คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปสถานการณ์ความแห้งแล้ง (วันที่ 1 ตุลาคม 2547 ถึงวันที่ 29 มกราคม 2548) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
ตามที่เกิดสถานการณ์ความแห้งแล้งขึ้นในหลายจังหวัดทุกภาคของประเทศ เป็นเหตุให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแก่ประชาชน และคาดว่าความแห้งแล้งจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปอีก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งระดมการให้ความช่วยเหลือและกระทรวงมหาดไทยได้สรุปสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบเป็นระยะต่อเนื่องแล้วนั้น กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้สรุปรายงานสถานการณ์ความแห้งแล้งและผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้
สถานการณ์ความแห้งแล้ง มีจังหวัดประสบภัย 55 จังหวัด 552 อำเภอ 54 กิ่งอำเภอ 4,249 ตำบล 38,053 หมู่บ้าน (ข้อมูลถึงวันที่ 29 มกราคม 2548) รวมราษฎรเดือดร้อน จำนวน 7,312,467 คน 2,098,517 ครัวเรือน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ประสบ พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบ
ความเสียหายแล้ว (ไร่) ความเสียหาย (ไร่)
- นาข้าว 9,813,411 ไร่ 5,742,510 ไร่
- พืชไร่ 2,896,557 ไร่ 3,076,496 ไร่
- พืชสวน 310,291 ไร่ 1,016,860 ไร่
รวม 13,020,259 ไร่ 9,835,866 ไร่
มูลค่าความเสียหาย 6,523,528,206 บาท 5,039,794,025 บาท
จังหวัดที่พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายมาก 10 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครสวรรค์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ลพบุรี กาญจนบุรี
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด / อำเภอ / กิ่งอำเภอ
1. การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร (1) ใช้เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรจากทุกหน่วยงานและของประชาชน รวม 32,456 เครื่อง (2) ใช้รถบรรทุกน้ำ 279 คัน จำนวน 4,971 เที่ยว ปริมาณน้ำ 47,707,000 ลิตร (3) สร้างทำนบ / ฝายเก็บกักน้ำ 4079 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 4,178 แห่ง (4) พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการช่วยเหลือ 5,310,000 ไร่
2. การแจกจ่ายน้ำอุปโภค / บริโภค (1) รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1,226 คัน 41,149 เที่ยว (2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย จำนวน 384,873,600 ลิตร
กระทรวงมหาดไทย ได้เร่งรัดให้จังหวัดที่ประสบภัยใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 411,672,582.88 บาท ดังนี้
(1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) เป็นเงิน 291,598,639 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเงิน 76,985,443.88 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO เป็นเงิน 43,088,500 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
ตามที่เกิดสถานการณ์ความแห้งแล้งขึ้นในหลายจังหวัดทุกภาคของประเทศ เป็นเหตุให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมทั้งก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคแก่ประชาชน และคาดว่าความแห้งแล้งจะยังคงดำรงอยู่ต่อไปอีก ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ทุกส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเร่งระดมการให้ความช่วยเหลือและกระทรวงมหาดไทยได้สรุปสถานการณ์และการให้ความช่วยเหลือเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อทราบเป็นระยะต่อเนื่องแล้วนั้น กระทรวงมหาดไทย โดยสำนักเลขาธิการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงได้สรุปรายงานสถานการณ์ความแห้งแล้งและผลการดำเนินการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติม ดังนี้
สถานการณ์ความแห้งแล้ง มีจังหวัดประสบภัย 55 จังหวัด 552 อำเภอ 54 กิ่งอำเภอ 4,249 ตำบล 38,053 หมู่บ้าน (ข้อมูลถึงวันที่ 29 มกราคม 2548) รวมราษฎรเดือดร้อน จำนวน 7,312,467 คน 2,098,517 ครัวเรือน
พื้นที่การเกษตรที่ประสบความแห้งแล้ง
ประเภทพืช พื้นที่การเกษตรที่ประสบ พื้นที่การเกษตรที่คาดว่าจะประสบ
ความเสียหายแล้ว (ไร่) ความเสียหาย (ไร่)
- นาข้าว 9,813,411 ไร่ 5,742,510 ไร่
- พืชไร่ 2,896,557 ไร่ 3,076,496 ไร่
- พืชสวน 310,291 ไร่ 1,016,860 ไร่
รวม 13,020,259 ไร่ 9,835,866 ไร่
มูลค่าความเสียหาย 6,523,528,206 บาท 5,039,794,025 บาท
จังหวัดที่พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายมาก 10 อันดับแรก ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ อุบลราชธานี บุรีรัมย์ ขอนแก่น นครสวรรค์ ศรีสะเกษ มหาสารคาม ลพบุรี กาญจนบุรี
การให้ความช่วยเหลือของจังหวัด / อำเภอ / กิ่งอำเภอ
1. การจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตร (1) ใช้เครื่องสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรจากทุกหน่วยงานและของประชาชน รวม 32,456 เครื่อง (2) ใช้รถบรรทุกน้ำ 279 คัน จำนวน 4,971 เที่ยว ปริมาณน้ำ 47,707,000 ลิตร (3) สร้างทำนบ / ฝายเก็บกักน้ำ 4079 แห่ง ขุดลอกแหล่งน้ำ 4,178 แห่ง (4) พื้นที่การเกษตรที่ได้รับการช่วยเหลือ 5,310,000 ไร่
2. การแจกจ่ายน้ำอุปโภค / บริโภค (1) รถบรรทุกน้ำ จำนวน 1,226 คัน 41,149 เที่ยว (2) ปริมาณน้ำที่แจกจ่าย จำนวน 384,873,600 ลิตร
กระทรวงมหาดไทย ได้เร่งรัดให้จังหวัดที่ประสบภัยใช้จ่ายงบประมาณเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาความแห้งแล้งไปแล้ว รวมทั้งสิ้น 411,672,582.88 บาท ดังนี้
(1) งบฉุกเฉินทดรองราชการของจังหวัด (งบ 50 ล้านบาท) เป็นเงิน 291,598,639 บาท
(2) งบฉุกเฉินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นเงิน 76,985,443.88 บาท
(3) งบประมาณอื่น ๆ เช่น งบจังหวัด CEO เป็นเงิน 43,088,500 บาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--