คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการ Sea Food Bank และให้กรมประมงเป็นหน่วยงานดำเนินโครงการฯ โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปีงบประมาณ 2547 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สำหรับงบประมาณการดำเนินการให้ไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน "โครงการ Sea Food Bank" โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
เพื่อจัดที่ทำกินให้แก่ประชาชนในการแก้ปัญหาความยากจน และสร้างฐานการผลิตอาหารทะเลทดแทนการจับจากธรรมชาติ และเป็นการสร้างระบบการผลิตอาหารให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. เป้าหมาย
จัดทำเอกสารสิทธิการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 284,492 ไร่ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2547 จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ตามมาตรฐานการผลิต GAP และ CoC ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกรายก่อนได้รับเอกสารสิทธิ แจกเอกสารสิทธิในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมแล้ว และจัดทำระบบ Contract Farming เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่กลุ่มเป้าหมาย
3. วิธีการดำเนินการ
3.1 การจัดทำเอกสารสิทธิในการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ศึกษาการจัดทำแผนที่ทางทะเล เพื่อจัดทำเอกสารแสดงสิทธิในการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดทำการสำรวจ - รังวัดพื้นที่อนุญาตเดิม พื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำปัจจุบัน และพื้นที่ที่มีศักยภาพการผลิตสัตว์น้ำ จำนวน 284,492 ไร่ จัดทำแผนที่ Digital mapping โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม การสอบสวนสิทธิการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดสรรพื้นที่ ดำเนินการนำพื้นที่ที่มีศักยภาพการเพาะเลี้ยงชายฝั่งประมาณ 284,492 ไร่ มาออกเอกสารสิทธิในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามกระบวนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมประมงจะเป็นผู้รับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยการจดทะเบียนและออกเอกสารแสดงสิทธิฯ ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กรมประมงกำหนดไม่เกิน 10 ไร่ การจัดทำเอกสารสิทธิในการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายพื้นที่ โดยให้สิทธิแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้สามารถให้เป็นที่ทำกิน
3.2 การคัดเลือกประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
3.3 การอบรม จัดทำหลักสูตรในการอบรมเทคนิคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ
3.4 การจัดทำระบบ Contract Farming กรมประมงร่วมกับองค์การสะพานปลาจัดตั้งบริษัทเพื่อทำสัญญา (Contract Farming) กับวิสาหกิจชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำและกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการตามเขตพื้นที่การผลิต
3.5 การจัดทำระบบ Clearing House กรมประมงร่วมกับองค์การสะพานปลาเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้กลไกของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้น ผู้เข้าร่วมรายใหม่จะต้องคัดสรรโดยวิสาหกิจชุมชนตามเงื่อนไขที่กรมประมงกำหนด และกรมประมงจัดตั้งกองทุนซึ่งมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหากรณีผู้เข้าร่วมโครงการผิดเงื่อนไขกับสถาบันการเงิน
3.6 การสนับสนุนการผลิตของกรมประมง
3.7 การจัดแหล่งพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำจำพวกหอยในธรรมชาติ (Seedbed)
3.8 การประเมินมูลค่าและการเข้าสู่แหล่งทุน
4. ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2547 - 2548)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดทำโครงการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน "โครงการ Sea Food Bank" โดยสรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์
เพื่อจัดที่ทำกินให้แก่ประชาชนในการแก้ปัญหาความยากจน และสร้างฐานการผลิตอาหารทะเลทดแทนการจับจากธรรมชาติ และเป็นการสร้างระบบการผลิตอาหารให้มีความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลโดยไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
2. เป้าหมาย
จัดทำเอกสารสิทธิการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 284,492 ไร่ ให้แล้วเสร็จภายในปี 2547 จัดการฝึกอบรมเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ตามมาตรฐานการผลิต GAP และ CoC ให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายทุกรายก่อนได้รับเอกสารสิทธิ แจกเอกสารสิทธิในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้แก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการอบรมแล้ว และจัดทำระบบ Contract Farming เพื่อสนับสนุนการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำแก่กลุ่มเป้าหมาย
3. วิธีการดำเนินการ
3.1 การจัดทำเอกสารสิทธิในการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ศึกษาการจัดทำแผนที่ทางทะเล เพื่อจัดทำเอกสารแสดงสิทธิในการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ การจัดทำการสำรวจ - รังวัดพื้นที่อนุญาตเดิม พื้นที่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำปัจจุบัน และพื้นที่ที่มีศักยภาพการผลิตสัตว์น้ำ จำนวน 284,492 ไร่ จัดทำแผนที่ Digital mapping โดยใช้แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม การสอบสวนสิทธิการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและการจัดสรรพื้นที่ ดำเนินการนำพื้นที่ที่มีศักยภาพการเพาะเลี้ยงชายฝั่งประมาณ 284,492 ไร่ มาออกเอกสารสิทธิในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามกระบวนทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกรมประมงจะเป็นผู้รับรองสิทธิการใช้ประโยชน์ในพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยการจดทะเบียนและออกเอกสารแสดงสิทธิฯ ให้กับผู้เข้าร่วมโครงการตามหลักเกณฑ์ที่กรมประมงกำหนดไม่เกิน 10 ไร่ การจัดทำเอกสารสิทธิในการใช้พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำรายพื้นที่ โดยให้สิทธิแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมายให้สามารถให้เป็นที่ทำกิน
3.2 การคัดเลือกประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
3.3 การอบรม จัดทำหลักสูตรในการอบรมเทคนิคการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชนิดต่าง ๆ
3.4 การจัดทำระบบ Contract Farming กรมประมงร่วมกับองค์การสะพานปลาจัดตั้งบริษัทเพื่อทำสัญญา (Contract Farming) กับวิสาหกิจชุมชนที่อยู่ในพื้นที่เลี้ยงสัตว์น้ำและกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการตามเขตพื้นที่การผลิต
3.5 การจัดทำระบบ Clearing House กรมประมงร่วมกับองค์การสะพานปลาเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้กลไกของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้น ผู้เข้าร่วมรายใหม่จะต้องคัดสรรโดยวิสาหกิจชุมชนตามเงื่อนไขที่กรมประมงกำหนด และกรมประมงจัดตั้งกองทุนซึ่งมีรายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้พื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหากรณีผู้เข้าร่วมโครงการผิดเงื่อนไขกับสถาบันการเงิน
3.6 การสนับสนุนการผลิตของกรมประมง
3.7 การจัดแหล่งพ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำจำพวกหอยในธรรมชาติ (Seedbed)
3.8 การประเมินมูลค่าและการเข้าสู่แหล่งทุน
4. ระยะเวลาดำเนินการ 2 ปี (2547 - 2548)
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 24 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-