คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานสรุปผลการติดตามประเมินผลค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนี้
คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการพิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ของการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยได้มีการกำหนดแผนงาน National Program ที่มีจุดเน้น (Focus) ชัดเจนและคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง (Mass) ประกอบด้วยแผนงานสำคัญ 4 ด้าน คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) การฝึกอบรม/ทักษะแรงงาน การท่องเที่ยว และการเกษตร นอกจากนั้น ยังจัดให้มีแผนงานด้านอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาเพิ่มเติมในภายหลัง โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. การพิจารณาคัดเลือกโครงการ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ได้คัดเลือกโครงการที่กระทรวงหรือหน่วยงานต่าง ๆ นำเสนอตามแผนงาน National Program เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในช่วงปีงบประมาณ 2545 ประกอบด้วย
1.1 แผนงาน National Program จำนวน 31 โครงการ วงเงิน 18,410.23 ล้านบาท จำแนกเป็นแต่ละแผนงาน ได้ดังนี้
1) แผนงานด้านอุตสาหกรรมและ SMEs จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 2,274.96 ล้านบาท
2) แผนงานด้านการฝึกอบรม จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 5,551.00 ล้านบาท
3) แผนงานด้านการท่องเที่ยว จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 5,807.48 ล้านบาท
4) แผนงานด้านการเกษตร จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 4,776.79 ล้านบาท
1.2 แผนงานด้านชุมชน จำนวน 11,048 โครงการ วงเงิน 5,468.38 ล้านบาท
1.3 แผนงานอื่น ๆ ครอบคลุมลักษณะโครงการที่กว้างขวางออกไป ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ที่มีการพิจารณาอนุมัติทั้งในช่วงปีงบประมาณ 2545 และ 2546 รวมทั้งสิ้น 39 โครงการ วงเงิน 34,117.24 ล้านบาท
2. การจัดสรรงบประมาณ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2546 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 70 โครงการ 1 แผนงาน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 57,995.85 ล้านบาท จำแนกเป็น
2.1 แผนงาน National Program จำนวน 31 โครงการ คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 18,410.23 ล้านบาท
2.2 แผนงานด้านชุมชน จำนวน 11,048 โครงการ คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 5,468.38 ล้านบาท
2.3 แผนงานอื่น ๆ จำนวน 39 โครงการ คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 34,117.24 ล้านบาท
2.4 อย่างไรก็ตาม ในแผนงานอื่นๆ มี 3 รายการ วงเงิน 17,057.32 ล้านบาท คือ โครงการค่าใช้จ่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (5,473.46 ล้านบาท) โครงการค่าใช้จ่ายสำหรับการปฏิรูปการศึกษา (6,583.86 ล้านบาท) และโครงการค่าใช้จ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (5,000 ล้านบาท) ได้ถูกโอนไปเพื่อใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเดิมทำให้เหลืองบประมาณตามวัตถุประสงค์เดิม จำนวน 40,938.53 ล้านบาท
3. การเบิกจ่าย จากข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2546 มีโครงการภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 57,995.85 ล้านบาท และสำนักงบประมาณอนุมัติเงินงวดแล้ว 55,831.91 ล้านบาท ได้มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 44,150.40 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.08 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติเงินงวด
4. ผลการประเมินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การประเมินผลค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประเมินผลกระทบโครงการ ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติทั้งหมด ยกเว้นค่าใช้จ่ายของ 3 โครงการที่ได้โอนค่าใช้จ่ายเป็นงบกลางแล้ว คือ ค่าใช้จ่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 5,473.46 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 5,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำหรับปฏิรูปการศึกษาจำนวน 6,583.66 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินที่นำไปประเมินผลกระทบทั้งสิ้น 40,938.53 ล้านบาท โดยการประเมินผลกระทบเศรษฐกิจมหภาคได้ใช้ข้อมูลการใช้จ่ายถึง ณ 31 สิงหาคม 2546 ซึ่งผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ดังนี้
4.1 ผลต่อรายได้ ก่อให้เกิดการขยายตัวของอุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจได้ตามที่คาดหวังไว้และได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากในทันทีที่เกิดการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวมจากการจับจ่ายใช้สอยที่เกิดขึ้นด้วยขนาดที่เทียบกับค่าของตัวทวี 1.8 แต่ค่าตัวทวีนี้จะมีการปรับตัวลดลงในระยะเวลาต่อมา โดยเหลือขนาดตัวทวีเท่ากับ 0.4 อันเป็นผลมาจากการปรับตัวของตัวแปรต่าง ๆ ในพลวัตตามกาลเวลา ทำให้การกระตุ้นการใช้จ่ายมวลรวมนี้จะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวโดยรวมทั้งสิ้นโดยเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนหยุดนิ่งเท่ากันขนาดของตัวทวี 1.1 เมื่อคิดเป็นตัวเงิน ผลบกระทบระยะสั้นได้ก่อให้เกิดรายได้หรือผลผลิตเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 48,557 ล้านบาท หรือประมาณ 0.5 ของ GDP ในระยะเวลาเดียวกัน
4.2 ผลต่อการจ้างงานพบว่า ผลจากการใช้จ่ายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อการจ้างงาน ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานเต็มเวลาโดยเฉลี่ยจำนวน 56,366 คนต่อเดือน ตลอดทุกเดือนที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้มีงานทำในช่วงเดียวกันซึ่งมีประมาณ 32 ล้านคน จึงก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 0.18 ของการจ้างงานทั้งหมด เมื่อนำข้อสมมติฐานที่ว่ามีผู้ถูกจ้างงานอยู่ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานไร้ฝีมือร้อยละ 70 ถึง 80 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดมาวิเคราะห์ ทำให้อัตราค่าจ้างโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 6,500 ถึง 7,000 บาท/คน/เดือน ส่งผลให้การจ้างงานจะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.9 - 2.0 ล้านคน - เดือน ที่เกิดจากการใช้จ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 26,962 ล้านบาท
4.3 ผลต่อเศรษฐกิจรายสาขาและรายพื้นที่ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจฯ ได้ก่อให้เกิดรายได้หรือผลผลิตต่อ GDP ในระยะสั้น โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรกของการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นการสนับสนุนเกื้อกูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายไตรมาส ประมาณร้อยละ 0.2 ถึง 0.5 เทียบกับ GDP เมื่อพิจารณารายละเอียดการกระตุ้นเศรษฐกิจจำแนกตามรายแผนงาน พบว่าก่อให้เกิดผลกระทบเทียบต่อ GDP สูงสุดในสาขาเกษตรกรรมในช่วงแรก ๆ ของโครงการ และมีการต่อสาขาบริการในสัดส่วนที่สูงและคงที่ในระยะต่อ ๆ มา สำหรับการกระจายตัวของการกระตุ้นอุปสงค์รายภาคโดยเปรียบเทียบกับผลผลิตของภาค (GRP) พบว่า มีสัดส่วนสูงสุดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4.4 ผลต่อการวางรากฐานการพัฒนาระยะยาว โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในระยะยาวได้ระดับหนึ่ง จากผลการปฏิบัติโครงการ เช่น โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย โครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพฯ โครงการพัฒนาพื้นที่และสาขาการท่องเที่ยว โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการชลประทานเป็นต้น ซึ่งได้ช่วยยกระดับทักษะด้านการบริหารจัดการ การพัฒนามือแรงงาน และทักษะการประกอบอาชีพให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมในด้านและระดับต่าง ๆ ประมาณ 500,000 คน มีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการปรับปรุงกว่า 100 แห่ง มีการจัดการด้านระบบชลประทานในท้องถิ่นกว่า 4,300 แห่ง และมีความยาวของถนนคอนกรีตที่ได้รับการก่อสร้างในหมู่บ้านทั่วประเทศประมาณ 1,870 กิโลเมตร ผลผลิตโครงการที่สำคัญเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระดับรากหญ้าและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพและต่อเนื่องในอนาคต อย่างไรก็ดี การศึกษาเกี่ยวกับภาคการผลิตและ บริการที่จะก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศ พบว่าในระยะสั้นผลกระทบของโครงการในการเพิ่มเงินตราต่างประเทศมีน้อย เนื่องจากลักษณะของโครงการย่อยที่นำไปปฏิบัติส่วนใหญ่จะเน้นที่เรื่องการสร้างรายได้และการจ้างงานในประเทศมากกว่า แต่อาจจะเห็นผลในระยะปานกลางและระยะยาวในโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการโดยรวมยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ทำให้ผลของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไม่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มศักยภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะปัจจุบันเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ มีโอกาสที่จะนำไปขยายผลหรือดำเนินการต่อไปในอนาคตได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าปัญหาหรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่พบจากการศึกษาได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเพียงพอ ดังนั้น การดำเนินโครงการที่ใช้งบประมาณพิเศษในลักษณะนี้ ควรมีการกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน กลไกการดำเนินงาน และกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่ชัดเจนและเกิดความคล่องตัว เพื่อให้การดำเนินงานสามารถตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลต่อเนื่องระยะยาวในการเพิ่มศักยภาพของคน รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อใช้ในการพิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองโครงการที่จะขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ของการใช้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้ว โดยได้มีการกำหนดแผนงาน National Program ที่มีจุดเน้น (Focus) ชัดเจนและคาดว่าจะก่อให้เกิดประโยชน์ในวงกว้าง (Mass) ประกอบด้วยแผนงานสำคัญ 4 ด้าน คือ การพัฒนาอุตสาหกรรมและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) การฝึกอบรม/ทักษะแรงงาน การท่องเที่ยว และการเกษตร นอกจากนั้น ยังจัดให้มีแผนงานด้านอื่น ๆ ที่คณะรัฐมนตรีหรือคณะกรรมการกลั่นกรองฯ พิจารณาเพิ่มเติมในภายหลัง โดยมีผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. การพิจารณาคัดเลือกโครงการ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ ได้คัดเลือกโครงการที่กระทรวงหรือหน่วยงานต่าง ๆ นำเสนอตามแผนงาน National Program เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในช่วงปีงบประมาณ 2545 ประกอบด้วย
1.1 แผนงาน National Program จำนวน 31 โครงการ วงเงิน 18,410.23 ล้านบาท จำแนกเป็นแต่ละแผนงาน ได้ดังนี้
1) แผนงานด้านอุตสาหกรรมและ SMEs จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 2,274.96 ล้านบาท
2) แผนงานด้านการฝึกอบรม จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 5,551.00 ล้านบาท
3) แผนงานด้านการท่องเที่ยว จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 5,807.48 ล้านบาท
4) แผนงานด้านการเกษตร จำนวน 8 โครงการ วงเงิน 4,776.79 ล้านบาท
1.2 แผนงานด้านชุมชน จำนวน 11,048 โครงการ วงเงิน 5,468.38 ล้านบาท
1.3 แผนงานอื่น ๆ ครอบคลุมลักษณะโครงการที่กว้างขวางออกไป ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และการศึกษา ที่มีการพิจารณาอนุมัติทั้งในช่วงปีงบประมาณ 2545 และ 2546 รวมทั้งสิ้น 39 โครงการ วงเงิน 34,117.24 ล้านบาท
2. การจัดสรรงบประมาณ ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2546 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 70 โครงการ 1 แผนงาน เป็นวงเงินทั้งสิ้น 57,995.85 ล้านบาท จำแนกเป็น
2.1 แผนงาน National Program จำนวน 31 โครงการ คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 18,410.23 ล้านบาท
2.2 แผนงานด้านชุมชน จำนวน 11,048 โครงการ คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 5,468.38 ล้านบาท
2.3 แผนงานอื่น ๆ จำนวน 39 โครงการ คณะรัฐมนตรีอนุมัติวงเงิน 34,117.24 ล้านบาท
2.4 อย่างไรก็ตาม ในแผนงานอื่นๆ มี 3 รายการ วงเงิน 17,057.32 ล้านบาท คือ โครงการค่าใช้จ่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (5,473.46 ล้านบาท) โครงการค่าใช้จ่ายสำหรับการปฏิรูปการศึกษา (6,583.86 ล้านบาท) และโครงการค่าใช้จ่ายกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (5,000 ล้านบาท) ได้ถูกโอนไปเพื่อใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ นอกเหนือจากวัตถุประสงค์เพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจเดิมทำให้เหลืองบประมาณตามวัตถุประสงค์เดิม จำนวน 40,938.53 ล้านบาท
3. การเบิกจ่าย จากข้อมูล ณ วันที่ 19 ธันวาคม 2546 มีโครงการภายใต้ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 57,995.85 ล้านบาท และสำนักงบประมาณอนุมัติเงินงวดแล้ว 55,831.91 ล้านบาท ได้มีการเบิกจ่ายเงินแล้ว 44,150.40 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 79.08 ของวงเงินที่ได้รับอนุมัติเงินงวด
4. ผลการประเมินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
การประเมินผลค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ประเมินผลกระทบโครงการ ที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติทั้งหมด ยกเว้นค่าใช้จ่ายของ 3 โครงการที่ได้โอนค่าใช้จ่ายเป็นงบกลางแล้ว คือ ค่าใช้จ่ายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 5,473.46 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 5,000 ล้านบาท และค่าใช้จ่ายสำหรับปฏิรูปการศึกษาจำนวน 6,583.66 ล้านบาท คิดเป็นวงเงินที่นำไปประเมินผลกระทบทั้งสิ้น 40,938.53 ล้านบาท โดยการประเมินผลกระทบเศรษฐกิจมหภาคได้ใช้ข้อมูลการใช้จ่ายถึง ณ 31 สิงหาคม 2546 ซึ่งผลการวิเคราะห์สามารถสรุปได้ดังนี้
4.1 ผลต่อรายได้ ก่อให้เกิดการขยายตัวของอุปสงค์มวลรวมในระบบเศรษฐกิจได้ตามที่คาดหวังไว้และได้ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากในทันทีที่เกิดการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์มวลรวมจากการจับจ่ายใช้สอยที่เกิดขึ้นด้วยขนาดที่เทียบกับค่าของตัวทวี 1.8 แต่ค่าตัวทวีนี้จะมีการปรับตัวลดลงในระยะเวลาต่อมา โดยเหลือขนาดตัวทวีเท่ากับ 0.4 อันเป็นผลมาจากการปรับตัวของตัวแปรต่าง ๆ ในพลวัตตามกาลเวลา ทำให้การกระตุ้นการใช้จ่ายมวลรวมนี้จะกระตุ้นให้เกิดการขยายตัวโดยรวมทั้งสิ้นโดยเฉลี่ยตลอดช่วงเวลาตั้งแต่เริ่มต้นจนหยุดนิ่งเท่ากันขนาดของตัวทวี 1.1 เมื่อคิดเป็นตัวเงิน ผลบกระทบระยะสั้นได้ก่อให้เกิดรายได้หรือผลผลิตเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 48,557 ล้านบาท หรือประมาณ 0.5 ของ GDP ในระยะเวลาเดียวกัน
4.2 ผลต่อการจ้างงานพบว่า ผลจากการใช้จ่ายโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่อการจ้างงาน ได้ก่อให้เกิดการจ้างงานเต็มเวลาโดยเฉลี่ยจำนวน 56,366 คนต่อเดือน ตลอดทุกเดือนที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มต้นโครงการ เมื่อเทียบกับจำนวนผู้มีงานทำในช่วงเดียวกันซึ่งมีประมาณ 32 ล้านคน จึงก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้นอีกประมาณร้อยละ 0.18 ของการจ้างงานทั้งหมด เมื่อนำข้อสมมติฐานที่ว่ามีผู้ถูกจ้างงานอยู่ในกลุ่มผู้ใช้แรงงานไร้ฝีมือร้อยละ 70 ถึง 80 ของจำนวนแรงงานทั้งหมดมาวิเคราะห์ ทำให้อัตราค่าจ้างโดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 6,500 ถึง 7,000 บาท/คน/เดือน ส่งผลให้การจ้างงานจะอยู่ที่ระดับประมาณ 1.9 - 2.0 ล้านคน - เดือน ที่เกิดจากการใช้จ่ายงบกระตุ้นเศรษฐกิจ จำนวน 26,962 ล้านบาท
4.3 ผลต่อเศรษฐกิจรายสาขาและรายพื้นที่ ผลการวิเคราะห์สรุปได้ว่า โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจฯ ได้ก่อให้เกิดรายได้หรือผลผลิตต่อ GDP ในระยะสั้น โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรกของการดำเนินโครงการ ซึ่งเป็นการสนับสนุนเกื้อกูลการขยายตัวทางเศรษฐกิจรายไตรมาส ประมาณร้อยละ 0.2 ถึง 0.5 เทียบกับ GDP เมื่อพิจารณารายละเอียดการกระตุ้นเศรษฐกิจจำแนกตามรายแผนงาน พบว่าก่อให้เกิดผลกระทบเทียบต่อ GDP สูงสุดในสาขาเกษตรกรรมในช่วงแรก ๆ ของโครงการ และมีการต่อสาขาบริการในสัดส่วนที่สูงและคงที่ในระยะต่อ ๆ มา สำหรับการกระจายตัวของการกระตุ้นอุปสงค์รายภาคโดยเปรียบเทียบกับผลผลิตของภาค (GRP) พบว่า มีสัดส่วนสูงสุดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
4.4 ผลต่อการวางรากฐานการพัฒนาระยะยาว โครงการนี้จะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปในระยะยาวได้ระดับหนึ่ง จากผลการปฏิบัติโครงการ เช่น โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย โครงการฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพฯ โครงการพัฒนาพื้นที่และสาขาการท่องเที่ยว โครงการก่อสร้างถนนคอนกรีตในหมู่บ้าน และโครงการที่เกี่ยวเนื่องกับการชลประทานเป็นต้น ซึ่งได้ช่วยยกระดับทักษะด้านการบริหารจัดการ การพัฒนามือแรงงาน และทักษะการประกอบอาชีพให้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมในด้านและระดับต่าง ๆ ประมาณ 500,000 คน มีแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับการปรับปรุงกว่า 100 แห่ง มีการจัดการด้านระบบชลประทานในท้องถิ่นกว่า 4,300 แห่ง และมีความยาวของถนนคอนกรีตที่ได้รับการก่อสร้างในหมู่บ้านทั่วประเทศประมาณ 1,870 กิโลเมตร ผลผลิตโครงการที่สำคัญเหล่านี้จะมีส่วนช่วยในการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับชุมชนในระดับรากหญ้าและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมีเสถียรภาพและต่อเนื่องในอนาคต อย่างไรก็ดี การศึกษาเกี่ยวกับภาคการผลิตและ บริการที่จะก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศ พบว่าในระยะสั้นผลกระทบของโครงการในการเพิ่มเงินตราต่างประเทศมีน้อย เนื่องจากลักษณะของโครงการย่อยที่นำไปปฏิบัติส่วนใหญ่จะเน้นที่เรื่องการสร้างรายได้และการจ้างงานในประเทศมากกว่า แต่อาจจะเห็นผลในระยะปานกลางและระยะยาวในโครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว
อย่างไรก็ตาม การดำเนินโครงการโดยรวมยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ ทำให้ผลของค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไม่สามารถตอบสนองต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจได้เต็มศักยภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด โดยโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะปัจจุบันเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ มีโอกาสที่จะนำไปขยายผลหรือดำเนินการต่อไปในอนาคตได้ ภายใต้เงื่อนไขที่ว่าปัญหาหรือข้อจำกัดต่าง ๆ ที่พบจากการศึกษาได้รับการปรับปรุงแก้ไขอย่างเพียงพอ ดังนั้น การดำเนินโครงการที่ใช้งบประมาณพิเศษในลักษณะนี้ ควรมีการกำหนดนโยบาย แนวทางการดำเนินงาน กลไกการดำเนินงาน และกฎระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ ที่ชัดเจนและเกิดความคล่องตัว เพื่อให้การดำเนินงานสามารถตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีผลต่อเนื่องระยะยาวในการเพิ่มศักยภาพของคน รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-