คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ กระทรวงยุติธรรมรายงานสรุปผลการดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดการขายทอดตลาดทรัพย์ของกรมบังคับคดีในส่วนที่เกี่ยวกับการขายทอดตลาดทรัพย์สิน ดังนี้
การบังคับคดีแพ่ง และการบังคับคดีล้มละลาย
ในปีงบประมาณ 2546 ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีสำนวนคดีแพ่งค้างอยู่ในระหว่างการบังคับคดีเป็นทุนทรัพย์ 218,012 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้มีทรัพย์สินที่เข้ามาสู่กระบวนการบังคับคดีแพ่งในทุนทรัพย์ 103,798 ล้านบาทเศษ และในส่วนของคดีล้มละลาย ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่รวบรวมไว้ในทุนทรัพย์ 48,754 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้มีทรัพย์สินเข้ามาสู่การรวบรวมอีก ทุนทรัพย์ 44,640 ล้านบาทเศษ ซึ่งกรมบังคับคดีสามารถผลักดันทรัพย์สินที่ค้างอยู่ในการบังคับคดีทั้งหมดออกไปได้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 คิดเป็นทุนทรัพย์ 115,645 ล้านบาทเศษ ซึ่งการผลักดันทรัพย์สินตามนัยของการบังคับคดีที่ได้ในกรณี ดังนี้
1. การจำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธีการขายทอดตลาด ให้ได้ตัวเงินและทำให้หนี้สินของเจ้าหนี้และลูกหนี้ลดลง และรัฐสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาทรัพย์สินที่ขายได้
2. การจำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธีอื่น แยกพิจารณา ได้เป็น
1) การที่คู่ความตกลงประนีประนอมชดใช้หนี้ระหว่างกัน หากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ทั้งหมดในทันที เจ้าพนักงานจะต้องถอนการยึดและถอนการบังคับคดี แต่หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดอาจขอผ่อนชำระเป็นงวดภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหนี้จะแถลงของดการบังคับคดีไว้ก่อนเมื่อลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ครบตามเงื่อนไขแล้ว เจ้าพนักงานก็จะถอนการบังคับคดีเช่นกัน
2) การเสนอซื้อขายในที่ประชุมเจ้าหนี้ในการบังคับคดีล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้สามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้
การจำหน่ายทรัพย์สิน โดยวิธีอื่นนี้มีผลทำให้เจ้าพนักงานมิต้องดำเนินการอย่างใดต่อไปอีกและเมื่อเจ้าหนี้ถอนการยึดและถอนการบังคับคดีก็สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้อัตราร้อยละ 3.5 ของราคาประเมินทรัพย์สิน นั้น ๆ
ผลการดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดการบังคับคดีดังกล่าวข้างต้นในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถผลักดันทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับคดี ออกสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับทุกปีโดยในปี 2545 สามารถผลักดันทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับออกไปได้ประมาณ 98,000 ล้านบาทเศษ และในปีงบประมาณ 2546 สามารถผลักดันทรัพย์สินที่ค้างอยู่ในการบังคับคดี ออกไปได้จำนวน 115,645 ล้านบาทเศษ จึงเห็นได้ว่าโครงการเร่งรัดการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากการร่วมมือกับภาคเอกชนจัดให้มีมหกรรมขายทอดตลาดทั่วประเทศและการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งในปีงบประมาณ 2547 กรมบังคับคดีมีเป้าหมายในการผลักดันทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีออกไปสู่ระบบเศรษฐกิจให้ได้ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-
การบังคับคดีแพ่ง และการบังคับคดีล้มละลาย
ในปีงบประมาณ 2546 ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีสำนวนคดีแพ่งค้างอยู่ในระหว่างการบังคับคดีเป็นทุนทรัพย์ 218,012 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้มีทรัพย์สินที่เข้ามาสู่กระบวนการบังคับคดีแพ่งในทุนทรัพย์ 103,798 ล้านบาทเศษ และในส่วนของคดีล้มละลาย ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีทรัพย์สินของลูกหนี้ที่รวบรวมไว้ในทุนทรัพย์ 48,754 ล้านบาทเศษ นอกจากนี้มีทรัพย์สินเข้ามาสู่การรวบรวมอีก ทุนทรัพย์ 44,640 ล้านบาทเศษ ซึ่งกรมบังคับคดีสามารถผลักดันทรัพย์สินที่ค้างอยู่ในการบังคับคดีทั้งหมดออกไปได้ ณ วันที่ 30 กันยายน 2546 คิดเป็นทุนทรัพย์ 115,645 ล้านบาทเศษ ซึ่งการผลักดันทรัพย์สินตามนัยของการบังคับคดีที่ได้ในกรณี ดังนี้
1. การจำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธีการขายทอดตลาด ให้ได้ตัวเงินและทำให้หนี้สินของเจ้าหนี้และลูกหนี้ลดลง และรัฐสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้ในอัตราร้อยละ 5 ของราคาทรัพย์สินที่ขายได้
2. การจำหน่ายทรัพย์สินโดยวิธีอื่น แยกพิจารณา ได้เป็น
1) การที่คู่ความตกลงประนีประนอมชดใช้หนี้ระหว่างกัน หากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ได้ทั้งหมดในทันที เจ้าพนักงานจะต้องถอนการยึดและถอนการบังคับคดี แต่หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ทั้งหมดอาจขอผ่อนชำระเป็นงวดภายในระยะเวลาที่กำหนด เจ้าหนี้จะแถลงของดการบังคับคดีไว้ก่อนเมื่อลูกหนี้ผ่อนชำระหนี้ครบตามเงื่อนไขแล้ว เจ้าพนักงานก็จะถอนการบังคับคดีเช่นกัน
2) การเสนอซื้อขายในที่ประชุมเจ้าหนี้ในการบังคับคดีล้มละลาย ที่ประชุมเจ้าหนี้สามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้
การจำหน่ายทรัพย์สิน โดยวิธีอื่นนี้มีผลทำให้เจ้าพนักงานมิต้องดำเนินการอย่างใดต่อไปอีกและเมื่อเจ้าหนี้ถอนการยึดและถอนการบังคับคดีก็สามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียมได้อัตราร้อยละ 3.5 ของราคาประเมินทรัพย์สิน นั้น ๆ
ผลการดำเนินงานตามโครงการเร่งรัดการบังคับคดีดังกล่าวข้างต้นในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค สามารถผลักดันทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับคดี ออกสู่ระบบเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับทุกปีโดยในปี 2545 สามารถผลักดันทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับออกไปได้ประมาณ 98,000 ล้านบาทเศษ และในปีงบประมาณ 2546 สามารถผลักดันทรัพย์สินที่ค้างอยู่ในการบังคับคดี ออกไปได้จำนวน 115,645 ล้านบาทเศษ จึงเห็นได้ว่าโครงการเร่งรัดการขายทอดตลาดของกรมบังคับคดี ได้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพอันเนื่องมาจากการร่วมมือกับภาคเอกชนจัดให้มีมหกรรมขายทอดตลาดทั่วประเทศและการประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารสู่ประชาชนอย่างกว้างขวาง ซึ่งในปีงบประมาณ 2547 กรมบังคับคดีมีเป้าหมายในการผลักดันทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างการบังคับคดีออกไปสู่ระบบเศรษฐกิจให้ได้ไม่น้อยกว่า 100,000 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 มกราคม 2547--จบ--
-กภ-