรษฐศาสตร์
3) การกำหนดเขตเมืองที่ประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว ต้องพิจารณาจากเกณฑ์ที่สำคัญอย่างน้อย3 ประการ คือ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น มาตรการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และความเหมาะสมของพื้นที่โดยรอบในการขยายตัว
4) แนวทางมาตรการสนับสนุนอื่นที่ใช้เป็นกลไกในการควบคุมการใช้ประโยชน์ ตลอดจนทางเลือกรูปแบบ วิธีการ และความจำเป็นในการออกกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการ
ขณะนี้ได้กำหนดให้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ในวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ก่อนส่งร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
4.2 ในปีงบประมาณ 2547 ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการนำร่องในการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและการอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรดินและที่ดิน โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ทดลอง 1 พื้นที่ ระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน ลงนามในสัญญาว่าจ้างวันที่ 31 ธันวาคม 2546 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 26กันยายน 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1) ศึกษารูปแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรดินและที่ดิน
2) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ รูปแบบ แนวทาง วิธีการปฏิบัติ โดยมีลำดับขั้นตอน สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรดินและที่ดิน ที่สามารถใช้เป็นต้นแบบ (Model) ในการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับการมีข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว
5. แผนงานอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ โดยรับโอนงานจากสำนักแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนกันยายน 2546 ตามแผนงานกำหนดให้มีการดำเนินการ 3 โครงการ คือ
1) โครงการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) โครงการนำร่องให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรดินและที่ดิน
3) โครงการเร่งรัดการกันเขตที่ดินของรัฐ
ขณะนี้อยู่ระหว่างขอใช้งบกลางปี 2547 เพื่อดำเนินการตามโครงการที่ 1) ส่วนโครงการที่ 2) ได้ผนวกเนื้อหารวมไว้ในโครงการนำร่องของแผนงานกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งดำเนินการในปีงบประมาณ 2547 และได้แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูล และจัดทำแผนงาน/โครงการในการกันเขตที่ดินของรัฐตามโครงการที่ 3) แล้ว
6. แผนงานคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการและคณะทำงานดำเนินการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยได้กำหนดขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
1) การจัดเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล ได้แก่ ทะเบียนผู้ถือครองที่ดิน แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
2) กำหนดมาตรการในการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ มาตรการทางกฎหมายและมาตรการสนับสนุน
3) กำหนดพื้นที่คุ้มครอง ได้แก่ ประสานงานกับ อบต. เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลพื้นที่ที่สมควรคุ้มครองคัดเลือกพื้นที่ จัดลำดับความสำคัญ และกำหนดพื้นที่
4) การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5) การเตรียมความพร้อมของเจ้าของที่ดิน เกษตรกร และชุมชนที่เกี่ยวข้อง
6) การคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ ประกาศเขตคุ้มครอง ขึ้นทะเบียนที่ดิน ส่งเสริม สนับสนุนการใช้ที่ดิน และติดตามการใช้ประโยชน์
ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการของคณะทำงาน
7. แผนงานปรับปรุงสิทธิในที่ดิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อศึกษาความเป็นไปและแนวทางในการปรับระบบเอกสารสิทธิในที่ดินให้เป็นระบบเดียวแล้วคณะกรรมการมีความเห็นตรงกันในหลักการที่ว่า ควรปรับระบบเอกสารสิทธิในที่ดินให้เป็นระบบเดียว คือ โฉนดที่ดิน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกรมที่ดินได้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน โดยมีโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
1) ระยะที่ 1 ออกโฉนดที่ดินจากหลักฐานใบจอง สค.1 ให้เสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2546จำนวน 260,000 แปลง
2) ระยะที่ 2 ออกโฉนดที่ดินจากหลักฐาน น.ค.3 กสน.5 น.ส.5 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข. และที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2547
3) ระยะที่ 3 ออกโฉนดที่ดินจากหลักฐาน น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข. และที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ส่วนที่เหลือจากการดำเนินการในระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
ผลความก้าวหน้า
1. แผนงานปรับปรุงระบบภาษีที่ดิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง รับผิดชอบ ขณะนี้การศึกษาความเหมาะสมในการจัดเก็บภาษีที่ดินในอัตราก้าวหน้าตามขนาดการถือครองที่ดิน อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อเสนอผลการศึกษาให้กระทรวงการคลังพิจารณา
ส่วนร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. …. อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อจะได้ส่งเรื่องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา
2. แผนงานปรับปรุงองค์กรบริหารจัดการที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ ได้ว่าจ้างศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการศึกษาปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติกำหนดระยะเวลาดำเนินการ6 เดือน (สิ้นสุดสัญญาวันที่ 31 มกราคม 2547) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
จากผลการศึกษาในรายงานฉบับกลาง ที่ปรึกษาได้รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องพร้อมทั้งได้เสนอแนะแนวทางดำเนินการ ดังนี้
1) จัดตั้งคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ โดยการร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ซึ่งไม่ต้องแก้ไขประมวลกฎหมายที่ดิน การดำเนินการใด ๆ ตามกฎหมายฉบับดังกล่าวก็ยังคงเป็นอำนาจหน้าที่ของกรมที่ดินต่อไป
2) กำหนดให้คณะกรรมการมาจากภาคราชการเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามจริง และกำหนดให้ผู้ที่เป็นกรรมการซึ่งมาจากหน่วยงานที่ไม่ได้เกี่ยวข้องเรื่องที่ดินโดยตรงเป็น "ผู้แทน" มิใช่ "ตำแหน่งปลัดหรืออธิบดี"
3) กำหนดสัดส่วนระหว่างคณะกรรมการภาครัฐและภาคเอกชนเป็น 1:1
4) กำหนดให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การพัฒนา การอนุรักษ์ ฟื้นฟู และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดินของประเทศมาเป็นกรรมการในคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ
5) กำหนดให้มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ที่จดทะเบียนโดยถูกต้องตามกฎหมายร่วมเป็นกรรมการ
6) จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติขึ้นมาเพื่อเป็นฝ่ายเลขานุการและธุรการสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการ โดยให้สำนักงานมีความเป็นอิสระขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี โดยการยุบรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการดินและที่ดินของสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกรมที่ดิน และสำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน
7) กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติให้มีความครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทรัพยากรดินและที่ดินโดยรวม เพื่อให้คณะกรรมการฯ มีอำนาจเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
8) กำหนดให้มีคณะกรรมการนโยบายที่ดินส่วนจังหวัด เพื่อให้ท้องถิ่นได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการในการกำหนดนโยบายที่ดินของประเทศในภาพรวมต่อไป
3. แผนงานระบบข้อมูลที่ดิน ศูนย์เทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำข้อกำหนดการศึกษา (TOR) เพื่อว่าจ้างสถาบันการศึกษาเป็นที่ปรึกษาโครงการระบบข้อมูลที่ดิน ระยะเวลาดำเนินการ 1 ปี โดยกำหนดให้ศึกษาในประเด็นหลักที่สำคัญ คือ
1) สำรวจสถานภาพระบบข้อมูลที่ดิน ทะเบียนที่ดิน และแผนที่มาตรฐานของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรดินและที่ดิน ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม เพื่อนำผลไปใช้ในการกำหนดรูปแบบการพัฒนาสารสนเทศที่ดิน
2) พัฒนาระบบสารสนเทศที่ดิน สำหรับใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรที่ดินของประเทศ เพื่อเป็นระบบมาตรฐานกลางให้ทุกหน่วยงานที่ใช้เป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ดินของหน่วยงาน
3) ศึกษารูปแบบการจัดตั้งองค์กรมหาชน เพื่อรองรับระบบสารสนเทศที่ดินของประเทศ
4) การจัดประชุมสัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
4. แผนงานกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ
4.1 ในปีงบประมาณ 2546 ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ดำเนินการ โครงการศึกษาความเป็นไปได้และแนวทางกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและมาตรการที่มีผลใช้บังคับ ระยะเวลาดำเนินการ 8 เดือน (สิ้นสุดสัญญาวันที่ 28 มีนาคม 2547) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ ซึ่งมีกำหนดส่งประมาณวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2547 และคาดว่าการดำเนินการตามโครงการจะแล้วเสร็จภายในกำหนดในสัญญา
จากผลการศึกษารายงานฉบับกลาง ที่ปรึกษาได้รายงานและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องและเสนอแนวทาง ดังนี้
1) สรุปสถานการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดิน ปัญหา อุปสรรค ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้ที่ดินปัญหา ตลอดจนปัญหาด้านการบริหารภาครัฐ
2) กรอบแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ หลักการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักสิ่งแวดล้อม หลักสังคมและหลักเศรษฐศาสตร์
3) การกำหนดเขตเมืองที่ประชากรตั้งถิ่นฐานอยู่แล้ว ต้องพิจารณาจากเกณฑ์ที่สำคัญอย่างน้อย3 ประการ คือ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น มาตรการใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน และความเหมาะสมของพื้นที่โดยรอบในการขยายตัว
4) แนวทางมาตรการสนับสนุนอื่นที่ใช้เป็นกลไกในการควบคุมการใช้ประโยชน์ ตลอดจนทางเลือกรูปแบบ วิธีการ และความจำเป็นในการออกกฎหมายหรือปรับปรุงกฎหมายเพื่อรองรับการดำเนินการ
ขณะนี้ได้กำหนดให้มีการสัมมนาระดมความคิดเห็น ครั้งที่ 2 ในวันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ 2547ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ ก่อนส่งร่างรายงานฉบับสมบูรณ์
4.2 ในปีงบประมาณ 2547 ได้ว่าจ้างมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ดำเนินโครงการนำร่องในการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินและการอนุรักษ์ฟื้นฟูการใช้ทรัพยากรดินและที่ดิน โดยการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในพื้นที่ทดลอง 1 พื้นที่ ระยะเวลาดำเนินการ 9 เดือน ลงนามในสัญญาว่าจ้างวันที่ 31 ธันวาคม 2546 สิ้นสุดสัญญาวันที่ 26กันยายน 2547 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1) ศึกษารูปแบบ หลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติที่เหมาะสม สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรดินและที่ดิน
2) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ คือ รูปแบบ แนวทาง วิธีการปฏิบัติ โดยมีลำดับขั้นตอน สำหรับกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนในการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน และการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรดินและที่ดิน ที่สามารถใช้เป็นต้นแบบ (Model) ในการดำเนินการได้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับการมีข้อเสนอในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการดังกล่าว
5. แผนงานอนุรักษ์ ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์ทรัพยากรดินและที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รับผิดชอบ โดยรับโอนงานจากสำนักแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ สำนักงานปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อเดือนกันยายน 2546 ตามแผนงานกำหนดให้มีการดำเนินการ 3 โครงการ คือ
1) โครงการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2) โครงการนำร่องให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ทรัพยากรดินและที่ดิน
3) โครงการเร่งรัดการกันเขตที่ดินของรัฐ
ขณะนี้อยู่ระหว่างขอใช้งบกลางปี 2547 เพื่อดำเนินการตามโครงการที่ 1) ส่วนโครงการที่ 2) ได้ผนวกเนื้อหารวมไว้ในโครงการนำร่องของแผนงานกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งดำเนินการในปีงบประมาณ 2547 และได้แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบที่ดินของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวบรวมข้อมูล และจัดทำแผนงาน/โครงการในการกันเขตที่ดินของรัฐตามโครงการที่ 3) แล้ว
6. แผนงานคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับผิดชอบ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการจัดทำแผนปฏิบัติการและคณะทำงานดำเนินการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยได้กำหนดขั้นตอนการทำงาน ดังนี้
1) การจัดเตรียมความพร้อมด้านข้อมูล ได้แก่ ทะเบียนผู้ถือครองที่ดิน แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศ
2) กำหนดมาตรการในการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ มาตรการทางกฎหมายและมาตรการสนับสนุน
3) กำหนดพื้นที่คุ้มครอง ได้แก่ ประสานงานกับ อบต. เพื่อสำรวจเก็บข้อมูลพื้นที่ที่สมควรคุ้มครองคัดเลือกพื้นที่ จัดลำดับความสำคัญ และกำหนดพื้นที่
4) การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
5) การเตรียมความพร้อมของเจ้าของที่ดิน เกษตรกร และชุมชนที่เกี่ยวข้อง
6) การคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ ประกาศเขตคุ้มครอง ขึ้นทะเบียนที่ดิน ส่งเสริม สนับสนุนการใช้ที่ดิน และติดตามการใช้ประโยชน์
ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการของคณะทำงาน
7. แผนงานปรับปรุงสิทธิในที่ดิน กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย รับผิดชอบ กระทรวงมหาดไทยได้แต่งตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อศึกษาความเป็นไปและแนวทางในการปรับระบบเอกสารสิทธิในที่ดินให้เป็นระบบเดียวแล้วคณะกรรมการมีความเห็นตรงกันในหลักการที่ว่า ควรปรับระบบเอกสารสิทธิในที่ดินให้เป็นระบบเดียว คือ โฉนดที่ดิน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกรมที่ดินได้มีการดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบายการแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุน โดยมีโครงการเร่งรัดออกโฉนดที่ดินทั่วประเทศ ดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
1) ระยะที่ 1 ออกโฉนดที่ดินจากหลักฐานใบจอง สค.1 ให้เสร็จภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2546จำนวน 260,000 แปลง
2) ระยะที่ 2 ออกโฉนดที่ดินจากหลักฐาน น.ค.3 กสน.5 น.ส.5 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข. และที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ดำเนินการตั้งแต่ 1 มกราคม 2547 ถึง 30 กันยายน 2547
3) ระยะที่ 3 ออกโฉนดที่ดินจากหลักฐาน น.ส.3 น.ส.3 ก. น.ส.3 ข. และที่ดินที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ส่วนที่เหลือจากการดำเนินการในระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ 2549
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-